หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรีดี พนมยงค์

             ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 — 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย[1] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง[2] และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
             ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม[4][5][6] นอกจากนี้ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8[7] และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส"ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของไทย

ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ใน พ.ศ. 2526     ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย
             ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544[15] นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีคยังได้เสนอชื่อของท่านเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย
ชีวิตในวัยเยาว์       ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายเสียง และนางลูกจันทน์ พนมยงค์
         บรรพบุรุษของปรีดีตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้วัดพนมยงค์มาเป็นเวลาช้านาน โดยที่บรรพบุรุษข้างบิดานั้นสืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยอาณาจักรอยุธยา ชื่อ "ประยงค์"[17] พระนมประยงค์เป็นผู้สร้างวัดในที่สวนของตัวเอง โดยตั้งชื่อวัดตามผู้สร้างว่า วัดพระนมยงค์ หรือ วัดพนมยงค์ กาลเวลาล่วงเลยมาจนเมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 ทายาทจึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์" และได้อุปถัมภ์วัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                  บรรพบุรุษรุ่นปู่-ย่าของปรีดีประกอบกิจการค้าขายมีฐานะเป็นคหบดีใหญ่ แต่นายเสียงบิดาของปรีดีเป็นคนชอบชีวิตอิสระไม่ชอบประกอบอาชีพค้าขายเจริญรอยตามบรรพบุรุษ จึงหันไปยึดอาชีพกสิกรรม เริ่มต้นด้วยการทำป่าไม้ และต่อมาได้ไปบุกเบิกถางพงร้างเพื่อจับจองที่ทำนาบริเวณทุ่งหลวง อำเภอวังน้อย แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาภัยธรรมชาติ โขลงช้างป่า และแมลงที่มารบกวนทำลายต้นข้าวทำให้ผลผลิตออกมาไม่ดี ไม่สามารถขายข้าวได้ ซ้ำร้ายรัฐบาลได้ให้สัมปทานบริษัทขุดคลองแห่งหนึ่งขุดคลองผ่านที่ดินของนายเสียงและยังเรียกเก็บค่าขุดคลอง (ดูประวัติคลองรังสิต)[19] ซึ่งบิดาของปรีดีต้องกู้เงินมาจ่ายเป็นค่ากรอกนาในอัตราไร่ละ 4 บาท แลกกับการได้ครอบครองที่ดินที่จับจองไว้จำนวน 200 ไร่ ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวย่ำแย่ลงไปอีกต้องอดทนเป็นหนี้สินอยู่หลายปี เหตุการณ์ครั้งนั้นยังทำให้ราษฎรผู้บุกเบิกจับจองที่ดินมาก่อนต้องสูญเสียที่ดินไปเป็นจำนวนมากและกลายเป็นชาวนาผู้เช่าที่ในที่สุด
               จากการเติบโตในครอบครัวชาวนานี้เอง ปรีดีจึงได้สัมผัสรับรู้เป็นอย่างดีถึงสภาพความเป็นอยู่และความทุกข์ยากของชนชั้นชาวนาทั้งหลายที่ฝากชีวิตไว้กับความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ ราคาพืชผลในตลาด และดอกเบี้ยของนายทุน นอกจากนี้ยังต้องพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าที่ดินศักดินาที่กระทำผ่านการเก็บภาษีและการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประสบการณ์เหล่านี้เป็นแรงกระตุ้นให้ปรีดีคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศในเวลาต่อมา
            ปรีดีเมื่อครั้งเยาว์วัยเป็นเด็กหัวดี ช่างคิด ช่างสังเกตวิเคราะห์ และเริ่มมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จากเหตุการณ์ปฏิวัติในประเทศจีนที่นำโดย ซุน ยัตเซ็น และเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ในสยาม ซึ่งปรีดีได้แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างมากต่อผู้ที่ถูกลงโทษในครั้งนั้น
         ถึงแม้ว่าปรีดีจะเกิดในครอบครัวชาวนาแต่บิดาของท่านก็เป็นผู้ใฝ่รู้และเล็งเห็นประโยชน์ของการศึกษา จึงสนับสนุนให้บุตรได้รับการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยานายปรีดี ได้เคยกล่าวถึงนายเสียง พนมยงค์ ว่าเป็นผู้สนใจในกสิกรรม และที่สนใจที่สุดคือการทำนา ดูเหมือนว่าพบกันกับข้าพเจ้าครั้งไรที่จะไม่พูดกันถึงเรื่องทำนาเป็นไม่มี แต่ถึงว่าจะฝักใฝ่ในการทำนาอยู่มากก็จริง นายเสียง พนมยงค์ มิได้ละเลยที่จะสงเคราะห์ และให้การศึกษาแก่บุตรเลย พยายามส่งบุตรเข้าศึกษาเล่าเรียน

 การศึกษา

             ปรีดีเริ่มศึกษาหนังสือไทยที่บ้านครูแสง ตำบลท่าวาสุกรี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อีก 6 เดือน จึงลาออกเพื่อกลับไปช่วยบิดาทำนาพ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภากับอาจารย์เลเดแกร์ (E.Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศ จนสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ ใน พ.ศ. 2462 แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2463 จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา         ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) สอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้ปริญญารัฐเป็น "ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit)       หลังจากศึกษาสำเร็จในระดับปริญญาโทแล้ว ปรีดีได้ย้ายไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส จนสำเร็จใน พ.ศ. 2469 ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก (Trés Bien) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐ (Doctorat d'État) เป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques)[25] นอกจากนี้ท่านยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง (Diplôme d'Etudes Supérieures d'Economie Politique) อีกด้วย

การสมรสและครอบครัว

           ปรีดีสมรสกับ พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ธิดา มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน คือ

นางสาวลลิตา พนมยงค์

นายปาล พนมยงค์ สมรสกับ นางเลิศศรี พนมยงค์ (จตุรพฤกษ์)

นางสาวสุดา พนมยงค์

นายศุขปรีดา พนมยงค์ สมรสกับ นางจีรวรรณ พนมยงค์ (วรดิลก)

นางดุษฎี พนมยงค์ บุญทัศนกุล สมรสกับ นายชาญ บุญทัศนกุล

นางวาณี พนมยงค์ สายประดิษฐ์ สมรสกับ นายสุรพันธ์ สายประดิษฐ์

            หน้าที่การงานก่อนเข้าสู่การเมือง

เมื่อกลับถึงกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2470 ปรีดีเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมายและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" (พ.ศ. 2471) ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการประจำกรมร่างกฎหมายในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ ปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “ประชุมกฎหมายไทย” หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและได้รับการตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์นิติสาส์นซึ่งเป็นกิจการส่วนตัวของท่านเอง
            นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์ผู้สอนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วน บริษัทและสมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล ลูกศิษย์ของท่านในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายจิตติ ติงศภัทิย์ นายดิเรก ชัยนาม นายเสริม วินิจฉัยกุล นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ นายไพโรจน์ ชัยนาม นายจินดา ชัยรัตน์ นายโชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และนายศิริ สันตะบุตร            ใน พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง (Droit Administratif)[28] กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรหลายคน
          
          บทบาททางการเมืองก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

             การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

             หมุดทองเหลือง บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า ได้มีการจารึกไว้ว่า "ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"ในขณะที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส นายปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน ประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเพื่อก่อตั้ง "คณะราษฎร" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ณ หอพักแห่งหนึ่งย่าน "Rue Du Sommerard" กรุงปารีส ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี, ร.ท.แปลก ขิตตะสังคะ, ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี, ภก.ตั้ว ลพานุกรม, หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), นายแนบ พหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์คือเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[32] และการดำเนินเพื่อให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ
                 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ปรีดีร่วมกับสมาชิกคณะราษฎรที่ประกอบด้วยกลุ่มทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ หลังจากนั้นคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างคณะราษฎร และเสนาบดี ปลัดทูลฉลอง ขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อชี้แจงจุดประสงค์ หลักการระบอบใหม่ กฎหมายพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยย่อ และขอความร่วมมือในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป[33][34][35][31]
      
            การวางรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นายปรีดี พนมยงค์ ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครองในระบอบใหม่ เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ โดยเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[36] ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พร้อมกันนั้นยังมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของสยาม[37] ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานของการปกครองในระบอบใหม่
ในขณะเดียวกัน ปรีดีก็ได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นเลขาธิการคนแรกของสภาผู้แทนราษฎรสยาม ด้วยตำแหน่งดังกล่าว ทำให้ท่านมีบทบาทด้านนิติบัญญัติในการวางหลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้แก่ราษฎร โดยเป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งฉบับแรก และเป็นผู้ริเริ่มให้สตรีมีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรได้เช่นเดียวกับเพศชาย[38] และจากการที่ได้ไปศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ปรีดีจึงสนับสนุนแนวคิดเรื่องศาลปกครอง และก็เป็นผู้นำเอาวิชา "กฎหมายปกครอง" (Droit Administratif) มาสอนเป็นคนแรก ณ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม แนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความต้องการให้ราษฎรสามารถตรวจสอบฝ่ายปกครองได้ และมีสิทธิในทางการเมืองเท่าเทียมกับข้าราชการอย่างแท้จริง
            เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านจึงผลักดันให้รัฐบาลยกฐานะกรมร่างกฎหมายและสถาปนาขึ้นเป็น "คณะกรรมการกฤษฎีกา"[39] ทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายและเป็นที่ปรึกษากฎหมายของแผ่นดิน ทั้งยังพยายามผลักดันให้คณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่ศาลปกครองอีกด้วย แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เนื่องจากวัฒนธรรมในทางอำนาจนิยมของรัฐไทยยังมีอยู่หนาแน่น ความพยายามในการตั้งศาลปกครองของปรีดีจึงประสบอุปสรรคมาโดยตลอ    ในปี พ.ศ. 2476 ได้เสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ต่อรัฐบาลเพื่อใช้เป็นนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ[41][42] ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร โดยดำเนินเศรษฐกิจแบบสหกรณ์ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน ซึ่งท่านได้ชี้แจงไว้ว่า     การคิดที่จะบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรนี้ ข้าพเจ้าได้เพ่งเล็งถึงสภาพอันแท้จริง ตลอดจนนิสสัยใจคอของราษฎรส่วนมากว่า การที่จะส่งเสริมให้ราษฎรได้มีความสุขสมบูรณ์นั้น ก็มีอยู่ทางเดียว ซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง โดยแบ่งการเศรษฐกิจนั้นออกเป็นสหกรณ์ต่าง ๆ ความคิดที่ข้าพเจ้าได้มีอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่เป็นด้วยข้าพเจ้าได้มีอุปาทานผูกมั่นอยู่ในลัทธิใด ๆ ข้าพเจ้าได้หยิบเอาส่วนที่ดีของลัทธิต่าง ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมแก่ประเทศสยามแล้ว จึงได้ปรับปรุงยกขึ้นเป็นเค้าโครงการ"ปรีดียังได้วางหลักการประกันสังคม คือ ให้การประกันแก่ราษฎรทั้งหลายตั้งแต่เกิดจนตาย ที่จะได้รับความอุปการะจากรัฐบาล หากไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในหมวดที่ 3 แห่งเค้าโครงการเศรษฐกิจ ในชื่อร่าง "พ.ร.บ.ว่าด้วยการประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร แต่แนวความคิดดังกล่าวถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกคัดค้านอย่างหนักจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม

           การกระจายอำนาจการปกครอง

              ปรีดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เพื่อให้รูปแบบและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2478) ก็ได้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง "เทศบาล" ทั่วราชอาณาจักรสยาม ตาม พ.ร.บ.เทศบาล โดยมุ่งหวังให้การปกครองทัองถิ่นเป็นรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย และได้กวดขันให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ และจัดตั้งกรมโยธาเทศบาลเพื่อสอดคล้องกับการปกครองเทศบาลและสร้างทางท้องที่หลายจังหวัด นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างโรงพยาบาลหลายแห่ง รวมทั้งจัดให้มีเรือพยาบาลตามลำน้ำโขงโดยใช้สลากกินแบ่งของท้องที่ สร้างฝายและพนังหลายแห่งเพื่อช่วยชาวนาและเกษตรกร สร้างทัณฑนิคมเพื่อให้ผู้พ้นโทษแล้วมีที่ดินของตน ฯลฯ

                ด้านการศึกษา

                  ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปรีดี พนมยงค์ ได้สถาปนา "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" (มธก.) ขึ้นเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 และได้รับแต่งตั้งเป็น "ผู้ประศาสน์การ"[48] (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2490) คนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย เพื่อสนองเจตนารมณ์ของคณะราษฎรที่ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร" ด้วยเห็นว่าในขณะนั้น สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มีอยู่มิได้เปิดกว้างเพื่อชนส่วนใหญ่ ดังนั้นมหาวิทยาลัยใหม่ตามแนวความคิดของท่าน จึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างเพื่อราษฎร เป็นตลาดวิชา ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกัน[49] ปรีดีกล่าวไว้ในวันสถาปนามหาวิทยาลัยว่า    มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น        มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในระยะแรกมิได้ใช้งบประมาณแผ่นดิน หากอาศัยเงินที่มาจากค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาทั่วราชอาณาจักรและดอกผลที่ได้มาจากธนาคารแห่งเอเชียเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้นถึง 80%[51] นอกจากนี้ปรีดียังได้ยกกิจการโรงพิมพ์นิติสาส์นของท่านให้แก่มหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์เอกสารตำราคำสอนแก่นักศึกษา[52] นับว่าเป็นสถาบันที่มีเสรีภาพทางวิชาการและเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐอย่างแท้จริง[ต้องการอ้างอิง] มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสงครามและต่อสู้เพื่อสันติภาพ โดยมหาวิทยาลัยเป็นที่ตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ของขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[ต้องการอ้างอิง]
              ภายหลังจากที่ปรีดีต้องลี้ภัยทางการเมือง รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย โดยตัดคำว่า "วิชา" และ "การเมือง" ออก เหลือเพียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ทั้งยังทำการขายหุ้นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย จนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล

               ด้านการต่างประเทศ

                ในเวลานั้นสยามยังอยู่ภายใต้บังคับของสนธิสัญญาระหว่างประเทศอันไม่เป็นธรรม ที่รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ทำไว้กับประเทศต่าง ๆ ถึง 13 ประเทศ ในนามของสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเดินเรือ         เมื่อภารกิจด้านการปกครองในกระทรวงมหาดไทยเข้ารูปเข้ารอยแล้ว ปรีดี พนมยงค์ ได้ก้าวเข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2481) เป็นผู้นำในการทวงอำนาจอธิปไตยของประเทศกลับคืนมา โดยยึดหลักเอกราชทั้งในทางการเมือง การศาล และเศรษฐกิจ ในระยะเวลา 3 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ท่านได้ใช้ความพยายามทางการทูตเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่สยามได้ทำไว้กับประเทศมหาอำนาจ 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี เบลเยียม และนอร์เวย์ ตามลำดับ ซึ่งประเด็นหลักในการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคมีอยู่ 2 ประเด็น คือ

             สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือคนในบังคับของต่างประเทศไม่ต้องขึ้นต่อศาลสยาม ทำให้สยามสูญเสียเอกราชในทางศาล

              ภาษีร้อยชักสาม คือรัฐบาลสยามสามารถเรียกเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าได้เพียงไม่เกินร้อยละ 3 เท่านั้น ทำให้สยามขาดรายได้เข้าประเทศเท่าที่ควรจะได้ นับเป็นการสูญเสียเอกราชในทางเศรษฐกิจ
              ปรีดีได้ใช้ยุทธวิธีบอกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับประเทศคู่สัญญาเหล่านั้น และได้ยื่นร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่โดยอาศัยหลัก "ดุลยภาพแห่งอำนาจ" จนสามารถยกเลิกสนธิสัญญาดังกล่าวได้สำเร็จ ทำให้สยามได้เอกราชทางศาลและเอกราชทางเศรษฐกิจกลับคืนมา และมีสิทธิเสมอภาคกับนานาประเทศทุกประการ        หนังสือพิมพ์สเตรตไทม์ของสิงคโปร์ กล่าวยกย่องปรีดีไว้ในบทบรรณาธิการว่า "ดร. ปรีดี พนมยงค์ เสมือนหนึ่งเป็น แอนโทนี อีเดน" ผู้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศคนสำคัญของรัฐบาลอังกฤษ

          ด้านการคลัง

             เมื่อปรีดีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484) ได้ตั้งปณิธานที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ สร้างความเป็นธรรมและความสุขสมบูรณ์แก่ราษฎรโดยแถลงต่อรัฐสภาว่าจะปรับปรุงระบบการเก็บภาษีให้เป็นธรรมแก่สังคม และได้บรรลุภารกิจในด้านการจัดเก็บภาษีอากรที่สำคัญ ดังนี้
             ช่วยเหลือราษฎรที่ต้องแบกรับภาษีที่ไม่เป็นธรรม ด้วยการยกเลิกเงินภาษีรัชชูปการ และอากรค่านา (เงินส่วย) ซึ่งชาวนาต้องเสียแก่เจ้าศักดินา เป็นต้น
           จัดระบบเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตยโดนสถาปนา "ประมวลรัษฎากร" เป็นแบบฉบับครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งรวมบทบัญญัติเกี่ยวกับภาษีอากรทางตรง
             ออก พรบ.ภาษีเงินได้ ซึ่งเป็นภาษีก้าวหน้า กล่าวคือผู้ใดมีรายได้มากก็เสียภาษีมากหากมีรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อย และผู้ใดบริโภคเครื่องบริโภคที่ไม่จำเป็นแก่การดำรงชีพก็ต้องเสียภาษีอากรมากตามลำดับ

            ในด้านการสร้างเสถียรภาพทางการเงินและการคลังของประเทศ ปรีดีคาดการณ์ว่าอาจเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นในไม่ช้า เงินปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งสยามประเทศใช้เป็นทุนสำรองเงินตราอาจจะลดค่าลงได้ ท่านพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วเห็นว่าภายใต้สถานการณ์ของโลกที่มีความไม่แน่นอนนั้น การเก็บรักษาทุนสำรองของชาติเอาไว้เป็นทองคำแท่งน่าจะเป็นนโยบายที่เหมาะสม และเห็นว่าอังกฤษซึ่งอยู่ในสถานะสงครามกับเยอรมนีในยุโรปแล้วตั้งแต่ปี 2482 มีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญหน้ากับญี่ปุ่นในเอเชียแปซิฟิกด้วยในอนาคตอันใกล้ อันจะมีผลกระทบต่อสถานภาพของเงินปอนด์สเตอร์ลิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงได้จัดการเอาเงินปอนด์ที่เป็นเงินทุนสำรองเงินตราจำนวนหนึ่งซื้อทองคำแท่งหนัก 1 ล้าน ออนซ์ ในราคาออนซ์ละ 35 ดอลล่าร์สหรัฐ นำมาเก็บไว้ในห้องนิรภัยกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ยังได้โอนเงินปอนด์เพื่อแลกซื้อเงินดอลลาร์และทองคำแท่งเก็บไว้ที่สหรัฐอเมริกาอีกส่วนหนึ่ง ทำให้เสถียรภาพของค่าเงินบาทในเวลานั้นมั่นคงที่สุดแม้ว่าเป็นระยะใกล้จะเกิดสงครามเต็มทีแล้ว ทองคำแท่งจำนวนดังกล่าวยังคงเก็บรักษาไว้เป็นทุนสำรองเงินบาทอยู่จนทุกวันนี้

          เมื่อได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งระบบการเงินของประเทศก็มีความมั่นคงด้วยทุนสำรองเงินตราอันประกอบด้วยทองคำและเงินตราต่างประเทศในสกุลที่ทั่วโลกยอมรับ ปรีดีในฐานะผู้รับผิดชอบบริหารนโยบายการเงินการคลังของประเทศ ก็ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งชาติ ซึ่งได้เคยปรารภไว้แล้วในเค้าโครงการเศรษฐกิจมาพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้นก่อน และเร่งฝึกพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ให้พร้อมในการบริหารธนาคารชาติ ต่อมาจึงได้จัดตั้ง "ธนาคารชาติไทย" ขึ้น ในปี พ.ศ. 2483 ปัจจุบันคือ "ธนาคารแห่งประเทศไทย"[62][63] เพื่อทำหน้าที่เป็นธนาคารชาติของรัฐโดยสมบูรณ์

          บทบาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

            ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะอุบัติขึ้น นายปรีดี พนมยงค์ เล็งเห็นว่าลัทธิเผด็จการทหารกำลังจะจุดชนวนให้เกิดสงครามโลก จึงอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก"[64] เพื่อสื่อทัศนะสันติภาพและคัดค้านการทำสงครามผ่านไปยังนานาประเทศ โดยแสดงจุดยืนอย่างแจ่มชัดด้วยพุทธภาษิตที่ปรากฏในภาพยนตร์ที่ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" (ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบสันติ) ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังสื่อให้เห็นว่าชาวสยามพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อต่อด้านสงครามรุกรานอย่างมีศักดิ์ศรี[65][66]
      
           ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

            ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นใหม่ แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และนายปรีดี พนมยงค์ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติแต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่ผู้เดียว (1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 - 20 กันยายน พ.ศ. 2488)และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อไปอีก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ไม่สามารถเสด็จนิวัติประเทศไทยได้
            ปลายปี พ.ศ. 2484 สงครามมหาเอเชียบูรพาปะทุขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของสหรัฐอเมริกา และรวมไปถึงดินแดนในครอบครองของอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เช้ามืดวันที่ 8 ธันวาคม ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และส่งกองกำลังภาคพื้นดินบุกเข้าประเทศไทยทางอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตกลงทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพื่อให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านแผ่นดินไทย ในที่สุดก็ร่วมวงไพบูลย์กับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 อันเป็นการละเมิดต่อประกาศพระบรมราชโองการให้ปฏิบัติตามความเป็นกลาง พ.ศ. 2482

          หัวหน้าขบวนการเสรีไทย

          ปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยกับการให้ญี่ปุ่นละเมิดอธิปไตยและแสดงจุดยืนให้ปรากฏโดยเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่น หรือต่อมาเรียกว่า "ขบวนการเสรีไทย" ประกอบด้วยคนไทยทุกชั้นวรรณะ ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ท่านไม่ยอมลงนามในประกาศสงครามนั้นด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า หากลงนามไปแล้วก็ยากที่จะให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเชื่อถือการปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทย
กระแสความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของรัฐบาลจอมพล ป. ได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่ชนทุกเหล่า แต่รัฐบาลถือว่าตนเองมีความชอบธรรมในการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วย อีกทั้งกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ามาประจำการในประเทศ ก็ใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่าดำเนินกิจกรรมต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ดังนั้นปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลและญี่ปุ่นผู้รุกรานจึงต้องเป็นงาน "ใต้ดิน" ที่ปิดลับ    ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในรหัสนามว่า "รู้ธ" (Ruth) ทำงานในสองบทบาทตลอดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยถือความลับสุดยอดเป็นหัวใจของการปฏิบัติงาน[75][76] ทั้งนี้ก็เพื่อให้ภารกิจของเสรีไทยบรรลุเป้าหมายให้ได้ คือ

        ต่อสู้กับญี่ปุ่นผู้รุกราน

        ปฏิบัติการให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรับรองเจตนารมณ์ที่แท้จริงของราษฎรไทย

         ให้สัมพันธมิตรรับรองว่าประเทศไทยไม่ตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามร่วมกับญี่ปุ่น

           ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปรีดีแจ้งให้สัมพันธมิตรทราบว่า เสรีไทยจำนวน 8 หมื่นคนทั่วประเทศพร้อมที่จะลุกฮือขึ้นเพื่อทำสงครามกับทหารญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ร้องขอให้ชะลอแผนนี้ไว้ก่อน ด้วยเหตุผลทางแผนยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตร ในที่สุดฝ่ายญี่ปุ่นก็ยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488
          เมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนน ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงได้แจ้งให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยว่า สัมพันธมิตรไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นผู้แพ้สงคราม ประเทศไทยไม่ต้องถูกยึดครอง รัฐบาลไทยไม่ต้องยอมจำนน กองทัพไทยไม่ต้องวางอาวุธ และให้รีบออกแถลงการณ์ปฏิเสธการประกาศสงครามระหว่างไทยกับสัมพันธมิตร เพื่อลบล้างข้อผูกพันทั้งหลายที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำไว้กับญี่ปุ่น

           ประกาศสันติภาพ
            วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[80] ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ" ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย และประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในการสถาปนาสันติภาพในโลกนี้ ต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคม ของทุกปีเป็น "วันสันติภาพไทย"
ภายหลังจากการประกาศสันติภาพ ตัวแทนพลพรรคเสรีไทยจากทั่วประเทศกว่า 8,000 นาย ได้เดินสวนสนามผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเป็นประธาน เมื่อสิ้นสุดภารกิจลงแล้ว ท่านได้ประกาศยกเลิกขบวนการเสรีไทยโดยมีสุนทรพจน์บางตอนว่า

             ...ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะแสดงเปิดเผยในนามของสหายทั้งหลายถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ซึ่งเราทั้งหลายได้ถือเป็นหลักในการรับใช้ชาติครั้งนี้ว่า เรามุ่งจะทำหน้าที่ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนไทย ซึ่งจะต้องสนองคุณชาติ เราทั้งหลายไม่ได้มุ่งหวังทวงเอาตำแหน่งในราชการมาเป็นรางวัลตอบแทน การกระทำทั้งหลายไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลหรือหมู่คณะใด แต่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งมวล...
         ...วัตถุประสงค์ของเราที่ทำงานคราวนี้มีจำกัดดังกล่าวแล้ว และมีเงื่อนเวลาสุดสิ้น กล่าวคือเมื่อสภาพการเรียบร้อยลงแล้ว องค์การเหล่านี้ก็จะเลิก และสิ่งซึ่งจะเหลืออยู่ในความทรงจำของเราทั้งหลาย ก็คือมิตรภาพอันดีในทางส่วนตัวที่เราได้ร่วมรับใช้ชาติด้วยกันมา โดยปราศจากความคิดที่จะเปลี่ยนสภาพองค์การเหล่านี้ให้เป็นคณะหรือพรรคการเมือง...ผู้ที่ได้ร่วมงานกับข้าพเจ้าคราวนี้ ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้รับใช้ชาติ มิได้ถือว่าเป็นผู้กู้ชาติ การกู้ชาติเป็นการกระทำของคนไทยทั้งปวง ซึ่งแม้ผู้ไม่ได้ร่วมในองค์การนี้โดยตรง ก็ยังมีอีกประมาณ 17 ล้านคนที่ได้กระทำโดยอิสระในการต่อต้านด้วยวิถีทางที่เขาเหล่านั้นสามารถจะทำได้ หรือเอากำลังใจช่วยขับไล่ให้ญี่ปุ่นพ้นไปจากประเทศไทยโดยเร็วก็มี
เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยดีแล้วนายปรีดี พนมยงค์ จึงขออัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติประเทศไทยเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองต่อไป โดยได้เสด็จกลับถึงพระนครวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอบนายปรีดีที่ไปเฝ้ารับเสด็จดังนี้

        ท่านปรีดี พนมยงค์ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้กลับมาสู่พระนคร เพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจตามหน้าที่ของข้าพเจ้าต่อประชาชนและประเทศชาติ ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านเป็นอันมากที่ได้ปฏิบัติกรณียกิจแทนข้าพเจ้า ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อข้าพเจ้าและประเทศชาติ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ แสดงไมตรีจิตในคุณงามความดีของท่าน ที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และช่วยบำรุงรักษาความเป็นเอกราชของชาติไว้

บทบาททางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

        รัฐบุรุษอาวุโส

           ด้วยคุณูปการที่เป็นผู้นำในการกอบกู้บ้านเมืองในยามคับขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองอันทรงเกียรติสูงสุด ดังที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ว่าโดยที่ทรงพระราชดำริเห็นว่านายปรีดี พนมยงค์ ได้เคยรับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งสำคัญ ๆ มาแล้วหลายตำแหน่ง จนในที่สุดได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และปรากฏว่าตลอดเวลาที่นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ทั้งได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในความปรีชาสามารถ บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นเอนกประการจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่องนายปรีดี พนมยงค์ ไว้ในฐานะ รัฐบุรุษอาวุโส และให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดิน เพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่สามัญชนพึงได้รับพระราชทาน แก่รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2488

            ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

             นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[1] ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายสัมพันธมิตรในปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับอังกฤษ เรื่องสัญญาสมบูรณ์แบบ และการเจรจาให้รัฐบาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งเพิกถอนเงินซึ่งได้ถูกกักกันไว้ในสหรัฐ ให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขสถานะผู้แพ้สงครามได้สำเร็จอย่างละมุนละม่อม สามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 55วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต รัฐบาลนายปรีดีที่เพิ่งชนะเลือกตั้งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 จึงขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาให้อัญเชิญพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อไปเมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว ปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ทั้งที่เพิ่งได้รับโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489[89] แต่สภาผู้แทนราษฎรก็สนับสนุนให้นายปรีดีดำรงตำแหน่งตามเดิม     กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทำให้ศัตรูทางการเมืองของปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงครามที่สูญเสียอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคการเมืองฝ่ายค้านนำโดย พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มอำนาจเก่า[91] ฉวยโอกาสนำมาใช้ทำลายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในศาลาเฉลิมกรุงว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"[92] และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของท่านในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 โดยหลังจากนั้น หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายปรีดี ให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ภายหลังจากที่ปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ได้รับเชิญจากรัฐบาลหลายประเทศให้ไปเยือนประเทศเหล่านั้น รัฐบาลไทยจึงมอบหมายให้ท่านเป็นหัวหน้าคณะทูตสันถวไมตรีเดินทางรอบโลกเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและพบปะกับผู้นำนานาประเทศ โดยได้ไปเยือนประเทศจีนเป็นแห่งแรก จากนั้นก็ไปฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ รวมทั้งสิ้นเก้าประเทศ และกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 รวมเวลาที่ออกไปปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ 3 เดือนเต็ม

          ลี้ภัยรัฐประหาร

ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหาร ประกอบด้วย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ด้วยสาเหตุที่รัฐบาลไม่สามารถคลี่คลายคดีสวรรคตลงได้ ประกอบกับการลดบทบาทของกองทัพ และปัญหาทางเศรษฐกิจ[95] หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารนำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกยิงทำเนียบท่าช้างวังหน้าซึ่งปรีดีและครอบครัวอาศัยอยู่ แล้วพยายามจะจับกุมตัวปรีดี แต่ท่านก็หลบหนีไปได้ และได้อาศัยฐานทัพเรือสัตหีบเป็นที่หลบภัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็นว่ายังไม่พร้อมที่จะต่อต้านคณะรัฐประหาร จึงได้ลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศสิงคโปร์ จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2491 จึงออกเดินทางต่อไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อมา ในปี พ.ศ. 2492 ปรีดี พนมยงค์ กลับมาประเทศไทยเพื่อทำการยึดอำนาจคืนจากรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเหตุการณ์ "ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 แต่กระทำการไม่สำเร็จ (เรียกกันว่า "กบฏวังหลวง")[97] จึงต้องลี้ภัยไปต่างประเทศและไม่ได้กลับประเทศไทยอีกเลย

         ปัจฉิมวัย

        หลายปีที่นายปรีดีลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ยังมีการกล่าวหาว่านายปรีดีสมคบการปลงพระชนม์ในหลวงอยู่เป็นระยะ ๆ ท่านจึงต้องดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม[98][99][100][101] ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี นอกจากนี้ โดยคำพิพากษาของศาลในกรณีฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสกับพวก ในข้อหาร่วมกันละเมิดสิทธิของโจทก์[102] ปรีดีจึงได้รับความรับรองจากทางราชการในฐานะคนไทยโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ และได้รับเงินบำนาญตลอดจนได้รับหนังสือเดินทางของไทยขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ปรีดีได้มีโอกาสพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำพรรคและรัฐบาลจีนไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตง นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จอมพลเฉินยี่ เติ้ง เสี่ยวผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ยังได้พบปะสนทนากับผู้นำกอบกู้เอกราชของชาติในอินโดจีน อาทิ ประธานาธิบดีโฮจิมินห์และนายกรัฐมนตรีฝ่ามวันดง แห่งเวียดนาม เจ้าสุภานุวงศ์ ประธานประเทศลาว เจ้าสุวรรณภูมา และพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กษัตริย์แห่งกัมพูชา โดยเฉพาะมิตรภาพระหว่างนายปรีดีกับประธานโฮจิมินห์นั้น ยืนยาวมาตั้งแต่สมัยที่ท่านผู้นี้ต่อสู้กับฝรั่งเศสต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 โจวเอินไหลได้อำนวยความสะดวกให้ปรีดีเดินทางจากประเทศจีนไปยังกรุงปารีส ด้วยความช่วยเหลือจากนายกีโยม จอร์จ-ปีโก (Guillaume Georges- Picot) มิตรเก่าที่มีตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตถาวรของประเทศฝรั่งเศส และโดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ชาร์ลส์ เดอ โกลล์[108] ปรีดีจึงได้พำนักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงปลายชีวิตอย่างสันติสุข ท่านสนใจศึกษาพุทธศาสนา โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง "กฎบัตรของพุทธบริษัท" ที่พุทธทาสภิกขุส่งไปให้นั้น นายปรีดีจะพกในกระเป๋าเสื้อนอกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิตเวลา 11 นาฬิกาเศษ ของวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ณ บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ปรีดี พนมยงค์ สิ้นใจด้วยอาการหัวใจวายขณะกำลังเขียนหนังสืออยู่ที่โต๊ะทำงาน
      
       งานเขียน

       ปรีดีเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ ทั้งสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ขณะพำนักอยู่ในประเทศจีน ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมทั้งผลงานของเมธีทางด้านปรัชญาและสังคมศาสตร์ เช่น มาร์กซ์ เองเกลส์ เลนิน สตาลิน และเหมา เจ๋อตุง ในเชิงเปรียบเทียบสภาพสังคมไทยทุกแง่ทุกมุม อาทิ ระบอบเศรษฐกิจ การเมือง ทัศนะสังคม ประวัติศาสตร์ ชนชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี แล้วได้เรียบเรียงเป็นบทความ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในโอกาสต่อมา
งานเขียนชิ้นสำคัญของท่านที่นำพุทธปรัชญามาวิเคราะห์วิวัฒนาการของมนุษยสังคมคือ "ความเป็นอนิจจังของสังคม" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งและเป็นที่สนใจของผู้ที่ต้องการศึกษาอยู่ตลอดมา เพราะข้อความที่เขียนอันเป็นสัจจะอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัยสิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดนิ่งคงอยู่กับที่ ทุกสิ่งที่มีอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง…พืชพันธุ์ รุกขชาติ และสัตวชาติทั้งปวง รวมทั้งมนุษยชาติที่มีชีวิตนั้น เมื่อได้เกิดมาแล้วก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงโดยเจริญเติบโตขึ้นตามลำดับ จนถึงขีดที่ไม่อาจเติบโตได้อีกต่อไป แล้วก็ดำเนินสู่ความเสื่อมและสลายในที่สุด
       ผลงานงานเขียนบางส่วนของนายปรีดี ได้แก่

      บันทึกข้อเสนอเรื่อง ขุดคอคอดกระ, กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501

       ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้าและ 21 ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน (Ma vie mouvementee et mes 21 ans d' exil en Chine Populaire)

        ความเป็นมาของชื่อ “ประเทศสยาม” กับ “ประเทศไทย”

       จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม

        ประชาธิปไตย เบื้องต้นสำหรับสามัญชน

        ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ
 
          ปรัชญาคืออะไร

           “ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ใน บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์…

             บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎรและระบบประชาธิปไตย

           ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย

             ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, 2517

            อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน, ประจักษ์การพิมพ์, 2518

                                                                                    ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย.

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บรูซ ลี ไอ้มังกรอมตะ


                      แม้บุรุษหนุ่มผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในปรมาจารย์ทางด้านศิลปะการต่อสู้ผู้นี้ จะอำลาโลกไปเป็นเวลากว่า 30 ปี แต่ชื่อ ภาพถ่าย รวมทั้งผลงานของเขายังคงความเป็นอมตะจวบจนทุกวันนี้ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักมังกรหนุ่มผู้ผงาดอย่างเต็มภาคภูมิในวงการฮอลลีวู้ดเมื่อ 30 กว่าปีที่ผ่านมา
"บรูซ ลี" เป็นหนึ่งในชาวเอเชียไม่กี่คนในยุคนั้นที่สามารถผงาดขึ้นยืนเทียบชั้นกับดาราชั้นนำของฮอลลีวู้ด ชื่อของเขารวมทั้งท่วงท่าและลีลาการต่อสู้ที่สวยงามยังคงตราตรึงอยู่ในใจผู้ชม แม้ว่าวันนี้จะมีมังกรหนุ่ม อีกหนึ่ง อย่าง เฉินหลง หรือ แจ๊กกี้ ชาง แต่เขาก็เป็นได้แค่เศษเสี้ยวหนึ่งของบรูซเท่านั้น
27 พฤศจิกายน 2483 ลี จุน ฟาน หรือที่ทุกคนรู้จักในนาม บรูซ ลี ถือกำเนิดขึ้นมาบนแผ่นดินที่ห่างไกลจากบ้านเกิดหลายหมื่นไมล์กลางเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เขาไม่เพียงเกิดในปีมะโรงซึ่งถือเป็นปีมังกรตามความเชื่อของชาวจีนเท่านั้น แต่เขายังเกิดในช่วงเวลาของมังกรระหว่าง 06.00-08.00 น. ของเช้าวันนั้นด้วย

             นั่นอาจเป็นตัวแปรสำคัญของชีวิตมังกรหนุ่มผู้นี้ที่ไม่เจริญรอยตามผู้เป็นพ่อด้วยการเป็นนักร้อง โอเปร่า พ่อของบรูซเป็นชาวจีนเต็มตัว ขณะที่แม่ของเขานั้นเป็นลูกครึ่งระหว่างจีนกับเยอรมัน
เส้นทางนักต่อสู้ของบรูซเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก เขามีความสนใจใคร่รู้และหลงใหลในศิลปะป้องกันตัว และมุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านการต่อสู้ให้ได้
เด็กชายบรูซมีโอกาสก้าวเข้าสู่เส้นทางบนแผ่นฟิล์มตั้งแต่เด็ก เขากลายเป็นดาราเด็กส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งตะวันออก ผลงานเรื่องแรกของเขาถูกเรียกว่าต้นกำเนิดแห่งวีรบุรุษ
ปี ค.ศ. 1959 ชายหนุ่มร่างเล็กผอมเกร็งวัย 18 ปี เดินทางจากฮ่องกงหวนกลับมายังอเมริกาอีกครั้ง พร้อมประกาศตัวว่าเขาจะต้องเป็นอย่าง จอนห์น เวย์น และเจมส์ ดีน ให้ได้ เขาเข้าเรียนในสาขาวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และทำงานพิเศษด้วยการเป็นพนักงานเสิร์ฟและเริ่มต้นสอนศิลปะการป้องกันตัวให้กับคนที่มาว่าจ้างไปพร้อม ๆ กัน ชื่อเสียงของบรูซเริ่มโด่งดังจนถึงขนาดที่ว่าโรงเรียนสอนศิลปะการป้องกันตัวของญี่ปุ่นในซีแอตเทิล ต้องขอมาทดสอบฝีมือด้วย บรูซพบกับลินดา ลี แคดเวลล์ ศรีภรรยาที่แต่งงานอยู่กินกันขณะที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และโรงเรียนของเขาก็เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นเรื่อย ๆ เขามีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทภาพยนตร์ของฮอลลีวู๊ดอย่าง มาร์โลวเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่นั่นกลับทำให้ดาราดังอย่างเจมส์ โคเบิร์น และสตีฟ แม็คควีน อ้อนวอนขอให้บรูซช่วยรับเป็นศิษย์ เส้นทางชีวิตของบรูซในฮอลลีวู้ดดูเหมือนกำลังจะไปได้ดี เขาได้มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดถึง 5 เรื่องนับตั้งแต่ FIST OF FURY ภาพยนตร์ที่มาถ่ายทำและมีเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับเมืองไทย เรื่องนี้บรูซมีโอกาสได้โชว์ลีลาการเตะที่พลิ้วไหวเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างบรูซกับโรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นใน THE CHINESE CONNECTION

           ปีต่อมาบรูซมีโอกาสได้รับบทเด่นในภาพยนตร์ของฮอลลีวู้ดเป็นเรื่องแรกใน ENTER THE DRA- GON แต่แล้วเรื่องที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นก่อนที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย บรูซป่วยด้วยโรคเส้นเลือดโป่งในสมอง ก่อนจะเสียชีวิตลงด้วยผลจากปฏิกิริยาต่อแอสไพริน ขณะที่มีอายุได้เพียง 32 ปีเท่านั้น
แม้บรูซจะจากไปแล้วแต่ผลงานของเขาในลำดับต่อมาอย่างเรื่อง RETURN OF THE DRAGON ที่ร่วมแสดงกับชัค นอริส ก็ยังคงออกฉาย เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องสุดท้าย GAME OF DEATH ที่บรูซได้มีโอกาสเข้าฉากไว้ไม่กี่ฉากก็ได้รับการสานต่อจนสามารถ ออกฉายได้ในที่สุด นอกจากผลงานในด้านภาพยนตร์ที่บรูซเหลือไว้ให้ผู้ที่ชื่นชอบแล้ว เขายังได้คิดค้นรูปแบบการต่อสู้ที่เรียกว่า Jeet Kune Do (จีทคูนโด) หรือวิถีแห่งกำปั้นสกัด เขียนเป็นตำราเหลือไว้ให้นักต่อสู้รุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษาด้วย
                  จีทคูนโดเป็นหลักการต่อสู้มือเปล่าที่บรูซคิดค้นขึ้นเพื่อการต่อสู้อย่างแท้จริงไม่ใช่เพื่อการกีฬา เขาได้นำเอาเทคนิคและข้อดีของศิลปะการต่อสู้ถึง 26 ชนิด อาทิ กังฟู มวยปล้ำ มวยไทย มวยสากล คาราเต้ ยิวยิตสู ฯลฯ ไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน โดยมีท่วงทำนองที่ลื่นไหลและยืดหยุ่นมากขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลจาก  เดลินิวส์
 เเละ http://nu20003.9.forumer.com/a/quot-quot_post64.html

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

เทียนวรรณ เทียน วัณณาโภ

เทียนวรรณ

               เทียนวรรณ (2385 - 2458) หรือ ต.ว.ส. วัณณาโภ ปัญญาชนคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นผู้เรียกร้องระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาและการปฏิรูปทางด้านสังคมอีกหลายข้อ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลราชาธิปไตยจับเขาเข้าคุกถึง ๑๗ ปี
              มีนามเดิมว่า เทียน นามสกุล วัณณาโภ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่ตำบลบางขุนเทียน จังหวัดพระนคร พื้นฐานครอบครัวมาจากทหารและพลเรือน
เริ่มเรียนหนังสือที่บ้าน เมื่ออายุได้ ๘ ขวบจึงไปเรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมกับพระที่วัดโพธิ์ พร้อมทั้งได้วิชามวยและเวทมนตร์คาถาป้องกันตัวมาด้วย ตอนเด็กออกจะเป็นนักเลง แต่ก็ไม่ข่มเหงใครก่อน ครั้นบิดาเสียอายุเมื่อเขาอายุได้ ๑๓ ปี มารดาได้แต่งงานใหม่ บิดาเลี้ยงเป็นคนดีมีศีลธรรม จึงได้ค่อยกล่อมเกลาให้เขามีนิสัยอ่อนโยนขึ้น
             ครั้นเป็นหนุ่มอายุได้ ๑๘ ปีก็ได้ทำงานล่องเรือค้าขายไปถึงสวรรคโลกและกำแพงเพชร ทำงานได้สักปีก็ได้งานในเรือกำปั่น ได้แล่นเรือไปถึงซัวเถา ฮ่องกง เอ้หมึง และเซี่ยงไฮ้ ถือได้ว่าเป็นช่วงสั่งสมประสบการณ์อันดียิ่ง จากนั้นจึงได้เข้าบวชเรียนที่วัดบวรนิเวศนานถึง ๔ พรรษา ได้มีโอกาสใกล้ชิดนักปราชญ์ของยุคอย่าง สมเด็จพระสังฆราช(สา) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่ยังผนวช ก็เสด็จมาประทับที่วัดนี้บ่อยครั้ง เขาลาสิกขาบทเมื่ออายุเบญจเพศ แต่ด้วยความที่เป็นคนชอบศึกษาหาความรู้จึงยังซื้อและเช่าหนังสือมาอ่าน และติดตามรับฟังข่าวสารบ้านเมืองอย่างสม่ำเสมอ ช่วงนี้เขาทำอาชีพค้าขาย เดินทางไปมาระหว่างหัวเมืองต่าง ๆ และได้คบหาสมาคมกับผู้คนมากมาย โดยเฉพาะเหล่าเจ้านายและผู้ดีหัวก้าวหน้า ทียนวรรณถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สิริรวมอายุได้ ๗๓ ปี

     ชีวิตส่วนตัว
           เทียนวรรณเริ่มเห็นปัญหาว่า การที่พวกเจ้านายและผู้ดีมีเมียมาก เป็นบ่อเกิดแห่งความทุจริต เพราะต้องจับจ่ายใช้สอยมาก รวมทั้งคนแก่ที่มีเมียมาก ก็ไม่สามารถให้ความสุขภรรยาได้อย่างทั่วถึง
เทียนวรรณ มีภรรยาทั้งหมด ๓ คน แต่ก็มีครั้งละคน คือ หย่าหรือเลิกกับคนหนึ่งแล้วจึงมีคนถัดมา

      งานเขียน
             เริ่มเขียนบทความชิ้นแรกเมื่ออายุได้ ๓๐ ปี โดยนำเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงราชการบ้านเมือง เสนอให้เลิกทาส เลิกการพนัน ปราบปรามทุจริตคอรัปชัน และเสนอให้มีสภาผู้แทน บทความเหล่านี้เขาส่งไปลงตีพิมพ์ตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ หากหนังสือพิมพ์ไม่กล้าลงให้ เขาก็แจกให้คนมีฐานะไว้ตีพิมพ์เป็นหนังสืองานศพบ้าง ตีพิมพ์เองบ้าง   ตอนที่อยู่เมืองตราด อายุได้ ๓๓ ปี จึงได้ศึกษาวิชากฎหมายด้วยตนเองอย่างจริงจัง โดยอ่านจากหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และได้ประกอบอาชีพทนายความ เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย รับว่าความให้แก่คนยากคนจน เขายังได้เสนอเรื่องความเสมอภาคในสิทธิของสตรีอีกด้วย โดยเสนอรัฐบาลในการให้การศึกษาสตรีทัดเทียมกับชาย
            เมื่อเทียนวรรณอายุได้ ๔๐ ปี ก็ถูกกลั่นแกล้ง โดยมีผู้กล่าวหาว่าเขาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และหมิ่นประมาทเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตร จึงถูกเฆี่ยน ๔๐ ที และจำคุกไว้อย่างไม่มีกำหนด ทั้งนี้ในช่วงแรก เขาถูกจับใส่ตรวนและขื่อคาทั้งที่ศรีษะ มือ และเท้า จนกระทั่งได้เขียนหนังสือร้องเรียนไปยังกรมหลวงราชบุรีฯ จึงได้มีคำสั่งให้ปลดโซ่ที่คอออกจากนักโทษทุกคน
             ช่วงที่ถูกจำคุกนี้ เขายังคงเขียนงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ส่งไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ รวมแล้วเป็นจำนวน ๒๘ เรื่องด้วยกัน ขุนหลวงพระยาไกรสรี(เปล่ง) ได้ช่วยเหลือวิ่งเต้นขอพระราชทานอภัยโทษให้ได้สำเร็จ หลังจากเทียนวรรณถูกจำคุกเป็นเวลาถึง ๓๗ ปี
            แม้จะได้รับอิสรภาพเมื่ออายุมากแล้ว เขายังไม่หยุดการทำงาน ยังคงเปิดสำนักงานทนายความ และทำหนังสือพิมพ์ "ตุลวิภาคพจนกิจ" ซึ่งหมายใจว่าจะนำเสนอข่าวสารที่ตรงไปตรงมาดุจตราชั่ง กิจการหนังสือพิมพ์ดำเนินอยู่ได้เพียงหกปีก็ต้องปิดตัวลงเพราะขาดทุน อย่างไรก็ตามเขาก็ยังมิย่อท้อในการนำเสนอความคิดต่อสังคม ยังคงจัดพิมพ์หนังสือชุด ศิริพจนภาค จำนวน ๓๒ เล่ม ซึ่งเป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาทั้งหมด ซึ่งมีอยู่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นด้านการเมือง วิจารณ์สังคม และวิจารณ์วรรณกรรม

        แนวคิดด้านนโยบายของประเทศ

              - ด้านนโยบายต่างประเทศ เขาแนะนำให้รัฐบาลไทยผูกมิตรไมตรีกับจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน เพื่อต้านทานจักรพรรดินิยมฝรั่งเศส ในด้านการเมืองเขาเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตย
             - ด้านเศรษฐกิจ เขาเรียกร้องให้ยกเลิกบ่อนการพนัน ซึ่งเขาเห็นว่าทำให้พลเมืองโง่เขลา ถูกมอมเมา เกียจคร้าน และเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายอื่นๆ ตามมา และเสนอให้ เอาเงินหลวงออกให้ราษฎรกู้ไปทำทุน ส่งเสริมการตั้งโรงงาน การค้นคว้าทรัพยากร ธรรมชาติ
             - ด้านการศึกษา เขาเสนอให้รัฐจัดการศึกษาให้ไพร่ และสตรีอย่างเท่าเทียมกับผู้ดีและ บุรุษชักชวนให้ผู้มีเงินหันมาสร้างโรงเรียนแทนวัด ต้านโครงสร้างสังคมที่เขาเห็นว่า ต้องปฏิรูประบบราชการเพื่อปราบการทุจริตฉ้อฉล การเล่นพรรคเล่นพวก และ ความไม่ยุติธรรม

                        ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ          ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ


               แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ                            จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย

               ขอให้เป็นเช่นเราผู้เฒ่าทัก                          บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี

              ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี                   จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่านิ่งนาน

              ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก                   จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน

             เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากล                          รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย






                                                                                      ขอขอบคุณข้อมูลจากศูนย์ข้อมลการเมืองไทย

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

จิม โจนส์ สาสดาแห่งลัทธิมรณะ

       จิม โจนส์ (ค.ศ. 1931 - ค.ศ. 1978) เป็นชาวอเมริกัน เป็นผู้นำการฆ่าตัวตายหมู่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 900 คน ที่เมืองโจนส์ทาวน์ ประเทศกายอานา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1978

ประวัติ
      จิม โจนส์ หรือ เจมส์ วอร์เรน โจนส์ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 ในครอบครัวยากจน ที่มลรัฐอินเดียน่า ประเทศสหรัฐ
อเมริกา พ่อของเขาซึ่งเป็นสมาชิกลัทธิเหยียดสีผิว คู คลักส์ แคลน (Ku Klux Klan) นั้นทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เขาอายุ 12 ปี แม่ของเขาจึงเลี้ยงเขามาลำพังคนเดียว เขาอาศัยอยู่ในชุมชนเคร่งศาสนา จิมเติบโตขึ้นเป็นผู้มีความศรัทธาในศาสนาคริสต์อย่างแรงกล้า เขาเริ่มท่องจำไบเบิ้ลตั้งแต่อายุ 8 ปี และเมื่ออายุ 12 เขาก็สามารถเทศน์สอนเด็กในละแวกบ้านราวกับเป็นนักบวชจริงๆ เมื่ออายุได้ 17 ปี จิมก็ไปเป็นนักเรียนฝึกหัดเพื่อจะเป็นบาทหลวงของนิกายเมโธดิสต์ พออายุ 21 ปี เขาก็ได้แต่งงานกับ มัลเซลีน บอลด์วินด์ ซึ่งเป็นนางพยาบาล และจิมก็ถอนตัวออกจากเมโธดิสต์ออกมาเป็นนักเผยแพร่ศาสนาอิสระ
         ในปี ค.ศ. 1957 จิมก่อตั้งลัทธิโบสถ์มวลชน (Peoples Temple) ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่คำสอน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนผิวดำในเขตเกตโต้ เขาให้ความช่วยเหลือแก่คนผิวดำในรูปของอาหาร ที่พัก และหางานให้ทำ แต่ถูกต่อต้านจากชาวผิวขาวที่มีทัศนคติเหยียดสีผิว แต่จิมก็ไม่ยอมแพ้และทำการเผยแพร่ศาสนาต่อไปเรื่อยๆ ในขณะนั้นพลเมืองผิวดำของเมืองอินเดียน่าโพลิส เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอเมริกากำลังรณรงค์การมีส่วนร่วมในการปกครองของคนผิวดำ เนื่องจากจิมมีพรสวรรค์ในการเทศน์ ทำให้จำนวนผู้ศรัทธาในตัวเขาจึงเพิ่มขึ้นมาก และโบสถ์มวลชนก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ปี 1959 จิมรับเด็กเชื้อสายนิโกรและเด็กเชื้อสายเกาหลีอย่างละคนมาเป็นบุตรบุญธรรม นอกเหนือไปจากลูก 2 คนของเขากับมัลเซลีนและเรียกครอบครัวของตัวเองว่า Rainbow Family จิมได้รับอิทธิพลทางความคิดเรื่องการต่อต้านสงคราม และการรณรงค์สิทธิเสรีภาพ จากบาทหลวง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ มัลคอมเอ็กซ์ และแบล็คแพนเธอร์ เขาตั้งสังคมอุดมคติเป็นแบบสังคมนิยมซึ่งไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ และเริ่มทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ทั้งการออกเดินขบวนและ ออกรายการโทรทัศน์ จิมมีทัศนคติว่ารัฐบาลและผู้แยกตัวออกจากโบสถ์เป็นศัตรู และจัดให้มีองครักษ์อยู่ข้างตัวเขาเกือบตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งส่งคนไปคอยจับตาดูบ้านของผู้แยกตัวออกจากโบสถ์ด้วย
        ในปี 1965 จิมย้ายโบสถ์มวลชน มายังเมืองยูเกียในแคลิฟอร์เนีย และต่อมาในปี 1967 จิมย้ายโบสถ์ไปยังเมืองซานฟรานซิสโก เขาเทศน์เรื่องความเสมอภาคในเชื้อชาติ ให้ความช่วยเหลือคนยากจน คนตกงาน คนมีคดีติดตัว ผู้ติดยาเสพติด โบสถ์เติบโตอย่างรวดเร็ว เขามีสาวกหลายพันคน เขาเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเส้นสายในหมู่นักการเมือง ซึ่งทำให้โบสถ์มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารเมือง จิมเริ่มมีท่าทีรุนแรงขึ้น เริ่มปฏิเสธพระเจ้า จิมมีสภาพจิตใจผิดปกติ มีอารมณ์รุนแรงและต้องพึ่งยาระงับประสาท จิมชักชวนให้สาวกบริจาคสมบัติทั้งหมดแก่โบสถ์ และมาใช้ชีวิตในโบสถ์ จิมสร้างฮาเร็มขึ้นในหมู่สาวก เด็กๆถูกแยกจากพ่อแม่ จิมสั่งให้สาวกเรียกเขาว่า "บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์" และเริ่มสร้างความศรัทธาในการฆ่าตัวตายหมู่ เพื่อที่วิญญาณของทุกคนจะได้เป็นหนึ่งเดียว และได้รับความสุขอันเป็นนิรันดร์ที่ดาวดวงอื่น
     ในปี 1977 โบสถ์มวลชนย้ายสาวกมากกว่าพันคนไปสร้างเมือง "โจนส์ทาวน์" ขึ้น บนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์ ในประเทศกายอานา ทวีปอเมริกาใต้ เป็นเมืองในระบบเผด็จการ สาวกชายหญิงถูกแยกออกไปอยู่คนละเขต เด็กถูกกันไปอยู่อีกที่หนึ่ง มีการปกครองโดยกลุ่มคนผิวขาว คนผิวดำต้องทำงานใช้แรงงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ก่อนจะถูกบังคับให้เข้าพิธีในตอนกลางคืน ผู้ที่คิดหลบหนีจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในปีนี้ เกรซ สโตน อดีตคนรักของจิม ออกมาเปิดโปงเบื้องหลังของโบสถ์ต่อสื่อมวลชน ส่งผลให้อดีตสาวกจำนวนมากออกมาฟ้องศาล และเกิดกลุ่มแอนตี้โจนส์ขึ้น
         วันที่ 14 พฤศจิกายน 1978 สส.ไรอันจากรัฐแคลิฟอร์เนีย พร้อมกับนักข่าว อดีตสาวก และครอบครัวของสาวกจำนวน 19 คนได้ไปยังประเทศกายอานา เพื่อเข้าตรวจโจนส์ทาวน์ ได้พบคนแก่และคนเจ็บถูกจับนอนเรียงกันบนเตียงเก่าๆจนแน่นไปหมด ในห้องเต็มไปด้วยกลิ่มเหม็น แมลงวันบินว่อน มีหนอนคลานอยู่จนทั่ว เมื่อนักข่าวจะถ่ายรูปก็มียามมาห้ามไว้ วันที่ 18 พฤศจิกายน ไรอันเดินทางออกจากโจนส์ทาวน์ตามกำหนดการ และพาสาวกจำนวน 16 คนซึ่งต้องการถอนตัวกลับไปด้วย แต่เมื่อทั้งหมดกำลังจะขึ้นเครื่องบิน ได้ถูกกลุ่มสาวกติดอาวุธเข้าโจมตีสังหาร เป็นผลให้ สส.ไรอันและผู้ติดตามรวม 5 คนเสียชีวิต เวลา 5 โมงเย็นวันเดียวกัน เพียง 40 นาทีหลังการโจมตีสนามบิน จิมรวบรวมสาวกทั้งหมดกว่า 1100 คน เข้าร่วมในพิธีกรรม "ไวท์ไนท์" โดยนำน้ำผลไม้ผสมไซยาไนด์ให้สาวกดื่ม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 900 กว่าคน เกือบ 300 ศพเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ศพของจิมถูกพบบนแท่นเวที ที่ศีรษะด้านขวามีรอยกระสุน มีเพียง 167 คนที่รอดชีวิตมาได้






                                                                                       ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นักบุญ วาเลนไทน์ Valentine ตำนานวันแห่งความรัก



นักบุญ วาเลนไทน์ (Valentine)
          เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี จะมีหนุ่มสาวหรือคนบางกลุ่มนิยมส่งดอกกุหลาบสีแดง หรือบัตรรูปหัวใจให้แก่กันและกันซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนารมณ์ของความรักความเข้าใจต่อกัน วันวาเลนไทน์ ธรรมเนียมฝรั่งเขาส่งบัตรหรือของขวัญเล็กๆน้อยๆ ไปให้แก่คนที่เขารักโดยไม่บอกชื่อผู้ส่ง ซึ่งจะมาจากใครก็ได้

ตามประวัติกล่าวว่า วันนี้เป็นวันมรณภาพของนักบุญในศาสนาคริสต์ท่านหนึ่งชื่อว่า เซนต์วาเลนไทน์ ท่านผู้นี้ถูกพวกโรมันจับลงโทษถึงแก่ความตายในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช 269 ปี เนื่องจากท่านเป็นชาวโรมัน แต่ไปนับถือศาสนาคริสต์ และได้เข้าบวชอยู่ในศาสนานั้น ชื่อว่า วาเลนตินุส (VALENTINUS) ในสมัยนั้น ประชาชนชาวโรมันนับถือศาสนาของชาวโรมันอีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งมีพระผู้เป็นเจ้าและเทวดาหลายองค์ มีโบสถ์วิหารสำหรับพิธีบูชามีสมณะและนางชีเช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ในสมัยนี้ ในระยะเริ่มแรกที่ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในกรุงโรม ทางรัฐบาลกรุงโรมเห็นว่าเป็นลัทธิที่อันตรายต่อสังคมชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง ผู้ใดนับถือศาสนาคริสต์ก็จะถูกจับตัวไปลงโทษอย่างรุนแรงต่อสาธารณชน เช่น ให้สัตว์ป่ากัดตาย ตรึงไม้กางเขนให้ตายบ้าง หรือเผาทั้งเป็น เป็นต้น พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องคอยหลบซ่อนตัวไม่บอกให้ใครรู้ว่าตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน และเมื่อถึงเวลาทำพิธีกรรมทางศาสนาของตน จะต้องแอบหนีลงไปทำพิธีในอุโมงค์ที่ใช้บรรจุศพ นอกกรุงโรม นักบุญวาเลนไทน์เป็นผู้กล้าหาญและคอยช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาคริสต์อยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกทางราชการของกรุงโรมจับไปขังคุกหรือเอาไปทรมาน ในที่สุดท่านเองก็ถูกทางราชการของกรุงโรมจับตัวได้และเอาไปขังคุกไว้
                                             
               เมื่อนักบุญวาเลนไทน์อยู่ในคุก มีผู้คุมชื่อ อัสเตริอุส (ASTERIUS) เป็นผู้มีจิตใจเมตตาและคอยให้ความช่วยเหลือมิให้เดือดร้อน ผู้คุมมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งตาบอดทั้ง 2 ข้าง ระหว่างที่นักบุญวาเลนไทน์ติดคุกอยู่นั้น ลูกสาวผู้คุมก็นำอาหารให้และช่วยติดต่อกับคนนอกคุก ที่นับถือศาสนาศริสต์ให้แก่นักบุญวาเลนไทน์ ขณะที่อยู่ในคุก นักบุญวาเลนไทน์ได้แสดงอภินิหาร ด้วยการทำให้ตาทั้งสองข้างของลูกสาวผู้คุมหายบอด กลับมาเป็นคนตาดี และได้อบรมเกลี้ยกล่อมผู้คุมทั้งลูกสาวให้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย หลังจากนักบุญวาเลนไทน์ติดคุกมาเป็นเวลา 1 ปีพระเจ้าจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ก็มีคำสั่งให้นักบุญเข้าเฝ้า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นนักบุญก็รู้สึกต้องพระทัยในกริยามารยาท ความสำรวมและความมีสง่าราศีของนักบุญ จึงตรัสเกลี้ยกล่อมให้นักบุญเลิกนับถือศาสนาคริตส์เสีย แล้วกลับมานับถือศาสนาของชาวโรมันต่อไปตามเดิม พระองค์จะพระราชทานอภัยโทษให้ แต่นักบุญวาเลนไทน์ก็ปฏิเสธ ไม่ยอมเลิกนับถือศาสนาคริสต์ มิหนำซ้ำกับเริ่มสั่งสอนอบรมพระเจ้าจักรพรรดิให้ทรงเห็นดีเห็นชอบ และทรงนับถือศาสนาคริสต์ พระเจ้าจักรพรรดิกริ้วมาก จึงมีรับสั่งให้นำตัวนักบุญวาเลนไทน์ไปตีด้วยไม้กระบอง
ผู้ที่ตายเพื่อศาสนาและได้เกลี้ยกล่อมให้คนอื่นหันมายอมรับนับถือศาสนา เป็นผู้ที่ควรได้รับการยกย่อง และยังสามารถทำปาฏิหารย์รักษาให้คนตาบอดเป็นคนตาดีได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญหรือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ศริสต์ศาสสนิกชนถือว่า เป็นวันของเซนต์วาเลนไทน์ เพราะว่าเป็นวันที่ท่านถึงแก่มรณภาพ ในสมัยโรมันเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว



                                                        ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.issara.com/holy/st/st_valentine.htm

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

หลวงวิจิตรวาทการ


                                   หลวงวิจิตรวาทการ

ประวัติชีวิตตอนต้น

                  หลวงวิจิตรวาทการ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พุทธศักราช 2441 เจ้าของประวัติบันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้าเกิดบนแพ ริมแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี เมื่อรู้ความ เห็นบิดามารดาของข้าพเจ้ามีเรือพายม้าลำหนึ่ง แม่แจวหัว และพ่อแจวท้าย พวกข้าพเจ้าเป็นพวกมีลูกมาก แม่ของข้าพเจ้ามีลูกถึง 8 คน"


"แม่ของข้าพเจ้าถึงแก่กรรมตั้งแต่ตัวข้าพเจ้ายังเล็ก ข้าพเจ้าเริ่มลำดับความต่างๆ ได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ จำได้ว่าพ่อเคยเขียน ก. ข. ใส่กระดานชนวนไว้ให้ในเวลากลางคืน และพอ 4 นาฬิกา ก็ต้องแจวเรือไปค้าขายสองคนกับแม่ เวลานอนก็นอนกับย่า ซึ่งเป็นคนจดจำนิยายต่างๆ ไว้ได้มาก และเล่าให้ฟังเสมอ จนกระทั่งเรื่องสังข์ทอง เรื่องรามเกียรติ์ เรื่องอิเหนา เรื่องพระอภัยมณี และเรื่องขุนช้างขุนแผนเหล่านี้ อยู่ในสมองของข้าพเจ้าหมดก่อนที่จะลงมืออ่านได้เอง เมื่ออายุ 8 ขวบ ได้เข้าโรงเรียนวัดขวิด ตำบลสะแกกรัง สอบไล่ได้ชั้นประโยคประถม พ่อแม่ไม่มีทุนจะให้เข้าศึกษาต่อไป จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ ได้เข้าศึกษาในทางธรรมอยู่ในวัดมหาธาตุตั้งแต่อายุ 13 ขวบ จนถึงอายุ 20 ปี สอบไล่ได้เปรียญ 5 ประโยค จึงออกจากวัด"


             มีคนพูดกันแต่เดิมว่า หลวงวิจิตรวาทการ มีเชื้อสายเป็นจีน เพราะชื่อ "กิมเหลียง" ซึ่งเป็นชื่อเดิม ข้อนี้ตามเอกสารของหลวงวิจิตรวาทการยืนยันไว้เองว่า "มีประเพณีพิเศษอยู่อย่างหนึ่งในจังหวัดอุทัยธานีเวลานั้น คือ บิดามารดามีชื่อเป็นไทยแท้ๆ แต่ลูกต้องมีชื่อเป็นจีน บิดาของข้าพเจ้าชื่ออิน มารดาชื่อคล้าย ซึ่งเป็นชือ่ไทยแม้ๆ ข้าพเจ้าเห็นบิดาของข้าพเจ้าบวชในบวรพุทธศาสนา ไม่เคยเห็นไหว้เจ้า และทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไทย แต่ตัวข้าพเจ้ากลับได้ชื่อเป็นจีน น้องๆ คนหลังๆ เมื่อเกิดมาได้ตั้งชื่อเป็นไทย แต่พอข้าพเจ้าไปยุโรปกลับมา เห็นเขาเปลี่ยนชื่อจีนไปหมด อิทธิพลของจีนในจังหวัดอุทัยธานีนับว่าล้นเหลือ"
           เมื่อออกจากวัดแล้ว หลวงวิจิตรวาทการเริ่มเข้ารับราชการในกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ไม่เป็นการยากเลยสำหรับท่าน ที่จะเป็นคนเด่นคนดีขึ้นมาในกอง ทั้งๆ ที่เป็นคนเข้ามาใหม่ เพราะเพียงแต่มาทำงานตรงเวลาเท่านั้น ก็เป็นคนเด่นคนดีได้แล้ว บุคคลแรกที่ท่านไปยอมตัวเป็นสานุศิษย์ก็คือนายเวรผู้เฒ่านั่นเอง แทนที่จะรอให้เขาจ่ายงานมาให้ หลวงวิจิตรวาทการไปของานเขาทำ ขอให้เขาสอนให้ เริ่มจากงานง่ายไปหางานยกขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่คนอื่นจะมาพร้อม หลวงวิจิตรวาทการทำงานเสร็จไปแล้วอย่างน้อยสองเรื่อง ชื่อของท่านจึงได้สะดุดตาผู้ใหญ่ไปทุกวัน ทั้งๆ ที่เป็นเสมียนชั้นต่ำที่สุด ท่านกล่าวว่าไม่เป็นการยากลำบากเกินไปเลย ที่จะสร้างความเด่นความสำคัญให้แก่ตัว ขอแต่เพียงให้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงในการทำงาน และสร้างความดีเด่นของตนด้วย "งาน" ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่น
ภายหลังที่ได้ทำงานในกองการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 2 ปี หลวงวิจิตรวาทการได้มีโอกาสออกไปยุโรป ในตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการสถานทูตไทยประจำกรุงปารีส ท่านมีส่วนได้เปรียบคนอื่นๆ โดยที่เป็นคนรู้ภาษาไทยดีกว่าคนอื่นในสถานทูต ทำให้ท่านได้ทำงานอย่างกว้างขวาง จึงได้รับหน้าที่ตามเสด็จท่านราชทูตไปในการประชุมหรือในงานเจรจาทุกแห่ง และที่สำคัญต้องทำรายงานส่งเข้ามาในกรุงเทพฯ เป็นภาษาไทย
                    ในที่สุดหลวงวิจิตรวาทการก็ได้พบงานประจำสำหรับตัวท่าน คืองานสันนิบาตชาติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ได้ทรงเขียนไว้ที่หนึ่งว่า "การได้เข้าประชุม และทำงานสันนิบาตชาตินั้น เท่ากับว่าได้ผ่านการศึกษาในมหาวัทยาลัยขั้นสูงสุด" หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะภูมิใจในตัวเอง ที่ผ่านการศึกษาในมหาวิทยาลัยสูงสุดมาแล้ว 5 ปี ท่านเป็นคนเขียนรายงานการประชุมตั้งแต่ต้นจนปลาย รายงานการประชุมครั้งหนึ่งๆ เป็นหน้ากระดาษพิมพ์ดีดไม่น้อยกว่า 100 หน้า ท่านร่างเอง และพิมพ์เอง
                หลวงวิจิตรวาทการรับราชการอยาในสถานทูตปารีส 6 ปีเต็ม กระทรวงการต่างประเทศจึงได้สั่งย้ายท่านไปรับราชการในสถานทูตไทยที่กรุงลอนดอน ท่านอยู่ลอนดอนได้ไม่นาน ก็ได้ถูกเรียกกลับมารับราชการในกรุงเทพฯ และตำแน่งที่หลวงวิจิตรวาทการได้รับในกรุงเทพฯ ต่อจากนั้นมา ได้ช่วยให้ท่านเรียนรู้งานของกระทรวงการต่างประเทศอย่างทั่วถึง เพราะถูกโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ไม่หยุดหย่อน ในปี พ.ศ. 2475 ท่านได้เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ


           อธิบดีกรมศิลปากร


             เมื่อปี พ.ศ. 2477 หลวงวิจิตรวาทการ ได้ย้ายมาเป็นอธิบดีกรมศิลปากรเป็นคนแรก เมื่อเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ท่านได้รับความยากลำบากเป็นที่สุด เพราะท่านไม่ได้เกิดมาเป็นนักศิลปะ ท่านเกิดในกระทรวงการต่างประเทศ โดยไม่เคยเกี่ยวข้องกับงานศิลปากร มูลเหตุที่ให้ท่านเข้าไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากรนั้น ก็ดูเหมือนจะมีอย่างเดียวคือ ในบรรดางานศิลปากรในเวลานั้น งานที่สำคัญที่สุดคืองานหอสมุดแห่งชาติ ท่านชอบหนังสือ ชอบการค้นคว้า และแต่งหนังสืออยู่มากแล้ว ผลที่รัฐบาลหวังจากท่านในเวลานั้นก็คือจะให้ท่านสร้างสรรค์งานหอสมุดให้ดีที่สุด
               แต่เมื่อเข้าไปถึง ก็ได้พบงานอีกหลายอย่างที่หลวงวิจิตรวาทการไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืองานสถาปัตยกรรม ช่างเขียน ช่างปั้น และยิ่งกว่านั้น ก่อนท่านเข้าไปก็ได้มีกฎหมายระบุหน้าที่กรมศิลปากรไว้ว่า ต้องรับผิดชอบในเรื่องงานละคร และดนตรีด้วย มีคนเข้าใจผิดเป็นอันมาก ว่าเรื่องละคร และดนตรีของกรมศิลปากรหรือโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรีนั้น
              หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้คิดตั้งขึ้นด้วยความคิดริเริ่มของท่านเอง ความจริงเรื่องโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ที่เป็นโรงเรียนศิลปากรอยู่เวลานี้ มีบัญญัติอยู่ในกฎหมายคือ พระราชกฤษฎีกาแบ่งกองแบ่งแผนกสำหรับกรมศิลปากร ซึ่งได้ประกาศใช้แล้วก่อนท่านเข้าไปเป็นอธิบดี หลวงวิจิตรวาทการไม่ได้คิดอะไรใหม่ ไม่ได้มีแผนการโลดโผนอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านเข้าไปด้วยความเคารพต่อทุกสิ่งทุกอย่าง งานหอสมุดก็ดี งานพิพิธภัณฑ์ก็ดี งานช่างก็ดี เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือของชาวไทยทั่วไป ได้ทรงสร้างไว้ด้วยความเหนื่อยยาก และอุตสาหะพยายามเป็นอย่างยิ่ง ท่านเข้าไปด้วยความเคารพบูชา และตั้งปณิธานอันแน่วแน่ว่า สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้แล้วจะไม่ยอมให้เสื่อมโทรมเลยเป็นอันขาด ท่านจะดำเนินเจริญรอย และทำต่อไปตามแผนการ ให้งานเจริญก้าวหน้า และแตกกิ่งก้านสาขาออกไป โดยไม่รื้อทำใหม่หรือเปลี่ยนแปลงอะไร
              เว้นแต่งานอันหนึ่ง ซึ่งได้ออกกฎหมายไว้ แต่ยังมิได้ลงมือทำ คืองานละคร และดนตรี หลวงวิจิตรวาทการจะต้องทำในฐานะงานใหม่ของท่าน ซึ่งท่านเองก็ไม่มีวิชาความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน เคยสนใจในเรื่องละคร และดนตรีมาบ้างเมื่ออยู่ยุโรป แต่ก็สนใจแต่เพียงดูเพื่อความสนุกบันเทิงเท่านั้น เมือ่จำต้องทำด้วยตัวเอง ก็ต้องค้นคว้าเล่าเรียนเอาเอง เป็นการเปลี่ยนชีวิตของท่าน ท่านถูกความจำเป็นบังคับให้กลายเป็นนักศิลปะ ซึ่งไม่เคยนึกฝันมาแต่ก่อนว่าจะต้องเป็น ฯลฯ
             ถ้าหากหลวงวิจิตรวาทการได้สร้างความสำเร็จสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ให้แก่กรมศิลปากร ก็เป็นเพราะเหตุอย่างเดียวคือ ท่านไม่ได้รื้อของเก่า สิ่งไรที่มีอยู่เดิมแล้ว เช่น การหอสมุด และพิพิธภัณฑ์ ท่านได้ทำต่อไป หอสมุดวึ่งเดิมมีเพียงในกรุงเทพฯ ท่านได้จัดการเปิดสาขาหอสมุดในต่างจังหวัด และสำเร็จไปได้หลายสิบแห่ง งานพิธภัณฑ์ และโบราณคดี ก็ได้ทำไปโดยอาศัยหลักเดิม แต่ได้ขยายให้มีผลไพศาลยิ่งขึ้น
            โดยเหตุดังว่านี้ หลวงวิจิตรวาทการจึงใคร่เสนอข้อแนะนำแก่ผู้ที่ทำงาน โดยหวังจะขึ้นสู่ตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้ใหญ่ว่า ความก้าวหน้าของกิจการทั้งหลายจะมีขึ้นได้ ก็โดยผู้รับหน้าที่ตำแหน่งต่อกันไปนั้น ได้ทำงานต่อไปจากที่คนเก่าเขาทำแล้ว และไม่ด่วนลงความเห็นว่าคนเก่าเขาทำไว้เหลวไหล ถ้าทุกคนที่เข้าไปรับตำแหน่งใหม่เริ่มงานกันใหม่ทั้งหมดแล้ว ก็ไม่มีวันที่งานจะก้าวหน้าไปได้เลย




ชาตินิยม


             ในระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้ฟุ้งเฟื่องอยู่ในหมู่ประชาชน ด้วยการคิดคำนึงกันขึ้นในบรรดาผู้เป็นคนชั้นหัวหน้าปกครองว่าลัทธิชาตินิยมหรือลัทธิรักชาติลัทธิเดียว จะเป็นเครื่องป้องกันภัยอันตรายที่จะบังเกิดแก่ชาติได้ทุกทาง และพร้อมกันก็จะเป็นเครื่องมือสร้างชาติได้ดีกว่าเครื่องมืออย่างอื่น การจะปลูกฝังลัทธิชาตินิยมได้โดยสะดวก และมีทางเข้าถึงประชาชนได้ง่ายมีอยู่ทางหนึ่ง ดีกว่าทางอื่นๆ คือปลูกทางดนตรี และละคร อันเป็นงานที่กรมศิลปากรจะต้องทำอยู่ตามหน้าที่
               หลวงวิจิตรวาทการได้รับมอบหมายให้มาทำงาน "ปลูกต้นรักชาติ" ขึ้นในหัวใจประชาชน โดยการแต่งละครประวัติศาสตร์ และเพลงที่เป็นบทปลุกใจให้รักชาติขึ้นในระยะเวลาติดต่อกัน อาทิ เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์เรื่อง น่านเจ้า เลือดสุพรรณ ราชมนู พระเจ้ากรุงธน อานุภาพแห่งความรัก ศึกถลาง เจ้าหญิงแสนหวี และอื่นๆ อีกมาก เรื่องปลูกต้นรักชาตินี้ หลวงวิจิตรวาทการทำมาไม่ลดละ ตั้งแต่ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา จนกระทั่งเสร็จสงคราม และทำมาจนใกล้สิ้นชีวิต แปลว่าตลอดชีวิตของเจ้าของประวัติ ทำงานเรื่องชาตินิยมมาตลอด เมือ่ใกล้จะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484) ในขณะที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นรัฐมนตรีลอยอยู่หลายปี ท่านก็ได้เลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2483) และเมื่อกิจการระหว่างประเทศพัวพันกันมากเข้า ก็ถูกย้ายไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2484)
             โรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางค์" ได้ตั้งขึ้นท่ามกลางมรสุมแห่งการนินทาว่าร้าย การโจมตีทุกทิศทุกทางในหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ เพราะตั้งแต่เกิดมาเป็นประเทศไทย ก็ยังไม่เคยมีโรงเรียนชนิดนี้ ง่นเต้นกินรำกินถือว่าเป็นงานต่ำ แม้จะรู้กันว่ามีอยู่ในนานาประเทศที่เจริญแล้ว ก็ยังเห็นกันว่าไม่เหมาะสมสำหรับประเทศเรา
              ความยากลำบากที่สุดนั้น ก็คือการที่ต้องทำอะไรโดยที่ไม่มีเงิน การของบประมาณกรมศิลปากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานละคร และดนตรีนั้น ร้ายยิ่งกว่าขอทาน เพราะนอกจากจะไม่ได้แล้ว ยังถูกเย้ยหยันในการประชุมกรรมการพิจารณางบประมาณ มีหลายครั้งที่ท่านเกิดความคิดจะขอกลับไปกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่เกิดของท่าน และได้ทำงานมาโดยมิต้องถูกมรสุมความเย้ยหยันหรือความดูถูกดูหมิ่น แต่ท่านก็ต้องอยู่ อยู่สร้างสิ่งซึ่งท่านมีหน้าที่ต้องสร้าง การตั้งโรงเรียนฟ้อนรำ และดนตรี ซึ่งเรียกว่า "โรงเรียนนาฏดุริยางค์" นั้น ได้อาศัยความช่วยเหลือของกระทรวงธรรมการ ได้ครูมาสอนโรงเรียนนี้ โดยรับเงินเดือนทางกระทรวงไปพลาง จนกว่ากรมศิลปากรจะมีเงินของตัวเอง
                 ราวหนึ่งปีภายหลังที่ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้น นักเรียนของโรงเรียนนี้ก็พอออกแสดงได้บ้างแต่ไม่มีโรงแสดง โรงละครในเวลานั้นก็หายากเต็มที และไม่สามารถจะนำนักเรียนไปแสดงที่อื่นได้ จำเป็นที่จะต้องแสดงในเขตที่ของกรมศิลปากร เมื่อไม่มีทางจะทำอย่างอื่น ท่านก็ปลูกโรงไม้ไผ่เอาผ้าเต็นท์มาขึงเป็นหลังคา รวบรวมเก้าอี้เท่าที่จะหาได้ ละครของกรมศิลปากรได้ออกแสดงภายใต้หลังคาผ้าเต็นท์ และเสาไม้ไผ่ แต่เคราะห์ดีก็มีมา โดยที่ในการแสดงครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ผู้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเวลานั้น ได้มานั่งดูการแสดง ท่านเจ้าคุณได้บอกให้หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณสำหรับสร้างโรงละคร ท่านจะช่วยเหลือหาเงินให้
          หลวงวิจิตรวาทการตั้งงบประมาณไปสำหรับสร้างโรงละครเป็นจำนวนเท่าไหร่จำไม่ได้ แต่ได้รับอนุมัติเพียง 6,500 บาท สำหรับสร้างโรงละคร ไม่รู้จะสร้างอย่างไรได้ พอตั้งเสา และมุงหลังคา เงิน 6,500 บาท ก็หมดไป ไม่มีทางที่จะขออีก และละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ" ได้กำเนิดขึ้นในโรงละครราคา 6,500 บาท นั้นนั่นเอง


            "เลือดสุพรรณ" ทำให้หมดทุกอย่าง ทำให้โรงละครมีฝารอบขอบชิด มีรูปร่างซึ่งเป็น "หอประชุมศิลปากร" ที่ใช้มาจน 25 ปีให้หลัง การละคร และดนตรีของกรมศิลปากรตั้งตัวขึ้นได้ด้วยละครเรื่อง "เลือดสุพรรณ"


แต่งงาน - ชีวิตครอบครัว


            ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และเป็นรัฐมนตรีอยู่นั้น หลวงวิจิตรวาทการได้แต่งงานกับนางสาวประภา (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นประภาพรรณ) รพิพันธุ์ อาจารย์โรงเรียนเบญจมราชาลัย บุตรีของขุนวรสาส์นดรุณกิจ เมือ่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2479 เป็นการเริ่มชีวิตใหม่ที่เนื่องด้วยครอบครัว และความรัก หลวงวิจิตรวาทการเห็นจะได้ชื่อว่าเป็นคนหวานต่อความรัก เป็นสามีที่ดีที่สุด และเมื่อมีลูกก็เป็นพ่อที่ดีที่สุดของลูก ดังบทเสภาตอนหนึ่งที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งขึ้นเพื่อขับร้องในวันเกิดของคุณหญิง เมือ่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2502


                                "ขออุทิศเส้นประสาทพี่ทั้งสิ้น เป็นสายพิณดีดโปรยให้โหยหวล


                    ขออุทิศใจพี่ที่รัญจวน เป็นบายศรีชี้ชวนเชิญขวัญตา


                    ขออุทิศมือทั้งสองเป็นแว่นเทียน โบกเวียนจากซ้ายแล้วไปขวา


                    ทำขวัญมิ่งมิตรวนิดา ในสี่รอบชันษาของนวลน้อง"


เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว - อาชญากรสงคราม


ชีวิตตอนสงคราม


               ประเทศไทยต้องเข้าสงครามมหาเอเชียบูรพา หลวงวิจิตรวาทการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีส่วนรับผิดชอบในงาน "ประกาศสงคราม" ร่วมกับคณะรัฐบาลชุดนั้น พอเสร็จสงครามก็ต้องหาเป็นอาชญากรสงคราม
            เจ้าของประวัติเคยบอกว่า การประกาศสงครามที่ตนต้องรับผิดชอบอยู่ด้วยนั้น ช่วยให้สมบัติ และชีวิตของสัมพันธมิตร พ้นจากการถูกญี่ปุ่นยึดเอาไปเป็นทรัพย์เชลยได้เกือบหมด ตลอดการสงคราม ไทยก็ได้ใช้ประโยชน์เหล่านี้ให้เกิดแก่สัมพันธมิตรตลอดมา และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยรอดตัวมาได้จากการถูกยึดเป็นเมืองขึ้นของทั้งสองฝ่าย
               "หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าต้องหาฐานอาชญากรสงคราม และถูกเจ้าหน้าที่ในกองทัพบกอเมริกัน ที่กรุงโตเกียวจับตัวไปคุมขัง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2488 ภายหลังได้ถูกส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ ถูกขังอยู่ที่สันติบาล และที่เรือนลหุโทษ จนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2489 ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาว่าพระราชบัญญัติอาชญากรโมฆะ และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด"
             ออกจากที่คุมขัง หลวงวิจิตรวาทการไม่มีงานทำ จึงจับงานละครใหม่ ตั้งคณะละครชื่อ "วิจิตรศิลป์" แต่คราวนี้ไม่ได้ผล คนไม่ต้องการ "ปลูกต้นรักชาติ" กันแล้ว การละครขาดทุน จึงหันมาเขียนนวนิยายหลายสิบเรื่อง เช่น ห้วงรัก-เหวลึก พานทองรองเลือด มรสุมแห่งชีวิต ดอกฟ้าจำปาศักดิ์ นวนิยายขนาดยาวก็เขียนขึ้นในยามนี้ และท่านยังให้มีการพิมพ์เผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ ที่ท่านได้เขียนไว้แล้ว และเขียนขึ้นใหม่ เช่น มันสมอง กำลังใจ กำลังความคิด มหาบุรุษ และอื่นๆ อีกมาก พ.ศ. 2491 รัฐบาลเก่าเปลี่ยนไป จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นมาตั้งรัฐบาลใหม่ หลวงวิจิตรวาทการกลับไปเป็นกำลังใหม่ของรัฐบาลนี้อีกครั้งหนึ่ง
             รัฐบาลไทยสมัยนั้น เปิดการสัมพันธ์ทางการทูตใหม่กับนานาประเทศ หลวงวิจิตรวาทการไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศอินเดีย (พ.ศ. 2495) แล้วย้ายไปประจำที่ประเทศสวิส ออสเตรีย และยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496) เป็นเวลานานถึง 7 ปี


                  อวสานแห่งชีวิต


             จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งคณะรัฐบาลปฏิวัติขึ้นใหม่ในปลาย พ.ศ. 2500 หลวงวิจิตรวาทการได้เป็นกำลังของคณะปฏิวัติ เดินทางกลับจากยุโรปเข้ามาช่วยจัดการบริหารประเทศ ในฐานะปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
            ในช่วงนี้ ท่านก็ได้ทำสิ่งที่ท่านปรารถนาไว้นานแล้วสำเร็จ คือได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน โดยท่านเป็นประธานกรรมการก่อสร้าง และเป็นผู้วางศิลปาฤกษ์ในปี พ.ศ. 2504
             ด้วยเหตุที่ต้องทำงานหนักมาก ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ร่างกายที่ต้องทนงานตรากตรำอย่างหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อน ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง
            ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ เมือ่ราวปลาย พ.ศ. 2504 และได้ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2505 รวมอายุได้ 64 ปี
             ชีวิตของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดี ได้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญ ชีวิตของท่านได้ดำเนินมาหลายบทบาท เริ่มจากการเป็นนักธรรม เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักการทูต เป็นครู - อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็ยนักประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ จากสามเณรเปรียญ 5 ประโยค ท่านได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2504 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางการทูต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีเดียวกัน และปริญญาบัตรอักษรศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2505
           ชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดีได้ดับไปแล้ว แต่ชีวิตที่ประกอบความดีมานั้น ย่อมมีธรรมคุ้มครอง ตราประจำตระกูลคือ "ดวงประทีปในเรือนแก้ว" จึงมิได้ดับไปตามชีวิตนั้น แต่ยังคงส่งประกายสว่างไสวต่อไปชั่วกาลนาน...










                                      ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaidances.com/vijitvatakran/history/home1.asp