หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกรกอรี รัสปูติน จอมขมังเวย์เเห่งไซบีเรีย







เกรกอรี รัสปูติน

กริกอรี เยฟิโมวิช รัสปูติน (
รัสเซีย: Григо́рий Ефи́мович Распу́тин (Grigoriy Efimovič Rasputin); อังกฤษ: Grigori Yefimovich Rasputin) หรือที่นิยมเรียกกันว่า "รัสปูติน" เป็นนักบวช ผู้ที่มีพลังจิตพิเศษที่มีบทบาทในยุคปลายราชวงศ์โรมานอฟของประเทศรัสเซีย แต่การมีบทบาทและอิทธิพลของเขานั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์โรมานอฟ

กริกอรี เยฟิโมวิช รัสปูติน เกิดเมื่อวันที่
10 มกราคม ค.ศ. 1869 ที่หมู่บ้านโปครอฟสกี อำเภอทยูแมน จังหวัดโตบอลส์ก ในไซบีเรีย ในครอบครัวเกษตรกร สันนิษฐานว่าเขามีความเชื่อในนิกายคริสติ และค็อปสตี ซึ่งในสมัยนั้นเป็นนิกายที่นอกรีต ต่อมาในวัยเด็ก รัสปูติน ก็ดูมีความสามารถพิเศษในการทำนายอนาคตได้อย่างค่อนข้างถูกต้อง
ในวัยเด็กและวัยหนุ่ม การที่รัสปูตินมีพลังพิเศษที่อธิบายไม่ได้ ประกอบกับอุปนิสัยที่เงียบขรึม และบางครั้งก็ชอบทำอะไรแปลกๆ ทำให้คนรอบข้างหวาดกลัว ไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่กล้าพูดด้วย จนใน
ค.ศ. 1887 รัสปูติน บวชเป็นนักบวชในนิกายคริสติ พำนักอยู่ในอาราม Verkhoturye และมีมาคาเรีย (Makariy) เป็นอาจารย์ ในช่วงแรก ผู้คนในเมืองที่รัสปูตินพำนัก ต่างนับถือ แต่ต่อมา เมื่อผู้คนพบกับธาตุแท้ ต่างเรียกรัสปูตินว่า Icha หรือ นักบวชวิปลาส
ค.ศ. 1889 รัสปูติน แต่งงานกับ ปราสโกเวีย เฟโอโดรอฟนา ดูโบรวินา (Praskovia Fyodorovna) และมีลูกด้วยกัน 4 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก 1 คน ส่วนอีก 3 คน ได้แก่ Dmitri เกิดใน ค.ศ. 1897 , Matryona เกิดใน ค.ศ. 1898 และ Varvara เกิดใน ค.ศ. 1900
ค.ศ. 1901 รัสปูติน ออกเดินทางแสวงบุญไปยัง กรีก และ เยรูซาเลม เป็นเวลา 2 ปี
ค.ศ. 1903 รัสปูติน เดินทางกลับมาถึงรัสเซีย และอ้างตนเป็นผู้มีพลังพิเศษ สามารถทำนายอนาคตและรักษาโรคได้
ค.ศ. 1904 องค์ชายอเล็กไซ พระโอรสองค์โตในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงประสูติ แต่ทรงมีพระอาการประชวรด้วยโรคฮีโมฟีเลีย (Haemophillia) หรือพระโลหิตไหลออกง่ายและหยุดยาก เนื่องจากพระโลหิตผิดปกติ ซึ่งในสมัยนั้นโรคนี้สามารถคร่าชีวิตคนได้ พระเจ้าซาร์หาหมอมือดีมาหลายคนก็ไม่สามารถรักษาพระอาการได้
ค.ศ. 1905 รัสปูติน เดินทางมาในพระราชวัง และสามารถรักษาพระอาการป่วยขององค์ชายอเล็กไซได้ (ซึ่งปัจจุบัน ข้อสันนิษฐานที่นักประวัติศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุดของวิธีที่รัสปูตินใช้ คือ สะกดจิตให้องค์ชายหลับไป และปล่อยให้ระบบในพระวรกายเยียวยาองค์ชายอย่างเงียบๆ จนทรงมีพระอาการดีขึ้น) จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย (เจ้าหญิงอลิกซ์แห่งเฮสส์และไรน์) พระมารดาขององค์ชายอเล็กไซ และพระเมหสีในพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงขอให้รัสปูตินเข้ามาอยู่ในวัง เพื่อดูแลอเล็กไซต่อ ทำให้ชีวิตของรัสปูติน เริ่มมีบทบาทและอำนาจขึ้นมา
หลังจากรัสปูตินอยู่ในวังหลวงได้สักพัก รัสปูตินก็เริ่มจัดงานเลี้ยงเพื่อล้างบาป ซึ่งงานเลี้ยงแต่ละครั้ง ก็ใช้เงินมาก และยิ่งนานวัน รัสปูตินยิ่งสั่งจัดงานเลี้ยงล้างบาปบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนดูพร่ำเพรื่อ และคนภายนอกเริ่มมองว่ารัสปูตินต้องการเสวยสุขจากงานเลี้ยงมากกว่า
ค.ศ. 1914 สถานการณ์โลกไม่ค่อยดีนัก มีแววว่าสงครามโลกกำลังจะเกิดขึ้น รัสเซียเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนอดอยากแร้นแค้น พระเจ้าซาร์ทรงให้รัสปูตินลดๆ การจัดงานล้างบาปลงเสียบ้าง เพราะจะได้นำเงินไปใช้ทำสงคราม และดูแลประชาชน รัสปูตินไม่พอใจ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสปูตินก็แกล้งทำนายพระเจ้าซาร์ว่า พระเจ้าซาร์ต้องไปบัญชาการรบเอง รัสเซียจึงจะมีชัย เพื่อให้พระเจ้าซาร์ออกไปรบ และจักรพรรดินีอเล็กซานดรา ซึ่งเชื่อรัสปูตินแทบทุกอย่างได้ปฏิบัติหน้าที่แทน เพื่อรัสปูติน จะได้ทำตามใจตนเอง
ความเดือดร้อนที่ประชาชนแบกรับ ต่อมา ได้เกิดเป็นการประท้วง ตามด้วยการจราจล และการก่อการปฏิวัติ ทำให้พระเจ้าซาร์ ต้องกลับมาจากสนามรบ เมื่อกลับมา รัสปูตินก็ปรนเปรอพระเจ้าซาร์ด้วยงานเลี้ยงรื่นเริงเข้าไปอีก ทำให้พระเจ้าซาร์เริ่มปฏิบัติงานน้อยลง และฝากงานต่างๆ ให้รัสปูตินมากขึ้น จนแทบจะเรียกได้ว่า พระเจ้าซาร์ และจักรพรรดินีอเล็กซานดร้าเป็นหุ่นเชิดของรัสปูติน
การบริหารงานของรัสปูติน เริ่มสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน จนเริ่มมีแววว่าจะเกิดความวุ่นวายในรัสเซีย
ค.ศ. 1916 เจ้าชายเฟลิกซ์ ยูสชูปอฟ (Felix Yussupov) เห็นว่าเก็บรัสปูตินไว้จะเป็นภัยต่อชาติ จึงร่วมมือกับแกรด์ดยุคดมิทรี พัฟโลวิช (Grand Duke Dmitri Pavlovich) ลวงสังหารรัสปูติน โดยจะเชิญรัสปูตินไป โดยอ้างว่าเป็นงานเลี้ยงเล็กๆ ในวังเจ้าชาย และจะวางยาพิษไซยาไนด์ในเครื่องดื่มและเค้กของรัสปูติน
เมื่อรัสปูตินทานเค้กจนหมด ก็ดูไม่เป็นอะไร เหมือนไม่ได้ถูกยาพิษใดๆ เจ้าชายเฟลิกซ์จึงยิงปืนใส่รัสปูตินหลายนัด รัสปูตินก็ยังไม่เสียชีวิต เดินออกมาข้างนอกวัง กลุ่มข้าราชบริพารของเจ้าชายเฟลิกซ์ที่เจ้าชายเตรียมไว้ ก็ระดมยิงปืนใส่ ก็ยังไม่เสียชีวิต ผลสุดท้าย ข้าราชบริพารจึงยิงปืนใส่ตารัสปูตินจนตกลงไปในน้ำ เสียชีวิตในวันที่
16 ธันวาคม ค.ศ. 1916 รวมอายุ 47 ปี
3 วันต่อมา ศพของรัสปูตินถูกพบ และถูกส่งไปชันสูตร ผลการชันสูตร พบสารไซยาไนด์และกระสุนปืนจำนวนมากในร่างของรัสปูติน แต่ร่างกายของรัสปูตินเสียชีวิตเพราะการจมน้ำ ส่วนไซยาไนด์และกระสุนปืนนั้นไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิต
ก่อนเสียชีวิต รัสปูตินสามารถทำนายอนาคตตนเองได้ว่ากำลังจะเสียชีวิตเร็วๆ นี้ และได้พบกับคำทำนายบางสิ่ง จึงเขียนคำทำนายฉบับสุดท้ายฝากคนรับใช้ให้ไปส่งให้พระเจ้าซาร์ ฉบับนั้น เขียนไว้ในทำนองว่า ถ้าตัวเขาเองถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือของสามัญชน ราชวงศ์โรมานอฟจะปกครองรัสเซียไปได้อีกหลายร้อยปี แต่ถ้าตัวเขาเองถูกฆ่าตายโดยเชื้อพระวงศ์ หรือบรรดาศักดิ์ ราชวงศ์โรมานอฟจะถูกโค่นล้มในอีก 2 ปีข้างหน้า นองจากนี้ยังเขียนทำนองว่า รัสปูตินจะเสียชีวิตก่อนที่จดหมายฉบับนี้จะไปถึงพระเจ้าซาร์
ทุกอย่างในคำทำนายเป็นจริง รัสปูติน เสียชีวิตชีวิตก่อนที่คนใช้จะนำจดหมายคำทำนายไปถึงพระเจ้าซาร์ และเมื่อคนที่ฆ่ารัสปูตินเป็น "เจ้าชาย" ดังนั้น
ค.ศ. 1917 เกิดการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์โรมานอฟจริงๆ หนำซ้ำ ค.ศ. 1918 ราชวงศ์โรมานอฟถูกตัดสินโทษประหารชีวิต




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์


มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์


มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (อังกฤษ: Martin Luther King, Jr.; 15 มกราคม พ.ศ. 2472 - 4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำ โดยใช้นโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทางร่วมกับคนผิวขาว ที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามา และจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้ง
ในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่
อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream) ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507
ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับ
รางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียดนาม และจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่ง
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมือง
เมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาลพิพากษาจำคุก 99 ปี
หลังจากที่เขาถูกลอบสังหารในปี พ.ศ. 2511 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้
วันที่ 15 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" อันเป็นวันนักขัตฤกษ์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกา และได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา
คิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี พ.ศ. 2506 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โจเซฟ สตาลิน






โจเซฟ สตาลิน



โจเซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin โยซิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน ; อังกฤษ: Joseph Stalin) (21 ธันวาคม ค.ศ. 1879 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1922-1953) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค

สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา

ประวัติ
โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილი Ioseb Besarionis dze Jughashvili โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจีย และเขาก็เป็นชาวจอร์เจียนโดยกำเนิด ชื่อนี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า) เขาเกิดที่ รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เป็นลูกของช่างทำรองเท้า สตาลินหนีออกจากบ้านหลังจากทะเลาะกับบิดาแล้วถูกตบด้วยรองเท้า

ในช่วงปี 1900 สตาลินเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และปล้นธนาคารในบ้านเกิดของเขาเอง เพื่อเอาเงินไปสนับสนุนพรรค แต่เขาถูกจับได้และถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย บ้างก็ว่าสมัยเขาอยู่จอร์เจียเขาได้แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง (ไม่มีบันทึกชื่อในประวัติศาสตร์) และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน เมื่อสตาลินกลับมาจากไซบีเรียเขาได้ทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ต่อและตำแหน่งการงานก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นคนมีความมักใหญ่ไฝ่สูงมาก จน เลนิน ก็รู้สึกกลัวคนๆ นี้ เพราะเขาเป็นคนไม่มีการศึกษา กิริยาท่าทางก็หยาบคาย แต่ความก้าวหน้าของเขาเป็นได้จากความจงรักภักดีต่อพรรคของเขานั้นเอง ช่วงราว 1910-1920 นี้เอง สตาลินแต่งงานแบบมีบันทึกในประวัติศาสตร์ มีลูกชาย 1 คน (ต่อมาทำหน้าที่เป็นนักบินในสงครามโลกครั้งที่ 2) และลูกสาวอีก 1 คน (ชื่อ สเวตลาย่า ต่อมาแต่งงานกับยิวและลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในอเมริกาหลังสตาลินตาย)

เมื่อเลนินตายปี 1923 เขาเสนอชื่อชื่อตัวเองเข้ารับตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์ตอนนั้นคู่แข่งของเขาคือ ลีออง สตรอยคอฟ ลังเลเพียงเสี้ยวนาทีในการตัดสินใจเสนอชื่อตนเอง ลีออง เลยต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ เม็กซิโก เพื่อรักษาชีวิตตนเอง แต่เขาก็ถูกสตาลินส่งคนไปฆ่า

ในปี 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียตลอดไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอดตายอีกเป็นล้านๆ คน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย ปี 1941-1945 เขานำโซเวียตชนะสงคราม โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ

เขาเสียชีวิตในปี 1953 เนื่องจากเป็นพาร์กินสันแต่เขายังกังวล เรื่องเนรเทศยิวกลุ่มใหม่ไปไซบีเรีย จนเป็นโรคเครียดตามมา งานศพของเขา มีคนเหยียบกันตายราว 3,000 คน

หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประนามขุดคุ้ยความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน






จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชาร์ลี แชปลิน


ชาร์ลี แชปลิน
เซอร์ชาลส์ สเปนเซอร์ แชปลิน จูเนียร์ (อังกฤษ: Sir Charles Spencer Chaplin, Jr.) หรือรู้จักกันในชื่อ ชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) (16 เมษายน ค.ศ. 1889–25 ธันวาคม ค.ศ. 1977) นักแสดงชาวสหราชอาณาจักรผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ในยุคต้นถึงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ของฮอลลีวูด อีกทั้งยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ซึ่งมีผลงานโดดเด่นหลายเรื่องด้วยกัน ตัวละครที่เขาแสดงซึ่งมีผู้จดจำได้มากที่สุดคือ "คนจรจัด" (The Tramp) ซึ่งมักปรากฏตัวในลักษณะคนจรจัดซึ่งสวมเสื้อนอกคับตัว สวมกางเกงและรองเท้าหลวม สวมหมวกดาร์บีหรือหมวกโบว์เลอร์ ถือไม้เท้าซึ่งทำจากไม้ไผ่ และไว้หนวดจุ๋มจิ๋ม แชปลินเป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคภาพยนตร์เงียบ ดังจะเห็นได้จากการที่เขาทั้งแสดง กำกับ เขียนบท อำนวยการสร้าง และรวมไปถึงประพันธ์ดนตรีประกอบในภาพยนตร์ของเขาเอง

ประวัติ
เชื่อกันว่าชาร์ลี แชปลินเกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1889 พ่อของแชปลิน (ชาร์ลี แชปลิน ซีเนียร์) เป็นนักร้องและนักแสดง แม่ชื่อลิลี ฮาร์ลีย์ (Lily Harley) เป็นนักแสดงและนักร้องโอเปรา แชปลินมีพี่ชายต่างพ่ออีกคนชื่อซิดนีย์ (Sydney) พ่อและแม่ของแชปลินหย่ากันตั้งแต่เขายังเล็ก แชปลินต้องเริ่มแสดงครั้งแรกตอนแม่ป่วยระหว่างแสดงละคร แม้จะประสบปัญหาทางการเงิน แต่ความฝันของแชปลินก็ยังไม่หมดไป ทุกเย็นเขาจะไปเดินเตร่แถวสำนักจัดหานักแสดง เมื่ออายุ 12 ปี แชปลินได้งานแสดงงานแรกเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ชื่อบิลลี (Billy) ในละครเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ และได้งานต่อมาในเรื่อง Jim, The Romance of a Cockney และเริ่มเป็นที่รู้จัก แชปลินได้เข้ากลุ่มนักแสดงที่ชื่อ The Eight Lancashire Lads และได้รับความนิยมมากขึ้นจากฝีมือการเต้นแท็ปของเขา

ตัวละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของแชปลินคือ "คนจรจัด" (The Tramp) ส่วนหนังที่สร้างชื่อเสียงให้เขาคือ The Kid (1921) , City Light (1931) , Modern Times (1936) และ The Great Dictator (1940)

ชาร์ลี แชปลิน ถึงแก่กรรมในวันคริสต์มาส ค.ศ. 1977

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur พ.ศ. 2365-2395) นักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจาก
เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี
พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็น
สถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่โลก

ปาสเตอร์เป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และคุณประโยชน์อย่างมากให้กับศาธารณชน คือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคระบาดที่รุนแรง แต่ก็สามารถคร่าชีวิตคนเป็นจำนวนมากเช่นกันนอกจากนี้เขายังค้นพบวัคซีนอีกหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ ผลงานของเขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ การค้นพบวิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบพาสเจอร์ไรต์ ในปัจจุบันวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะสามารถเก็บรักษาอาหารได้นานและปลอดภัยมากที่สุด


ปาสเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 ที่เมืองโดล มลรัฐจูรา ประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) และเคยเป็นทหารในกองทัพของพระเจ้านโปเลียนมหาราช และได้รับเหรียญกล้าหาญจากสงครามด้วย ต่อมาครอบครัวของปาสเตอร์ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors) แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมีฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ที่ดี การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์ซึ่งวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่เขาเรียนได้ดีที่สุด นอกจากนี้เขามีความสามารถในการวาดรูปอีกด้วย โดยเฉพาะภาพเหมือน (Portrait) เขามีความชำนาญมากที่สุดรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาด เช่น ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (The Pasteur Institute in Paris)ด้วยความที่ปาสเตอร์เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ให้ไปเรียนที่อีโคล นอร์เมลซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีสด้วยอาจารย์ใหญ่ต้องการให้เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์นั่นเอง แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่ ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้นเป็นโรคประสาทได้ในเวลาต่อมา


ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาอักษรศาสตร์ ที่รอยับลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจากจบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ต่อจากนรั้นปาสเตอร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง Ecole Normale Superiere อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนวิชาเคมีกับนักเคมี ผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดีมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (SorbonneUniversity) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพเรียเขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลึก (Crystallography) ในปี ค.ศ. 1852 เมื่อปาสเตอร์จบการศึกษาแล้ว เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูนที่ใช้ทำน้ำส้ม (Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี ค.ศ. 1849 เขาได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาเคมี


ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1854 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้าเบียร์ และไวน์ และครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหาของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงนำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบครั้งนี้ด้วย โดยในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์ (Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มีชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus) ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติกได้ หรือเป็นตัวการที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า การหมักดองทำให้เกิดกรดขึ้น 2 ชนิด ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin) การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในวงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง (Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์


เมื่อเขาค้นพบว่าจุลินทรีย์ทำให้เกิดผลเสียมากมาย ปาสเตอร์จึงทำการค้นคว้าเกี่ยวกับจุลินทรีย์ต่อไป และพบว่า จุลินทรีย์ ที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศทำให้เกิดความเจ็บป่วย และอาหารรวมถึงนมเน่าเสียได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นวิธีการเก็บรักษาของให้อยู่ได้นาน ๆ ก็คือ ต้องฆ่าจุลินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไป ปาสเตอร์ได้ทดลองฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ โดยการนำนมมาต้มในความร้อน 145 องศาฟาเรนไฮต์ ทำให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายใน ? ชั่วโมง เพื่อให้จุลินทรีย์ตายหมด ก่อนนำไปบรรจุใส่ขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวด ให้แน่นป้องกันไม่ใช้เชื้อจุลินทรีย์เข้าได้ ผลปรากฎว่านมสดอยู่ได้นานกว่าปกติ โดยที่ไม่เน่าเสีย จากนั้นปาสเตอร์ได้นำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น เหล้า เบียร์ น้ำกลั่น และไวน์ เป็นต้น วิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ พาสเจอร์ไรเซชัน(Pasteurization) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากการค้นคว้าทดลองครั้งนี้ปาสเตอร์ยังพบวิธีการทำน้ำส้มสายชูโดยใช้จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเหล้าองุ่นมาเพาะ แล้วเติมลงไปในเหล่าองุ่นที่ผ่านวิธีพาสเจอร์ไรต์แล้วด้วยวิธีการนี้จะได้น้ำส้มสายชูที่มีคุณภาพดี


การค้นคว้าเรื่องจุลินทรีย์ของปาสเตอร์ไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ในปี ค.ศ. 1865 เขาพบถึงสาเหตุของเซลล์ที่ตายแล้วเน่าเปื่อย ก็เป็นผลมาจากเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นเขาจึงทำการทดลองต่อไป ด้วยปาสเตอร์กลัวว่าเมื่อฝังศพทั่งของสัตว์ และมนุษย์ลงในดินแล้ว ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นลงไปอยู่ในดินได้และอาจจะปนเปื้อนไปกับน้ำบาดาล เมื่อคนนำน้ำบาดาลไปดื่มโดยที่ไม่ต้องต้มฆ่าเชื่อก่อน อาจจะทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ เมื่อการค้นคว้าของปาสเตอร์จบสิ้นลงผลปรากฏว่าเป็นดังเช่นที่ปาสเตอร์กล่าวไว ้คือมีจุลินทรีย์บางชนิดสามารถอยู่ในดินได้จริง เช่น เชื้อบาดทะยัก และแอนแทรกซ์ เป็นต้น


ต่อมาเขาได้ทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตัวไหม ซึ่งทำความเสียหายอย่างหนักให้กับโรงงานอุตสาหกรรมผ้าไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้มาขอความช่วยเหลือจากปาสเตอร์ เขาได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้อยู่นางถึง 5 ปี จึงพบว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อว่า โนสิมา บอมบายซิล (Nosema Bombysis) ซึ่งตัวหนอนกินเข้าไป ดังนั้นปาสเตอร์จึงอธิบายวิธีการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมฟังอย่างละเอียด ซึ่งสามารถป้องกันโรคนี้ได้เป็นอย่างดี จากผลงานทาวิทยาศาสตร์วิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) และในปีเดียวกันนี้เขาได้เผยแพร่ผลงานการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการ หมักดองออกมาอีกเล่มหนึ่งจากความสามารถของปาสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เขาได้เชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอะเคดามี ออฟ เมดิซีน (Academy of Medicine)


ในปี ค.ศ. 1887 ปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับโรคระบาดในสัตว์ โดยเริ่มจากโรคที่ร้ายแรงที่สุด คือ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ปาสเตอร์ใช้ปัสสาวะของสัตว์ที่ป่ายเป็นโรคแอนแทรกซ์มาเพาะเชื้อให้อ่อนกำลังลง แล้วไปทำวัคซีน การที่เขานำปัสสาวะของสัตว์มาทำวัคซีนทำให้คนทั่วไปไม่เชื่อถือในวัคซีนของเขา ปาสเตอร์ต้องการให้สาธารณชนประจักษ์แก่สายตาจึงทำการทดลอง ปาสเตอร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเกษตร (Agriculture Society) มอบแกะในการทดสอบวัคซีนถึง 50 ตัว ปาสเตอร์แบ่งแกะออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 ตัว กลุ่มหนึ่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ฉีด จากนั้นจึงฉีดเชื้อโรคแอนแทรกซ์ให้กับแกะทั้งหมด ผลปรากฏว่าแกะกลุ่มที่ฉีดวัคซีนไม่ป่วยเป็นโรคแอนแทรกซ์เลย แต่แก่กลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป่วยและเสียชีวิตหมดทุกตัว


จากผลงานการค้นคว้าชิ้นนี้ ทางรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสได้ขอร้องและมอบเงินสนับสนุนให้กับปาสเตอร์ในการค้นคว้าหาวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ ปาสเตอร์ทำการทดลองค้นคว้าและสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคในไก่ได้สำเร็จโดยเขาผลิตวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนชนิดนี้ได้จากซุปกระดูกไก่ ปาสเตอร์ได้นำวัคซีนฉีดให้กับไก่ ปรากฏว่าไก่ที่ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด


การค้นพบวัคซีนที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุด คือ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรงแต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนได้มากเพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกรายไป สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็ต้องตายโดยไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกัน จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะทางใด เช่น ถูกเลียบริเวณที่เป็นแผล หรือถูกกัด เป็นต้น เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเาไปทางแผลสู่ร่างกายได้ ปาสเตอร์ได้นำเชื้อมาเพาะวัคซีน และนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่ปาสเตอร์ไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งโจเวฟเมสเตร์ เด็กชายวัย 9 ปี ถูกสุนัขบ้ากัด ถึงอย่างไรก็ต้องเสียชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กจึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์รักษาซึ่งเป็นโอกาสดีที่ปาสเตอร์จะได้ทดลองยา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้าน การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภาสถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้นปาสเตอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1895

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฮันส์ คริสเตียน ราชาแห่งโลกนิทาน


ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน (เดนมาร์ก: Hans Christian Andersen) (ค.ศ. 1805-1875) ตามความเห็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเขา แอนเดอร์เซนเป็นชาวเดนมาร์ก เขาเกิดในสลัม เป็นตัวตลกน่าสมเพชให้คนหัวเราะมาตลอดชีวิต แต่แล้วเขาก็ใช้คติหัวเราะทีหลังดังกว่า ด้วยบรรดางานเขียนที่เขาเรียกมันว่า ‘เรื่องเล่นๆ’ ที่เป็นนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ทั่วโลกนิ่งฟังด้วยตาโต แม้ว่าเขาจะเป็น ‘นักเขียนบทละครพื้นๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี และนักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ’ หากในด้านนิทานแล้ว ‘เขาก้าวไปถึงขั้นเยี่ยมยอดไร้ที่ติ’ กล่าวกันว่านิทานของเขา ‘เป็นบรรณาการยิ่งใหญ่จากเดนมาร์กแก่โลกวรรณกรรม…ฐานะเทียมเท่าโฮเมอร์ ดันเต้ เชกสเปียร์ เซอร์บันเตส และเกอเธ่
จากการนำ
นิทานพื้นบ้านมาเล่าใหม่ เขาก็เริ่มแต่งนิทานเอง แล้วก็เติมความเศร้าหรือน่ากลัวเข้าไป เสริมด้วยจินตนาการเพ้อฝันและลีลาภาษาพูดเรียบง่าย เพื่อย้อมความหวานซึ้งให้กับคติของเรื่อง ‘ต้นสน’ (1845) เป็นเรื่องหนึ่งอันเป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุด เช่นเดียวกับ ‘เด็กหญิงไม้ขีดไฟ’ ‘เงือกน้อย’ ‘ราชินีหิมะ’ ‘ไนติงเกล’ ‘กล่องชุดจุดไฟ’ … และแน่นอน ‘ลูกเป็ดขี้เหร่’ และ ‘ชุดใหม่ของจักรพรรดิ’ (‘แต่พระองค์ไม่ทรงสวมอะไรเลยสักชิ้น!’)

กาลครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2348 มีชายชาวเดนมาร์ก ผู้ซึ่งเป็น นักเขียนบทละครพื้นๆ กวีฝีมือธรรมดา นักเขียนนวนิยายชั้นดี นักเขียนเรื่องท่องเที่ยวชั้นเลิศ และนักเขียนนิทานเยี่ยมยอดไร้ที่ติ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในช่วงชีวิตของเขา ๆ ได้รังสรรค์ผลงานนิทานเลื่องชื่อหลายเรื่อง อาทิเช่น the little mermaid หรือนางเงือกน้อย สาวน้อยไม่ขีดไฟ ลูกเป็ดขี้เหร่ ฯลฯ ซึ่งเชื่อแน่ว่าเพื่อน ๆ ที่กำลังอ่านอยู่ในขณะนี้อาจเคยสัมผัสผลงานของเขามาก่อนก็ได้ และเขาผู้นั้นคือ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ราชานักเขียนแห่งโลกนิทาน โดยวันนี้ (2 เมษายน 2553) เป็นวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 205 ปีของ Hans Christian Andersen จึงเป็นที่มาของโลโก้ google ที่สวยงามตามตัวละครในนิทานเรื่องดังของเขานั่นเอง

สำหรับ ประวัติ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen อาจเรียกได้ว่าเขาเป็นคนที่มีชีวิตอันน่าเศร้า Hans Christian Andersen ถือกำเนิดขึ้นในชุมชนแออัด เมืองโอเดน ประเทศเดนมาร์ก เขาไม่ได้รับการศึกษาเช่นเด็กคนอื่น ๆ เพราะครอบครัวมีฐานะยากจน เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาได้มีโอกาสชมละครของคณะมหาอุปราชหลวง เพราะรู้จักกับคนขายตั๋วจึงได้นั่งชมการแสดงนั้นอยู่ห่าง ๆ และเกิดหลงเสน่ห์ในโลกของละครจนอยากโลดแล่นในวงการนี้ เมื่อมีความฝันอันแน่วแน่ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen จึงเดินทางออกจากบ้านตอนอายุ 14 ปี ด้วยเงินติดตัวที่มีอันน้อยนิด เพื่อหวังจะมีชื่อในงานละคร แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในขณะนั้น ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen เพิ่งจะเริ่มแตกเนื้อหนุ่ม หน้าตาไม่ได้เรื่อง แถมยังผอมเก้งก้าง การจะได้เข้าร่วมในฐานะนักแสดงประจำคณะละคร จึงลำบากไม่น้อย ทว่าโชคชะตาก็ดูเหมือนก็จะเข้าข้างเขาอยู่บ้าง จู่ ๆ วันหนึ่ง ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ก็ได้พบกับ โยนาส คอลลิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และบุคคลผู้นี้ได้รับเขาไปอุปถัมภ์พร้อมให้ได้รับการศึกษา แม้จะเป็นปมด้อยอย่างมากที่ต้องไปร่วมชั้นเรียนกับเด็กรุ่นน้อง แต่ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ก็สามารถคว้าใบปริญญาตรี มาครองได้สำเร็จ ตอนอายุ 23 ปี หลังจากเรียนจบ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ก็เริ่มลงมือเขียนงานและออกหนังสือ ซึ่งหนังสือเล่มแรกของเขาถูกวิจารณ์เละเทะไม่เป็นท่า โดยถูกโขกสับว่าห่วยแตกยิ่งกว่าก็อปปี้นักเรียนรุ่นพี่ แต่คุณภาพต่ำกว่ามาก ทำให้ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen รู้สึกเสียใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเขาค่อนข้างอ่อนไหวกับคำติชม แต่เหมือนชีวิตจะยังเศร้าไม่พอ นอกจากเรื่องงานจะไม่ประสบความสำเร็จ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ยังอาภัพในความรัก หลงรักหญิงสาวคนใด เขาก็ไม่เล่นด้วย หรือแม้กระทั่งชอบพอกับลูกสาวผู้อุปถัมภ์ แต่แน่นอนว่าคง รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง คงไม่ต้องการให้ลูกสาวตัวเองแต่งงานกับคนที่เขาชุบเลี้ยงมา ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen จึงต้องเสียใจครั้งแล้วครั้งเล่า ว่ากันว่า ความเศร้ามากมายในความรักนี้เอง ที่ทำให้เขาสร้างสรรค์ผลงานนิทานสำหรับเด็กออกมามากมาย และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งจุดเด่นของผลงานของเขาคือ จินตนาการอันเพ้อฝันและภาษาที่เรียบง่าย โดยนิทานเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก คือ เจ้าหญิงเงือกน้อย เด็กขายไม่ขีดไฟ ต้นสน ชุดใหม่ของจักรพรรดิ ราชินีหิมะ ไนติงเกล และลูกเป็ดขี้เหร่ ซึ่งเรื่องหลังนี้ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen แต่งขึ้นเพราะผู้คนมักจะเปรียบเทียบว่าเขานั้นเป็นลูกเป็ดขี้เหร่บ่อย ๆ แม้ชีวิตของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen จะดูน่าเศร้า แต่เขาก็ได้สร้างรอยยิ้มและความเพลิดเพลินอันมากล้นให้แก่ผู้คนทั่วโลกจากจินตนาการที่ส่งผ่านความคิดสู่ปลายปากกาออกมาเป็น หนังสือนิทาน จนนำไปสู่ การสร้างเป็นการ์ตูน นิทานภาพ ละครเวที นับครั้งไม่ถ้วน และเป็นไอดอลให้นักเขียนรุ่นใหม่ทั่วโลก และนี่คือเรื่องราวชีวิตของ เจ้าของนิทานอมตะ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน Hans Christian Andersen ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่า ราชาแห่งนิทานและเทพนิยาย ที่นำมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

ผลงานนิทาน

The Angel
The Bell
ชุดใหม่ของพระราชา The Emperor's New Clothes
The Emperor's Nightingale
The Fir Tree
เด็กหญิงขายไม้ขีดไฟ The Little Match Girl
เงือกน้อย The Little Mermaid
The Real Princess
รองเท้าสีแดง Red Shoes
ราชินีหิมะ The Snow Queen
The Steadfast Tin Soldier
The Swineherd
ทัมเบลีน่า Thumbelina
ลูกเป็ดขี้เหร่ The Ugly Duckling
The Old House
The Happy Family
The Story of a Mother
The Shadow
The Dream of Little Tuk
Wild Swans

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คาร์ล มาร์กซ์


คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์

คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ (อังกฤษ: Karl Heinrich Marx) เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลอย่างสูงชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์การเมือง และยังเป็นนักปฏิวัติ มาร์กซ์ไม่ใช่เป็นแค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล (International Workingmen's Association - เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "องค์กรสากลที่ 1") แม้ว่าในอาชีพของมาร์กซ์ เขาได้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในลักษณะของนักข่าว และนักปรัชญา ผลงานหลักของเขาคือบทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่มองผ่านทางการปะทะกันระหว่างชนชั้น โดยกล่าวสั้น ๆ ได้ดังคำนำในหนังสือคำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ว่า: "ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหมดที่ผ่านมาล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น" งานเขียนของเขาเป็นแกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์, สังคมนิยม, ลัทธิเลนิน, และลัทธิมาร์กซ

ประวัติ

วัยเด็ก
คาร์ล มาร์กซ์ เกิดในครอบครัวชาว
ยิวหัวก้าวหน้าในเมืองเทรียร์แคว้นปรัสเซีย (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) พ่อของเขา เฮอร์เชล ผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นราไบ ทำอาชีพทนาย ชื่อสกุลเดิมของมาร์กซคือ มาร์กซ์ เลวี ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า มาร์โดไค ในปี ค.ศ. 1817 พ่อของมาร์กซ์ได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐปรัสเซีย เพื่อรักษาอาชีพทนายเอาไว้ ครอบครัวมาร์กซเป็นครอบครัวเสรีนิยม และได้รับรองแขกที่เป็นนักวิชาการและศิลปินหลายคนในสมัยที่มาร์กซ์ยังเป็นเด็ก

การศึกษา

มาร์กซ์ได้คะแนนดีใน ยิมเนเซียม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลายของรัฐปรัสเซีย เขาได้รางวัลจากวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลายที่มีชื่อว่า "ศาสนา: กาวที่เชื่อมต่อสังคมเข้าด้วยกัน" งานชิ้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาต่อไปในภายหลัง
มาร์กซเข้าเรียนที่
มหาวิทยาลัยแห่งเมืองบอนน์ในปี ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2376) เพื่อศึกษากฎหมาย ตามคำเรียกร้องของบิดา ที่บอนน์เขาเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ (และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม) ผลการเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ ปีถัดไปพ่อของเขาจึงให้เขาย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม (Friedrich-Wilhelms-Universität) ที่เอาจริงเอาจังด้านการวิชาการมากขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้คือมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ทแห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin)

มาร์กซและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่
ที่เบอร์ลิน มาร์กซ์เริ่มหันไปสนใจ
ปรัชญาท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่มีอายุไม่มากที่เป็นที่รู้จักในชื่อ "กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่" (Young Hegelians) ซึ่งนำโดยบรูโน บาวเออร์ (Bruno Bauer) สมาชิกหลายคนในกลุ่มพยายามโยงปรัชญาแนวหลังอริสโตเติลเข้ากับปรัชญาหลังเฮเกิล มักซ์ สเตอร์เนอร์ สมาชิกกลุ่มเฮเกิลรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง นำการวิพากษ์แบบเฮเกิลมาใช้เพื่อสร้างคำอธิบายที่แทบจะเป็นแบบสุญนิยม ว่าสุดท้ายแล้วอีโกนิยมคือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของแทบทุกคนในกลุ่ม และมาร์กซ์ได้โต้แนวคิดนี้บางส่วนใน Die Deutsche Ideologie (อุดมการณ์เยอรมัน)
เกออร์ก เฮเกิล (Georg Hegel) เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานในปีค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) และในช่วงชีวิตของเขานั้น ได้เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีมาก กลุ่มที่เชื่อแนวคิดแบบเฮเกิล (รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มเฮเกิลขวา) เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และสังคมปรัสเซีย ที่ถึงพร้อมด้วยการบริการพลเมือง มหาวิทยาลัยที่ดี การพัฒนาทางอุตสาหกรรม และอัตราการจ้างงานที่สูง เป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ที่มาร์กซ์สังกัดอยู่ด้วยนั้นเชื่อว่ายังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้น ยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และกลุ่มคนที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอร์ยังคงโดยกีดกันทางสังคม
มาร์กซ์ถูกเตือนมิให้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์ม เนื่องจากคาดว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับที่นั่นเนื่องจากชื่อเสียงของมาร์กซ ว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ มาร์กซจึงส่งวิทยานิพนธ์ของเขา ที่เปรียบเทียบทฤษฎีทางด้านอะตอมของ
ดิโมคริตัสกับอีพิคารุสไปยังมหาวิทยาลัยเจนา ในปีค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มาร์กซจบการศึกษา
อาชีพ
เมื่อบาวเออร์อาจารย์ของเขาถูกขับออกจากภาควิชาปรัชญาในปี ค.ศ. 1842 (
พ.ศ. 2385) มาร์กซ์จึงเลิกสนใจปรัชญาและหันเหความสนใจไปยังการเป็นนักข่าว เขาได้เข้าทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung หนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าของเมืองโคโลญน์ อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เล่มนั้นโดนสั่งปิดในปี ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) ซึ่งเป็นผลบางส่วนจากความขัดแย้งระหว่างมาร์กซกับมาตรการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์กซ์กลับไปสนใจปรัชญา และหันไปเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมกับทำงานเป็นนักข่าวอิสระ ไม่นานมาร์กซ์ก็ต้องเดินทางลี้ภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่มาร์กซ์ต้องกระทำอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากการแสดงความเห็นแบบถอนรากถอนโคนของเขา
มาร์กซเดินทางไปยัง
ประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นเอง เขาได้ขบคิดเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับบาวเออร์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ และได้เขียนบทความ ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) ซึ่งเป็นบทวิพากษ์แนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการปลดปล่อยทางการเมือง ที่ปารีสเขาได้พบ ฟรีดริช แองเจิลส์ ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมงานกับมาร์กซไปตลอดชีวิตของเขา แองเจิลส์ได้กระตุ้นให้มาร์กซ์สนใจสถานการณ์ของชนชั้นทำงาน และช่วยแนะนำให้มาร์กซ์สนใจเศรษฐศาสตร์ เมื่อเขาและแองเจิลส์ถูกภัยการเมืองอีกครั้งอันเนื่องมาจากงานเขียน เขาย้ายไปยังเมืองปรัสเซล ประเทศเบลเยียม
พวกเขาได้ร่วมกันเขียนบทความชื่อ อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาของเฮเกิลและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ หลังจากนั้นมาร์กซ์เขียน ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy) ซึ่งวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส บทความทั้งสองวางรากฐานให้กับ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) อันเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของมาร์กซ์และแองเจิลส์. หนังสือ คำประกาศเจตนา ซึ่งสมาพันธ์คอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาร์กซ์ได้พบที่ลอนดอนได้ร้องขอให้เขียน ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)
ปีนั้นเอง ใน
ยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และได้เชิญมาร์กซ์กลับปารีส ต่อมาหลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) มาร์กซ์ได้ย้ายกลับไปยังโคโลญน์ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมาร์กซ์จึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ขณะที่อยู่ที่ลอนดอนนั้น มาร์กซ์ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน (New York Tribune) ระหว่างปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ถึง 1861 (พ.ศ. 2404) ในปี ค.ศ. 1852 นั้นเอง มาร์กซ์ได้เขียนแผ่นพับ การปฏิวัติของหลุยส์ โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte) เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส) เข้ายึดอำนาจรัฐในประเทศฝรั่งเศสและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
สากลที่หนึ่ง และคำพูดของแกลดสโตน
ในปีค.ศ. 1863 (
พ.ศ. 2406) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ วิลเลียม อีวาร์ท แกลดสโตนได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สภาผู้แทน โดยเขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของประเทศอังกฤษและได้เพิ่มเติม (ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ ไทมส์) ว่า "ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบายและที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไรจากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น" แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสโตนได้ลบประโยคสุดท้ายออก ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา
ในปี ค.ศ. 1864 (
พ.ศ. 2407) มาร์กซ์ได้ก่อตั้งสมาคมกรรมกรสากล ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าองค์การสากลที่หนึ่ง เพื่อเป็นแกนหลักในการทำกิจกรรมทางการเมือง ในคำสุนทรพจน์เปิดงานนั้น มาร์กซ์ได้อ้างถึงคำพูดของแกลดสโตนไปในทำนองที่ว่า "การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น" เขายังอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ ว่าด้วยทุน ไม่นานนักความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มาร์กซอ้างกับที่มีบันทึกไว้ในรายงาน (ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของแนวร่วมระหว่างประเทศ มาร์กซ์พยายามจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นก็กลับมาเรื่อยๆ
ในภายหลังมาร์กซ์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์
แองเจิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ว่าด้วยทุน เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ แองเจิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมาร์กซิเช่นนักข่าว
พอล จอห์นสัน ยังคงใช้เรื่องนี้ในการกล่าวหามาร์กซ์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
ช่วงปลายชีวิตของมาร์กซ์

ที่ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของแกลดสโตนนี้ มาร์กซ์ได้ทุ่มเทเวลาไปกับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนหนังสือ ว่าด้วยทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital). มาร์กซ์ตีพิมพ์เล่มแรกของชุดในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410) , สำหรับอีกสองเล่มที่เหลือนั้น มาร์กซ์ไม่ได้เขียนให้เสร็จสิ้น แต่ได้รับการเรียบเรียงโดยแองเจิลส์จากบันทึกและร่างต่าง ๆ และตีพิมพ์หลังจากที่มาร์กซ์เสียชีวิตลงแล้ว
ช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนนั้น ครอบครัวของมาร์กซ์ค่อนข้างยากจน และยังต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากแองเจิลส์เป็นระยะ ๆ มาร์กซ์เสียชีวิตที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1883 (
พ.ศ. 2426) ศพของเขาฝังที่สุสานไฮห์เกต (Highgate Cemetery) ที่ลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกไว้ว่า: "กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น จงรวมพลัง!" ("Workers of all lands, unite!")
ชีวิตสมรส
เจนนี ฟอน เวสฟาเลน ผู้เป็นภรรยาของมาร์กซ์ มาจากครอบครัวราชการ ลุงของเธอคือไลออน ฟิลิปส์ บิดาของพี่น้องเจอราร์ดและแอนตันผู้ก่อตั้งบริษัท
ฟิลิปส์ในปีค.ศ. 1891 ครอบครัวมาร์กซมีลูกหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เอลินอร์ มาร์กซลูกสาวของพวกเขา (1855-1898) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเทและช่วยแก้ไขงานของพ่อของเธอ เจนนี มาร์กซเสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424)

แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดของมาร์กซ์
ความคิดของมาร์กซนั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิด
วิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และเศรษฐศาสตร์การเมืองของแอดัม สมิท (Adam Smith) และเดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล
ปรัชญาของมาร์กซ (ที่เฮเกล เรียกว่า
วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี (dialectic) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis → synthesis (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มาร์กซยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นเป็นนักปรัชญาแนวจิตนิยม ส่วนมาร์กซนั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกลนั้น มาร์กซได้รับอิทธิพลมาจาก
ลุควิก ฟอยเออร์บาค (Ludwig Feuerbach). ในหนังสือ "The Essence of Christianity" ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่าพระเจ้านั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของความเป็นมนุษย์นั่นเอง. มาร์กซยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาร์กซจะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาร์กซยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกลของมาร์กซ คือ หนังสือที่เขียนโดย
ฟรีดริช แองเจิลส์ (Friedrich Engels) ชื่อว่า "The Condition of the Working Class in England in 1844" (สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844) หนังสือเล่มนี้ทำให้มาร์กซมองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ

ปรัชญาของมาร์กซ
แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ
แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาร์กซแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:
แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง.
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
มาร์กซสืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาร์กซิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
มาร์กซไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง
ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่งๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาร์กซแล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม
ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่ม
ชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหา
ความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเจิลส์เรียกว่า
สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเจิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมาร์กซและเองเจิลส์) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"
ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน
แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
เราสามารถสรุปแนวคิดของคาร์ล มาร์กซได้คร่าวๆดังนี้
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับนาย ไพร่กับผู้ดี นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนนึงเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง
โลกของนายทุน ในโลกปัจจุบันเกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทในสังคมมาก ได้แก่พวกนายทุน นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทาง
เศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย
พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น
นายทุนเป็นพวกไร้
ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน
ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และ กรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้
ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบอบคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างทรัพย์สินส่วนตัว เพราะสิ่งนี้คือ สัญลักษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน