หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โทมัส เอดิสัน ยอดนักประดิษฐ์


โทมัส อัลวา เอดิสัน โทมัส เอดิสัน(Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน
เอดิสัน เกิดเมื่อวันที่
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 ที่เมืองมิลาน (Milan) รัฐโอไฮโอ เป็นลูกคนที่ 7 และคนสุดท้าย ของนายแซมมวล เอดิสัน (Samuel "The Iron Shovel" Edison, Jr.) และนางแนนซี แมทธิวส์ เอลเลียต (Nancy Matthews Elliott) ขณะที่เขาเกิด บิดาของเขามีอายุ 43 ปี และมารดาของเขามีอายุ 37 ปี ในวัยเด็ก ทุกคนมักเรียกเอดิสันว่า "อัล" ในวัยเด็กเขาเป็นคนที่สนใจในเรื่องรอบตัว และชอบถามคนอื่นๆ ให้เกิดความเข้าใจ และนอกจากนี้ เขายังชอบทดลองทำอะไรด้วยตนเอง
ค.ศ. 1853 ขณะอายุ 6 ปี นิสัยชอบทดลองของเอดิสันก็นำความเดือดร้อนมาให้เขา เมื่อเขาทดลองเกี่ยวกับไฟด้วยตนเอง จนทำให้เกิดไฟไหม้ และถูกบิดาทำโทษต่อหน้าสาธารณชน เพราะถ้าไฟถูกดับช้ากว่านี้ ไฟอาจลามไปในตัวเมืองได้ ยิ่งบ้านเมืองสมัยนั้นที่ใช้ไม้ในการสร้างด้วย หากไฟลามเข้าตัวเมืองได้ ก็อาจเป็นหายนะอย่างใหญ่หลวง แต่โชคดีที่ชาวบ้านช่วยกันดับไฟได้ทัน
ค.ศ. 1854 ครอบครัวเอดิสันย้ายมาอยู่ที่พอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน
ค.ศ. 1855 เอดิสันเข้าเรียนในชั้นประถมขณะอายุ 8 ปี เป็นโรงเรียนเล็กๆในโบสถ์ มีนักเรียนเพียง 48 คน มีครูเพียงสองคนคือ นายเอ็งเกิล และนางเอ็งเกิล (Engle) แต่ด้วยความที่เอดิสันมีมีนิสัยสนใจในสิ่งรอบตัว ไม่ใช่เนื้อหาในตำราคร่ำครึ สิ่งที่เขาสนใจถามครูจึงไม่ใช่เรื่องที่ครูสอน แต่เป็นเรื่องนอกตำรา นายและนางเอ็งเกิล จึงมักเรียกเขาว่าเป็นเด็กที่หัวขี้เลื่อย เมื่อมารดาทราบเรื่อง จึงไปพูดคุยกับคุณครูที่โรงเรียน หลังการพูดคุย เอดิสันต้องออกจากโรงเรียน โดยมารดาของเขาจะเป็นผู้สอนเอดิสันด้วยตนเอง หลังจากเข้าโรงเรียนได้ 3 เดือนเท่านั้น
เอดิสัน ชื่นชอบหนังสือนอกเวลาเล่มหนึ่ง ซึ่งมีภาพและเนื้อหาการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านทดลองเองได้ เขามีความสนใจที่จะทำการทดลองในหนังสือ ใน
ค.ศ. 1857 พ่อและแม่ของเขาจึงสร้างห้องใต้ดินเพื่อให้เอดิสันได้ทำการทดลองต่างๆ ในหนังสือ และเขาก็ได้ทำการทดลองมากมายในห้องใต้ดินนั้น
ค.ศ. 1859 เอดิสันทำงานหารายได้พิเศษโดยการขายลูกอมและหนังสือพิมพ์บนรถไฟ
ค.ศ. 1860 เอดิสันประสบอุบัติเหตุซึ่งส่งผลให้การได้ยินของเขาเสื่อมลง นับแต่นั้นเขาได้ยินเฉพาะเสียงดังๆ เท่านั้น หลังจากนั้นไม่นาน เขาได้ขอสร้างห้องทดลองขึ้นบนรถไฟ
ค.ศ. 1862 เอดิสันเป็นบรรณาธิการข่าวของหนังสือพิมพ์ เดอะวีคลี่เฮรัลด์ ต่อมาสักพักก็เลิกทำ หลังจากนั้นก็เกิดอุบัติเหตุบนห้องทดลองในรถไฟ ทำให้เอดิสันไม่ได้รับอนุญาตให้มีห้องทดลองบนรถไฟอีก ในปีเดียวกัน เขาก็เริ่มศึกษาเรื่องการใช้โทรเลข
ค.ศ. 1863 เอดิสันเข้าเป็นพนักงานส่งโทรเลข เขาเปลี่ยนบริษัทบ่อยมาก ในปีเดียว เขาเปลี่ยนบริษัททำงานถึง 4 ครั้ง ตามสถานที่ต่างๆ ในอเมริกาและแคนาดา
ค.ศ. 1864 เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกการนับคะแนน และยื่นขอจดสิทธิบัตร แต่เครื่องนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน
ค.ศ. 1869 เขาเดินทางไปยังนิวยอร์ก และเปิดบริษัทวิศวกรไฟฟ้าขึ้น บริษัทนี้ถอว่าประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง
ค.ศ. 1871 สร้างอาคารซึ่งเปิดเป็นโรงงานและศูนย์วิจัยในตัวขึ้น และในปีนั้น เขาพบรักและแต่งงานกับ แมรี สติลเวลล์ (Mary Stilwell) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสัน 8 ปี และ ในปีนั้น แนนซีผู้เป็นมารดาของเอดิสัน เสียชีวิตลงในวัย 61 ปี
ค.ศ. 1876 สร้างอาคารโรงงานและศูนย์วิจัยใหม่ที่เมนโลพาร์ก (Menlo Park) รัฐนิวเจอร์ซี และเริ่มลงมือประดิษฐ์โทรศัพท์ แต่ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ คิดค้นขึ้นได้ก่อน
ค.ศ. 1877 เอดิสันประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงขึ้น และฉายา พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก ก็ได้มาจากการที่เขาประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียงนี้
ค.ศ. 1878 เอดิสันเริ่มศึกษาคนคว้าคิดจะทำหลอดไฟ เพราะไฟส่องสว่างในสมัยนั้นสามารถก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย
ค.ศ. 1879 ประดิษฐ์หลอดไฟไส้คาร์บอนสำเร็จ และเริ่มออกแบบสวิตช์เปิด-ปิดหลอดไฟให้ติดตั้งในบ้านเรือนได้ง่าย นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลอดไฟในโลกนี้
ค.ศ. 1880 เปลี่ยนไส้หลอดไฟจากคาร์บอนเป็นไม่ไผ่ญี่ปุ่น เพราะหลอดคาร์บอน ส่องสว่างได้นาน 40 ชั่วโมง แต่หลอดไม้ไผ่ญี่ปุ่น ส่องสว่างได้ถึง 900 ชั่วโมง
ค.ศ. 1882 สร้างโรงจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นที่นิวยอร์ก และเริ่มประกาศเทคโนโลยีหลอดไฟให้เป็นที่รู้จัก
ค.ศ. 1883 เขาประดิษฐ์หลอดไฟรุ่นใหม่ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปได้ ทำให้หลอดไฟแพร่กระจายไปตามจุดต่างๆของโลกเร็วขึ้น
ค.ศ. 1884 แมรี ภรรยาของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรคไทฟอยด์ในวัย 29 ปี
ค.ศ. 1886 เอดิสันแต่งงานใหม่กับมินา มิลเลอร์ (Mina Miller) ผู้มีอายุน้อยกว่าเอดิสัน 19 ปี
ค.ศ. 1891 ประดิษฐ์เครื่องถ่ายภาพตัดต่อสำเร็จ บันทึกภาพเคลื่อนไหว ซึ่งนำไปสู่การสร้างภาพยนตร์
ค.ศ. 1893 สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก
ค.ศ. 1894 ภาพเคลื่อนไหวเรื่องแรกของโลกถูกสร้างขึ้น มีชื่อว่า "บันทึกการจาม" แต่ยังไม่มีเสียง
ค.ศ. 1896 บิดาของเอดิสันเสียชีวิตลงในวัย 92 ปี และในปีนั้น เอดิสันรู้จักกับเฮนรี ฟอร์ด ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็เป็นเพื่อนซี้กัน
ค.ศ. 1898 เริ่มประดิษฐ์แบตเตอรี่ และประดิษฐ์สำเร็จใน ค.ศ. 1909
ค.ศ. 1912 เกิดการใช้เครื่องถ่ายภาพตัดต่อและเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกัน ทำให้เกิดเป็น "ภาพยนตร์" ที่มีทั้งภาพและเสียง
หลังจากนั้น เขาถูกนักข่าวรุมถามเสมอว่า เอดิสันคิดอย่างไรกับการที่คนทั่วไปเรียกเขาว่าอัจฉริยะ เขาตอบว่า คำว่าอัจฉริยะในความคิดของผม ประกอบด้วยพรสวรรค์เพียง 1% ส่วนอีก 99% มาจากความพยายาม
หลังจากนั้น เอดิสันใช้ชีวิตอยู่กับบ้าน และเสียชีวิตในวันที่
18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 ด้วยวัย 84 ปี ที่เวสต์ออเรนจ์ (West Orange) รัฐนิวเจอร์ซี
เอดิสัน นั้นกล่าวได้ว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่มีผลงานมากที่สุดในยุคนั้น เขามีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม นอกจากสิทธิบัตรของเขาซึ่งมีอยู่ทั่วโลกแล้ว เอดิสันก็ยังได้ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ ภายใต้ชื่อ Edison Trust
ในความเป็นจริงแล้ว เอดิสันไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์
หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย
นิตยสารไลฟ์ (Life) ได้ยกย่องให้เอดิสันเป็นหนึ่งใน "100 คนที่สำคัญที่สุดในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมา"

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พระยอดเมืองขวาง



คดีพระยอดเมืองขวาง ร.ศ.112
ในปาฐกถาของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ที่ราชนาวิกสภา วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๒ นั้นมีข้อความเป็นที่สะดุดใจอยู่ตอนหนึ่ง คือที่ทรงเล่าว่า เมื่อตกลงกันกับอังกฤษว่าเจ้าผู้ครองนครรัฐทั้ง ๔ เต็มใจจะให้อังกฤษปกครองโดยราชทูตอังกฤษถือจดหมายของผู้ครองนครทั้ง ๔ รัฐ ที่มีถึงรัฐบาลอังกฤษมาแจ้งแก่เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศแห่งพระราชอาณาจักรสยามแล้ว ก็มีการสำรวจเขตแดนที่มีชายแดนติดต่อกันอยู่นั้น เพื่อกำหนดเขตแดนให้เรียบร้อย
"เมื่อตกลงกันแล้ว เขาก็เรียกให้เราออกไปสำรวจเขตแดนซึ่งทางเขาขีดเส้นมาตามที่มีราษฎรพูดภาษามลายูอยู่ รวมทั้งปัตตานี นราธิวาส ตากใบ และยะลา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทย ทรงพิศูนน์ตามทางพงศาวดารว่า-คนที่อยู่ใน ๔ เมืองนี้เป็นไทย รากวัดของไทยก็ยังมีอยู่ ที่เรียกคนในท้องที่นี้ว่า พวกสามสามนั้น ก็คือ สยามอิสลาม เมื่อพูดเร็วๆก็เป็น สามสาม ไป พวกนี้ยังพูดไทยได้ทั้งนั้น เป็นแต่เมื่ออยู่ในแดนมลายูใกล้ชิดกันก็เลยเป็นอิสลามไป อังกฤษก็ยอมตามเหตุผล เราจึงคงได้ ๔ เมืองนี้ไว้ในพระราชอาณาจักรสยาม"
ทีนี้ขอเล่าเรื่องอันเกี่ยวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จไปทรงฉายพระบรมรูปคู่กันกับ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จไปทรงฉายพระบรมรูปคู่กัน กับสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัส ดังไปทั่วโลก คราวนั้นคือ ครั้นเมื่อเสด็จฯกลับมาแล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสก็ขอมายังรัฐบาลสยามให้ปล่อยตัวพระยอดเมืองขวาง ซึ่งถูกศาล (มีผู้พิพากษาฝรั่งเศส ๓ คน ผู้พิพากษาไทย ๒ คน) ตัดสินให้จำคุกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๗ (ร.ศ.๑๑๓ หลังเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒) โดยที่ในการขอให้ปล่อยตัว รัฐบาลฝรั่งเศสมิได้อ้างเหตุผล
พระยอดเมืองขวาง ผู้นี้ คนไทยถือว่า เป็นวีรบุรุษผู้หนึ่ง ในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ถึงสมัยนี้คงจะลืมเลือนกันไปบ้าง ส่วนคนหนุ่มสาวลงมาถึงเด็กทั้งวัยรุ่นและยังไม่รุ่นคงไม่รู้จักเอาเลย เพราะฉะนั้นไหนๆเล่าเรื่องเท้าความไปถึง ร.ศ.๑๑๒ จึงน่าจะเล่าอีกสักครั้งหนึ่ง สำหรับคนรุ่นหลังๆ ซึ่งอาจไม่เคยใส่ใจเลยว่า อันพระราชอาณาจักรสยามบนผืนแผ่นดินที่เราอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขไม่เคยเป็นาณานิคมเป็นข้าทาสใครเลยนั้น กว่าจะฝ่าฟันวิกฤตการณ์ต่างๆมาได้นั้น ต้องอาศัยพระปรีชา พระสติปัญญาของพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนความสามารถ ความกล้าหาญของขุนนางข้าราชการ ผู้รักชาติรักแผ่นดิน จนกระทั่งทุกผู้ทุกคนในพระราชอาณาจักรนี้ในทุกวันนี้ยืดคอได้อย่างภาคภูมิว่า เรา ไม่เคยเป็นข้าใครทั้งนั้น
เล่าถึง พระยอดเมืองขวาง โดยสรุป ท่านผู้นี้ชื่อว่า ขำ ติดมาในรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ยอดเพชร์เป็นบุตรชายของพระยาไกรเพชร์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เพราะท่านบิดารับราชการอยู่ที่นั่น พระยอดเมืองขวาง (ขำ) จึงรับราชการสังกัดมหาดไทย ได้เลื่อนตำแหน่งโดยลำดับ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยอดเมืองขวาง ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้าเมืองคำเกิดคำมวน ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ถือว่าเป็นพระราชอาณาเขตของสยามติดต่อกับชายแดนเวียดนาม เพราะลาวเป็นประเทศราชของสยามมานานช้า รวมทั้งเขมรด้วย ซึ่งบรรดาประเทศราชเหล่านี้ สยามให้มีเจ้านายปกครองกันเอง แต่ต้องส่งดอกไม้เงินทองปีละครั้งและเมื่อมีศึกเกิดขึ้นกับพระราชอาณาจักรสยาม ประเทศราชต้องช่วยรบ หากเกิดศึกกับประเทศราชสยามก็เข้าช่วยคุ้มครอง
เมืองคำเกิดคำมวนเป็นเมืองแฝด ส่วนมากมักเรียกแต่ว่า คำมวน ถือว่าเป็นพระราชอาณาเขตสยามเพราะเราส่งข้าราชการไปปกครองมาช้านานแล้ว ไม่ได้ให้เจ้าประเทศราชปกครอง ด้วยเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญชิดพรมแดนญวนที่จะพุ่งเข้าสู่นครพนมอาจตัดอีสานตอนบนได้หากถูกรุกล้ำ และราษฎรเมืองคำเกิดคำมวนนั้นเป็นชาว ผู้ไทย แทบทั้งหมด พระยอดเมืองขวาง เวลานั้นอายุ ๔๐ ปี เป็นข้าหลวงคำเกิดคำมวนอยู่ ๘ ปีแล้ว
ครั้นเมื่อฝรั่งเศสได้ญวณเป็นอาณานิคมแล้ว นายปาวี ที่เรียกกันต่อมาว่า ม.ปาวี ได้อ้างว่า เมื่อ ๕ ปี ก่อนโน้น (พ.ศ.๒๔๓๑) เขาได้สำรวจว่าดินแดนตรงนี้เคยเป็นของญวนมาแต่หลายร้อยปีแล้ว ทางฝรั่งเศสที่ปกครองญวนอยู่ จึงยกเข้ามาจะยึดเมืองคำเกิดคำมวน ให้พระยอดเมืองขวางมอบเมืองให้
พระยอดเมืองขวาง ก็ตอบไปว่าตนได้รับแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้มาเป็นข้าหลวงอยู่เมืองนี้ เพราะเป็นพระราชอาณาเขตสยาม จะมอบเมืองให้ไม่ได้หากมิใช่พระบรมราชโองการ
ฝรั่งเศสซึ่งมีกองทหารญวนเป็นกำลัง จึงล้อมที่ทำการเอาไว้ จนพากันอดข้าวอดน้ำ แล้วเข้าจับตัวพระยอดเมืองขวางกับข้าราชการทั้งปวง และยึดทรัพย์สมบัติไว้หมดทหารฝรั่งเศสที่เป็นผู้คุมตัวพระยอดเมืองขวาง และพรรคพวกนั้น ชื่อนายโกรกุธัง เมื่อจับพระยอดเมืองขวางมาถึงปลายด่านเมืองคำมวน นายโกรกุรังให้คุมตัวพระยอดเมืองขวางกับพรรคพวกไว้ที่ด่าน เอาตัวหลวงอนุรักษ์ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวางไปขังไว้ที่แก่งเจ๊กที่พักของตนอันมีทหารฝรั่งเศสกับทหารญวนเป็นกำลัง
ฝ่ายพระยอดเมืองขวางรู้ข่าวว่านายโกรกุรังจะมาจับตนไปด้วย จึงพากันลอบหนีลงเรือมาตามลำแม่น้ำโขง ถึงเวียงกระแส พบกับทหารไทยประมาณ ๑๐๐ คน ซึ่งหลวงวิชิตสรสาตร์ ข้าหลวงเมืองลาวพวนส่งมาช่วย มีนายร้อยโททุ้ย และนายร้อยโทแปลก คุมมา จึงพากันมาช่วยหลวงอนุรักษ์ก่อน เมื่อมาถึงก็ขอตัวหลังงอนุรักษ์ จากนายโกรกุรัง โดยพระยอดเมืองขวางและพวกทหารประมาณ ๑๘ คน ยืนอยู่ห่างจากเรือนที่ขังหลวงอนุรักษ์ประมาณ ๘ วา
ขณะนายโกรกุรัง ยืนจับแขนหลวงอนุรักษ์อยู่บนเรือนพัก หลวงอนุรักษ์ก็สะบัดหลุดโดดหนีวิ่งลงมาหาพระยอดเมืองขวาง ก็มีคนยิงปืนลงมาจากบนเรือนโดนทหารไทยตาย ๑ ล้มลงอีกหลายคน นายร้อยโททุ้ย นายร้อยโทแปลกจึงร้องว่า ต้องยิงต่อสู้บ้าง พระยอดเมืองขวางจึงร้องสั่งให้ต่อสู้ ทหารญวนก็พากันเข้าแถวยืนอยู่หน้าเรือนกับหลังเรือนยิงต่อสู้กับทหารไทย
เมื่อสิ้นเสียงปืนแล้ว พระยอดเมืองขวางกับทหารไทยทั้งหมดก็ลงเรือล่องมาถึงเวียงกระแส ปรากฏว่าทหารไทยตาย ๖ คน บาดเจ็บ ๔ คน และขุนวังซึ่งเป็นข้าราชการเมืองคำเกิดคำมวนก็ถูกกระสุนปืนตายด้วย ส่วนทหารญวนตาย ๑๑ คน ฝรั่งเศสเจ็บ ๓ คน
เรื่องนี้ทำให้ฝรั่งเศส ยื่นคำขาดเอากับไทยว่า "เจ้าพนักงานไทย จะต้องเอาต้นคิดให้รบฝรั่งเศสที่ทุ่งเชียงคำและที่คำมวนนั้นมาชำระ และผู้แทนกรุงฝรั่งเศสผู้หนึ่งจะมานั่งกำกับการชำระอยู่ด้วย และต้องกำกับดูแลการลงโทษแก่คนผิด รัฐบาลฝรั่งเศสจะพิเคราะห์ดูว่า การลงโทษคนเหล่านั้นจะพอหรือไม่ และถ้ามีเหตุอันสมควรแล้ว ก็จะขอให้ศาลซึ่งรวมผู้พิพากษาหลายคนนั่งชำระใหม่อีก และรัฐบาลฝรั่งเศสจะเลือกตั้งผู้พิพากษาเหล่านี้เอง" ในเมื่อเสียงข้างมากเป็นของผู้พิพากษาฝรั่งเศสพระยอดเมืองขวางจึงแพ้คดี ถูกตัดสินจำคุก ๒๐ ปี เมื่อถูกจำนั้น ม.ปาวีได้เข้าไปดูแลให้จองจำครบห้าประการคือใส่ขื่อคามือเท้า อย่างนักโทษอุกฉกรรจ์ และมักเข้าไปดูเสมอ เมื่อเข้าไปดูผู้คุมก็จะจองจำครบ แต่เมื่อไปแล้ว พระยอดเมืองขวางก็จะถูกถอดจากจองจำพระยอดเมืองขวางถูกขังอยู่ในคุกเพียง ๔ ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จฯ กลับจากประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๔๐ ก็ได้รับการปล่อยตัวดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินบำนาญให้เป็นพิเศษถึงเดือนละ ๕๐๐ บาท แต่ท่านรับพระมหากรุณา อยู่เพียง ๒-๓ ปี ก็ล้มป่วยสิ้นชีวิตเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ อายุเพียง ๔๘ ปี
จากคดีพระยอดเมืองขวางนี้ นอกจากความกล้าหาญ ความรักศักดิ์ศรีของพระยอดเมืองขวางแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าจะจดจำถึงคุณธรรม และน้ำใจลูกผู้ชายทั้งของพระยอดเมืองขวาง และทหารหาญอีกสองนาย คือนายร้อยโททุ้ย และนายร้อยโทแปลก ซึ่งขณะที่พระยอดเมืองขวางขึ้นศาลนั้นทนายของพระยอดเมืองขวาง ซักถามว่าในการเกิดยิงกันขึ้นนั้นพระยอดเมืองขวางไม่น่าจะต้องรับผิดชอบเพราะเป็นการกระทำของฝ่ายทหาร แต่เมื่อนายทหารทั้งสองขึ้นให้การต่างก็ยืนยันว่าเขาทั้งสองเป็นผู้สั่งให้ยิง เพราะทหารนั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเขา พระยอดเมืองขวางจึงไม่อาจสั่งทหารของเขาได้ เขาจึงต้องเป็นผู้รับผิด แต่พระยอดเมืองขวาง ไม่ยอมให้นายทหารทั้งสอง รับผิด ยอมรับว่าเป็นผู้ผิดเอง เพราะมีอำนาจเท่ากับนายร้อยโททั้งสองในฐานะข้าหลวง นี้เรียกว่าท่านทั้งสามเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมหรือไม่ ในขณะที่คนไร้คุณธรรม มักฉวยเอาแต่ความรับชอบ หลีกลี้หนีความรับผิด ในการที่เรียกรวมกันว่า ความรับผิดชอบ ก็หมายความอยู่แล้วว่า ต้องรับทั้งความชอบ และต้องรับทั้งความผิด

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ยอดนักเขียนเเห่งยุคสมัย

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หรือชื่อเต็ม จอห์น โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (John Ronald Reuel Tolkien นามปากกาว่า J. R. R. Tolkien ) (3 มกราคม พ.ศ. 24352 กันยายน พ.ศ. 2516) เป็นกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์นิยายแฟนตาซีระดับคลาสสิค เรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
โทลคีนเข้าศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนคิงเอดเวิดส์ เมืองเบอร์มิงแฮม และจบการศึกษาระดับปริญญาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เข้าทำงานครั้งแรกในตำแหน่งอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยลีดส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2463 - 2468 ได้เป็นศาสตราจารย์สาขาแองโกลแซกซอน ตำแหน่ง Rawlinson and Bosworth Professor ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 - 2488 และได้เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีอังกฤษ ตำแหน่ง Merton Professor ตั้งแต่ พ.ศ. 2488 - 2502 โทลคีนได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งราชอาณาจักรบริเตน ระดับ Commander จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515[1]
โทลคีนนับเป็นชาวคาทอลิกที่เคร่งครัด เป็นสมาชิกของกลุ่มที่ชุมนุมเพื่อถกเถียงด้านวรรณกรรม ชื่อ อิงคลิงส์ (Inklings) และได้รู้จักสนิทสนมกับ ซี. เอส. ลิวอิส นักเขียนนวนิยายและวรรณกรรมเยาวชน เรื่องตำนานแห่งนาร์เนีย ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของอังกฤษ
หลังจากโทลคีนเสียชีวิต ลูกชายของเขา
คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้นำเรื่องที่บิดาของตนแต่งค้างไว้หลายเรื่องมาเรียบเรียงและตีพิมพ์ รวมถึงเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ชิ้นนี้ประกอบกับเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมกันได้สร้างให้เกิดโลกจินตนาการซึ่งกอปรด้วยเรื่องเล่า ลำนำ บทกวี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษาประดิษฐ์ ในโลกจินตนาการที่ชื่อว่า อาร์ดา และแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งเป็นฐานของงานประพันธ์ปกรณัมทั้งมวลของโทลคีน
แม้ว่านิยายแฟนตาซีจะมีกำเนิดมาก่อนหน้านั้นแล้ว ทว่าความสำเร็จอย่างสูงของ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ใน
สหรัฐอเมริกานำมาซึ่งกระแสความนิยมของนิยายแนวนี้ขึ้นมาใหม่ และทำให้โทลคีนได้รับขนานนามว่า บิดาแห่งวรรณกรรมแฟนตาซีระดับสูงยุคใหม่ (father of the modern high fantasy genre)[2] ผลงานของโทลคีนสร้างแรงบันดาลใจให้แก่งานแฟนตาซียุคหลังรวมถึงศิลปะแขนงอื่นที่เกี่ยวข้องมากมาย ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) นิตยสารไทมส์จัดอันดับโทลคีนอยู่ในลำดับที่ 6 ใน 50 อันดับแรกของ "นักประพันธ์ชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ยุคหลังปี



ประวัติ
[
แก้] ต้นตระกูล
บรรพชนของตระกูลโทลคีนส่วนใหญ่เป็นช่างไม้ มีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ใน
แซกโซนี ประเทศเยอรมนี แต่ได้อพยพย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 นามสกุลของโทลคีนได้เปลี่ยนมาจากภาษาเยอรมันคำว่า Tollkiehn (จากคำว่า tollkühn หมายถึง "มุทะลุ" รากศัพท์เดียวกับคำภาษาอังกฤษว่า dull-keen) มาเป็น Tolkien เพื่อให้เข้ากับภาษาอังกฤษ[4]
ส่วนตระกูลฝ่ายมารดาคือ ซัฟฟิลด์ ตากับยายของโทลคีนคือ จอห์น และ อีดิธ เจน ซัฟฟิลด์ เป็นคริสตชนแบ๊บติสต์พำนักอยู่ในเมืองเบอร์มิงแฮม เปิดร้านค้าอยู่ใจกลางเมืองเป็นอาคารชื่อว่า แลมบ์เฮ้าส์ ตระกูลซัฟฟิลด์เป็นตระกูลพ่อค้า มีกิจการค้าหลายอย่างนับแต่ยุคปู่ของตา คือวิลเลียม ซัฟฟิลด์ ที่เริ่มกิจการร้านหนังสือและเครื่องเขียนในปี ค.ศ.1812 ตาทวดและตาของโทลคีนสืบทอดกิจการมาตั้งแต่ปี 1826 รวมทั้งร้านเสื้อผ้าและเสื้อชั้นใน[5]



วัยเด็ก

โทลคีน และน้องชาย เมื่อปี ค.ศ. 1905
โทลคีนเกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) ที่เมืองบลูมฟอนเทน เมืองหลวงของจังหวัดฟรีสเตท
ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นบุตรของ อาเธอร์ รูเอล โทลคีน (พ.ศ. 2400-2439, ค.ศ. 1857–1896) นายธนาคารอังกฤษ กับภรรยา มาเบล นี ซัฟฟิลด์ (พ.ศ. 2413-2447, ค.ศ. 1870–1904) ทั้งสองต้องเดินทางไปจากอังกฤษเนื่องจากอาเธอร์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาบลูมฟอนเทน โทลคีนมีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ ฮิลารี อาเธอร์ รูเอล ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) ในวัยเด็กขณะที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาใต้ โทลคีนเคยถูกแมงมุมในสวนของเขากัด ต่อมาภายหลังเหตุการณ์นี้ได้ไปปรากฏอยู่ในงานเขียนของเขาด้วย[6]
เมื่ออายุได้ 3 ปี โทลคีนได้กลับไปประเทศอังกฤษกับแม่และน้องชายเพื่อพักฟื้นรักษาตัว ระหว่างนั้นเองพ่อของเขาเสียชีวิตลงด้วยโรคไข้อักเสบเรื้อรังก่อนจะทันเดินทางกลับอังกฤษมา ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ครอบครัวไม่มีรายได้ แม่ของเขาจึงต้องนำตัวเขากับน้องไปอยู่อาศัยกับตายายในเมืองเบอร์มิงแฮม หลังจากนั้นโทลคีนต้องย้ายบ้านไปมาหลายครั้ง เช่นไป Sarehole ไป Warcestershire และย้ายมาชานเมืองเบอร์มิงแฮมอีกครั้ง แม่ของโทลคีนต้องการให้เด็กๆ เติบโตมาในที่ชนบทอากาศดีเนื่องจากสุขภาพของพวกเขาไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นตลอดช่วงวัยเด็กโทลคีนได้เที่ยวเล่นอยู่ในเขตชนบทอันร่มรื่น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในงานประพันธ์ของเขาในเวลาต่อมา[6]
ความที่โทลคีนมีสุขภาพไม่ดี จึงไม่สามารถเข้าโรงเรียนตามปกติ มาเบลสอนหนังสือเด็กๆ ด้วยตัวเอง แต่พี่น้องตระกูลโทลคีนนี้ฉลาดหลักแหลมมาก แม่ของพวกเขาสอนเรื่องพฤกษศาสตร์ให้แก่พวกเขา ซึ่งทำให้ทั้งสองคนทราบข้อมูลเกี่ยวกับพืชได้ดีมาก โทลคีนยังชอบวาดรูปทิวทัศน์และหมู่ไม้ และมีฝีมือวาดที่ดีด้วย แต่สิ่งที่โทลคีนสนใจที่สุดคือศาสตร์ทางด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาลาติน ซึ่งเขาสามารถอ่านออกได้ตั้งแต่มีอายุเพียง 4 ปี และเขียนได้หลังจากนั้นอีกไม่นาน ปี พ.ศ. 2443 (ค.ศ.1900) เมื่อโทลคีนอายุได้ 8 ปี จึงได้เข้าโรงเรียนคิงเอ็ดเวิร์ด เนื่องจากความไม่เคร่งครัดเรื่องการหยุดเรียน แต่ค่าเล่าเรียนก็แพงมาก ปีเดียวกันนั้น แม่ของโทลคีนได้หันมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก ในขณะที่ครอบครัวของเธอเองได้คัดค้านอย่างรุนแรง และตัดขาดไม่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่เธออีก โทลคีนกับน้องจึงต้องย้ายไปโรงเรียนเซนต์ฟิลลิป ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่การเรียนการสอนก็ด้อยกว่ามาก ภายหลังมาเบลตัดสินใจให้โทลคีนย้ายกลับมาโรงเรียนคิงเอ็ดเวิร์ดอีกครั้งในปี ค.ศ.1903 โทลคีนสามารถสอบเข้าเรียนได้โดยการชิงทุน[6]
ครั้นถึง ปี ค.ศ.1904 เมื่อโทลคีนมีอายุได้ 12 ปี มาเบลก็เสียชีวิตลงด้วยโรคเบาหวาน ในยุคนั้นยังไม่มีอินซูลิน มาเบลในวัย 34 ปี จึงถือว่ามีชีวิตอยู่ได้ยาวนานมากแล้วโดยไม่มียารักษา นับแต่นั้นมาจนตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขารำลึกถึงแม่ในฐานะคริสตชนผู้มีศรัทธาแรงกล้า ซึ่งส่งอิทธิพลต่อเขาในการนับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเคร่งครัด[6]
หลังจากมาเบลเสียชีวิต โทลคีนกับน้องไปอยู่ในความดูแลของบาทหลวงฟรานซิส ซาเวียร์ มอร์แกน ตามความตั้งใจของแม่ เขาเติบโตขึ้นในย่าน Edgbaston ใกล้เบอร์มิงแฮม สภาพแวดล้อมในแถบนั้นเช่น หอคอยสูงทรงวิกตอเรียของโรงประปา Edgbaston อาจเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในการสร้างหอคอยทมิฬในงานเขียนของเขา หรือภาพเขียนยุคกลางของ Edward Burne-Jones หรืองานอื่นๆ ที่แสดงใน พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์แห่งเบอร์มิงแฮม ก็น่าจะมีส่วนอย่างมากต่องานเขียนของโทลคีน[6]
[แก้] วัยหนุ่ม

โทลคีนในปี 1911 ปีที่ก่อตั้งสมาคม T.C.B.S.
บาทหลวงฟรานซิส จัดให้สองพี่น้องโทลคีนอาศัยอยู่ที่บ้านเช่าแห่งหนึ่ง เวลานั้นโทลคีนมีอายุได้ 16 ปี ที่บ้านเช่าแห่งนี้เขาได้พบและตกหลุมรักกับเด็กสาว ผู้แก่วัยกว่าเขา 3 ปี นามว่า เอดิธ แมรี่ แบรท (Edith Mary Bratt) บาทหลวงฟรานซิสเกรงว่าเธอจะทำให้เขาเสียการเรียน และยังวิตกกับความเป็น
โปรแตสแตนท์ของเธอด้วย จึงสั่งห้ามให้เขาไปคบหาพูดคุยกับเธอจนกว่าโทลคีนจะมีอายุครบ 21 ปี ซึ่งโทลคีนก็ปฏิบัติตัวเช่นนั้นอย่างเคร่งครัด นอกจากด้วยความเคารพนับถือในตัวบาทหลวงแล้ว ยังด้วยเงื่อนไขด้านการศึกษาด้วย นั่นคือถ้าโทลคีนไม่สามารถสอบชิงทุนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดแล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้เรียนอีกเลย
ในปี
พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ขณะที่เรียนอยู่โรงเรียนคิงเอ็ดเวิร์ด เบอร์มิงแฮม โทลคีนและเพื่อนอีก 3 คน คือ รอบ กิลสัน, เจฟฟรี่ สมิธ และคริสโตเฟอร์ ไวส์แมน ได้ตั้งสมาคมลับ the T.C.B.S. ย่อมาจาก Tea Club and Barrovian Society ซึ่งมีที่มาจากการชื่นชอบดื่มน้ำชาของทั้งสี่ ในร้านบาร์โรว์ (Barrow's Stores) ระหว่างที่ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์ให้ห้องสมุดของโรงเรียน ถึงแม้จะออกจากโรงเรียนแล้วพวกเขาก็ยังติดต่อกันอยู่เหมือนเดิม และในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ทั้งสี่ก็ได้มารวมตัวประชุมกันอีกครั้งที่บ้านไวส์แมน สำหรับโทลคีนแล้ว การพบกันครั้งนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างมากในการประพันธ์บทกวี[6]
ฤดูร้อนปี 1911 โทลคีนได้ไปเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในจดหมายฉบับหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1968 (เป็นเวลาผ่านไปถึง 57 ปี) ว่า การผจญภัยของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ในเทือกเขามิสตี้ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มาจากการเดินทางของเขาในเทือกเขาแอลป์คราวนั้น และยอดเขาจุงเฟรา กับซิลเบอร์ฮอร์น ก็เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างยอดเขาซิลเวอร์ไทน์ (เคเล็บดิล) นั่นเอง[7]
ปลายปี 1911 โทลคีนสามารถสอบชิงทุนเข้าเรียนในวิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ได้สำเร็จ เขาเลือกเรียนสาขาวิชาประวัติศาสตร์ภาษา และได้อ่านบทแปลภาษาอังกฤษของมหากาพย์ฟินแลนด์เรื่อง คาเลวาลา เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการศึกษาภาษาฟินแลนด์ ด้วยต้องการอ่าน คาเลวาลา ในภาษาต้นฉบับ โทลคีนยังเล่าเรียนแตกฉานในภาษายุคโบราณและยุคกลางอีกหลายภาษา รวมถึงงานประพันธ์ของวิลเลียม มอร์ริส เขาได้อ่านบทกวีเก่าแก่ของแองโกลแซกซอน ว่าด้วยเทพองค์หนึ่งชื่อ เออาเรนเดล (Earendel) ซึ่งประทับใจเขามาก ในปี 1914 หลังการรวมพลของสมาชิก T.C.B.S. โทลคีนแต่งบทกวีขึ้นบทหนึ่ง ตั้งชื่อว่า การผจญภัยของเออาเรนเดล ดวงดาวสายัณห์ (The Voyage of Earendel the Evening Star) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน[6]

โทลคีนในปี 1916 ปีที่แต่งงาน
ปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ.1913) ในคืนวันเกิดอายุ 21 ปีของโทลคีน เขาได้เขียนจดหมายถึงเอดิธ หญิงสาวที่รัก เพื่อจะขอให้แต่งงานกับเขา แต่เธอบอกกับเขาว่า ได้รับหมั้นชายคนหนึ่งไว้แล้ว เพราะคิดว่าโทลคีนลืมเธอไป ทั้งสองมาพบกันใต้สะพานรถไฟเก่าๆ และคิดจะฟื้นความสัมพันธ์กันใหม่ เอดิธจึงนำแหวนไปคืนชายคนนั้น และตัดสินใจที่จะมาแต่งงานกับโทลคีน ในเดือนมกราคม
พ.ศ. 2456 ทั้งสองก็หมั้นกันในเมืองเบอร์มิงแฮม และเมื่อถึงวันที่ 22 มีนาคม ของอีก 3 ปีต่อมา ทั้งสองก็แต่งงานกันที่เมืองวอร์ริค ประเทศอังกฤษ โดยเอดิธได้หันมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกตามโทลคีน[6]
ปี พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1915) โทลคีนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เวลานั้นอังกฤษได้ประกาศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1แล้ว โทลคีนได้ไปเข้าร่วมกับกองทัพอังกฤษโดยเป็นนายร้อยตรีอยู่ใน Lancashire Fusiliers เข้ารับการฝึกฝนอยู่ 11 เดือน แล้วจึงย้ายไปเป็นนายทหารสื่อสาร กองพันที่ 11 ทัพหน้า ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1916 ปีเดียวกันกับที่แต่งงาน จนถึงวันที่ 27 ตุลาคม เขาได้ล้มป่วยเป็นไข้กลับ และถูกส่งตัวกลับอังกฤษในวันที่ 8 พฤศจิกายน เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนสนิทของเขาหลายคนถูกสังหารในระหว่างสงคราม โดยเฉพาะเพื่อนสนิทชาว T.C.B.S. ผลกระทบจากสงครามครั้งนี้ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของโทลคีนไปตลอดชีวิต ในระหว่างรอพักฟื้นอยู่ที่ Staffordshire โทลคีนได้เขียนนิยายเรื่องแรกของเขา คือ The Book of Lost Tales เริ่มต้นด้วยการล่มสลายของกอนโดลิน[6]
[แก้] หน้าที่การงาน
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โทลคีนได้ไปเป็นพนักงานตรวจชำระ
พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ต่อมาในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) เขาได้เป็นอาจารย์ ตำแหน่ง Reader (ตำแหน่งสูงกว่า อาจารย์อาวุโส แต่ต่ำกว่า ศาสตราจารย์) ที่มหาวิทยาลัยลีดส์ และได้เลื่อนชั้นเป็นศาสตราจารย์ในอีก 4 ปีต่อมา เขาได้จัดทำ พจนานุกรมภาษาอังกฤษยุคกลาง รวมถึงได้แปลวรรณกรรมอังกฤษยุคกลางเรื่อง Sir Gawain and the Green Knight ร่วมกับอาจารย์รุ่นน้องคือ อี. วี. กอร์ดอน งานทั้งสองชิ้นนี้ได้กลายเป็นงานมาตรฐานทางวิชาการต่อมาอีกหลายทศวรรษ
ปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) โทลคีนได้กลับไปยังอ๊อกซฟอร์ดถิ่นเก่า ในฐานะศาสตราจารย์แห่งวิทยาลัยเพมโบรค ระหว่างที่อยู่เพมโบรค โทลคีนได้เขียนเรื่อง เดอะ
ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ 2 ตอนแรก ที่บ้านบนถนนนอร์ธมัวร์ ในเขตอ๊อกซฟอร์ดเหนือ ซึ่งปัจจุบันมีป้าย Blue Plaque ติดเอาไว้ในฐานะสถานที่สำคัญของประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1936 โทลคีนได้ตีพิมพ์งานวิชาการสำคัญชิ้นหนึ่ง เรื่อง "เบวูล์ฟ : บทวิเคราะห์แง่มุมของปีศาจ" (Beowulf: the Monsters and the Critics) ซึ่งเป็นงานที่ทำให้แนวทางศึกษาวรรณกรรมโบราณเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง[8] โทลคีนให้ความสำคัญกับเนื้อหาและความเป็นมาของโคลงโบราณนี้ มากกว่าแง่มุมด้านภาษาซึ่งเป็นจุดด้อยของโคลงเมื่อเทียบกับมหากาพย์เรื่องอื่น เขากล่าวว่า "เบวูล์ฟ เป็นแหล่งข้อมูลอันทรงคุณค่ายิ่งแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า..." แนวคิดนี้ได้สะท้อนให้เห็นปรากฏอยู่มากในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในยุคที่โทลคีนนำเสนอแนวคิดนี้ เหล่าบัณฑิตล้วนดูถูกโคลงเบวูล์ฟว่าเป็นนิทานหลอกเด็ก ไม่มีความสมจริงในทางการยุทธ์ แต่โทลคีนโต้แย้งว่า ผู้ประพันธ์เรื่องเบวูล์ฟไม่ได้เน้นเรื่องโชคชะตาของวีรบุรุษ หรือแม้ความเป็นชนเผ่าต่างๆ ในดินแดนนั้นเลย หัวใจสำคัญของเรื่องคือเหล่าปีศาจต่างหาก
ในปี
พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โทลคีนย้ายไปประจำที่วิทยาลัยเมอร์ตัน ของอ๊อกซฟอร์ด และได้เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดี จนถึงปลดเกษียนเมื่อปี พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959)
ตลอดชีวิตการทำงานของโทลคีน เขาสร้างผลงานวิชาการได้ค่อนข้างน้อย แต่เป็นงานที่มีคุณค่าและส่งผลกระทบต่อวงการวรรณกรรม อย่างเช่นบทวิเคราะห์เรื่อง เบวูล์ฟ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากโทลคีนใช้เวลาไปกับงานสอนค่อนข้างมาก และยังรับเป็นอาจารย์พิเศษอีกหลายแห่ง เพื่อจะได้มีเงินเพียงพอใช้จ่ายภายในครอบครัว แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญมากกว่าก็คือ ความปราณีตพิถีพิถันของโทลคีนเอง ทำให้เขามีงานเขียนต้นฉบับที่ยังเขียนไม่เสร็จอยู่เป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์



ทัศนคติและมุมมองของโทลคีน
โทลคีนนับเป็น
ชาวคาทอลิกผู้เคร่งครัด ทัศนคติของเขาในแง่ที่เกี่ยวกับศาสนาและการเมืองเป็นแบบอนุรักษ์นิยม คือยึดมั่นในขนบประเพณีดั้งเดิมและไม่ใคร่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ เหตุนี้เขาจึงต่อต้านการปฏิวัติอุตสาหกรรมและผลสืบเนื่องของการณ์นั้นอย่างรุนแรง ด้วยความรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเข้าคุกคามชีวิตชนบทอันสงบสุขของอังกฤษ ตลอดชั่วชีวิตของเขา โทลคีนหลีกเลี่ยงในการใช้รถยนต์ แต่นิยมใช้จักรยานมากกว่า ทัศนคติเช่นนี้ปรากฏเห็นชัดอยู่ในงานเขียนของเขา โดยเฉพาะในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เมื่อแคว้นไชร์ถูกบีบบังคับให้ทำอุตสาหกรรม[10]
นักวิจารณ์พากันศึกษาและบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ กับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในชีวิตของโทลคีน เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ มักโดนวิจารณ์ว่าเป็นตัวแทนของประเทศอังกฤษในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งโทลคีนเองปฏิเสธแข็งขันในบทนำของการตีพิมพ์เอดิชันที่สองของหนังสือชุดนี้[11] ว่าเขาไม่ชอบเขียนงานประเภทสัญลักษณ์แฝงคติ แนวคิดเช่นนี้ปรากฏอีกครั้งในงานเขียนของเขา เรื่อง "On Fairy-Stories" ซึ่งโทลคีนเห็นว่า เทพนิยาย เป็นสิ่งที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง บางครั้งยังสื่อถึงความเป็นจริงบางประการอีกด้วย เขาเห็นว่าความเชื่อของคริสเตียนก็เป็นไปในลักษณะนี้ คือสมบูรณ์ในตัวเอง และแสดงถึงความเป็นจริงภายนอก พื้นฐานความเชื่อเช่นนี้ของโทลคีนพาให้เหล่านักวิจารณ์พากันค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ในผลงานเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ทั้งๆ ที่เนื้อเรื่องมีความเกี่ยวพันกับศาสนาคริสต์น้อยเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา หรือการสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า
[
แก้] ด้านศาสนา
ความศรัทธาอันแรงกล้าของโทลคีนต่อศาสนาคริสต์เป็นหัวข้อสนทนาสำคัญระหว่างเขากับลิวอิส ผู้ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมานับถือพระผู้เป็นเจ้า แม้โทลคีนจะผิดหวังอยู่บ้างที่ลิวอิสเลือกเข้ารีตใน
นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ แทนที่จะเป็นโรมันคาทอลิก[12]
ในช่วงปีท้ายๆ ของชีวิต โทลคีนยิ่งผิดหวังมากขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวาติกันแห่งที่สอง ไซมอน โทลคีน หลานของเขาได้บันทึกไว้ว่า
"ผมจำได้แม่นเมื่อครั้งไปโบสถ์ที่บอร์นเมาธ์พร้อมกับคุณปู่ ท่านมีศรัทธาในความเป็นโรมันคาทอลิกอย่างมาก เวลานั้นทางโบสถ์ได้เปลี่ยนบทสวดจาก
ภาษาละตินเป็นภาษาอังกฤษ คุณปู่ของผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และกล่าวตอบคำสวดมนต์เป็นภาษาละตินเสียงดังลั่น ทั้งที่คนอื่นพากันกล่าวเป็นภาษาอังกฤษทั้งนั้น ผมรู้สึกอายมาก แต่ดูเหมือนคุณปู่จะไม่สนใจอะไรเลย ท่านเพียงต้องการทำในสิ่งที่ท่านเห็นว่าถูกต้องเท่านั้นเอง"[13]
[
แก้] ด้านการเมือง
มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับแนวคิดการเหยียดผิวที่ปรากฏอยู่ในผลงานของโทลคีน ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมากมายในหมู่นักศึกษา
[14] คริสทีน ไคซม์ นักศึกษาคนหนึ่งจำแนกข้อกล่าวหานี้ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การเหยียดผิวโดยตั้งใจ การยึดยุโรปเป็นศูนย์กลางโดยไม่ตั้งใจ และการพัฒนาจากการเหยียดผิวที่แฝงในงานของโทลคีนช่วงต้นไปเป็นการปฏิเสธการเหยียดผิวในชั้นหลัง
เป็นที่รู้กันดีว่า โทลคีนดูหมิ่นพวก
นาซีมากอยู่ว่าเป็นพวกล้าหลังและอันตราย เขาดูถูกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มาก เนื่องจากเขาเห็นว่าฮิตเลอร์นั้น "ใช้จิตวิญญาณบริสุทธิ์ไปในทางที่ผิด"[15] แต่ถึงกระนั้นเขาก็ตำหนิกลุ่มต่อต้านเยอรมันที่รวมตัวกันขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งปรากฏในข้อความที่เขาเขียนไปถึงคริสโตเฟอร์ โทลคีน บุตรชาย [16] และแสดงความรังเกียจระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมากับนางาซากิอย่างมาก เขาเรียกกลุ่มผู้สร้างระเบิดนิวเคลียร์ว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์บ้า" และ "ผู้สร้างหอบาเบล"[17]
แนวคิดด้านการเมืองของโทลคีนล้วนมีพื้นฐานมาจากแนวคิดทางศาสนา เช่นเมื่อครั้งสงครามกลางเมืองในสเปน เขาออกเสียงสนับสนุนนายพลฟรันซิสโก ฟรังโก เมื่อได้ทราบว่าเกิดความวุ่นวายถึงกับเผาทำลายโบสถ์คาทอลิกและสังหารพระกับแม่ชีไปเป็นจำนวนมาก เขายังแสดงความชื่นชมต่อกวีชาวแอฟริกาใต้ รอย แคมป์เบล อย่างมากมายหลังจากได้พบกันในปี ค.ศ. 1944 เนื่องจากแคมป์เบลเคยรับราชการในกองทัพสเปนมาก่อน โทลคีนนับถือว่าเขาเป็นนักรบผู้ปกป้องชาวคาทอลิก ขณะที่ ซี. เอส. ลิวอิส เขียนบทกวีล้อเลียนแคมป์เบลว่า เป็นชาวคาทอลิกจอมเผด็จการ[18]

ฟิเดล คาสโตร แมว9ชีวิตแห่งคิวบา



ฟิเดล คาสโตร
มีชื่อเต็มว่า “ฟิเดล อเลจันโดร คาสโตร รุซ” (Fidel Alejandro Castro Ruz) ถือกำเนิดเมื่อ 13 สิงหาคม ค.ศ.1926 ณ หมู่บ้านมายาริ (Mayari) จังหวัดโอเรียนเต้ (Oriente Province) ประเทศคิวบา เป็นบุตรของนายแองเกล คาสโตร (Angel Castro) และนางลิน่า รุซ (Lina Ruz) โดยที่นายแองเกล คาสโตร เป็นราชาที่ดินและทำไร่อ้อยผู้มั่งคั่งจากประเทศสเปน โดยลิน่า รุซ เป็นแม่ครัวและสาวใช้ประจำตัวภรรยาคนแรกของแองเกล คาสโตร ฟิเดล คาสโตร เป็นนักกรีฑาชั้นยอดตั้งแต่เยาว์วัย เคยได้รับรางวัลนักกรีฑายอดเยี่ยมในระดับโรงเรียนทั่วประเทศ ค.ศ.1947 ฟิเดล คาสโตร เข้าร่วมการกบฏเพื่อโค่นล้มจอมพลราฟาเอล ทรูจิลโล (Generalissimo Rafael Trujillo) ในสาธารณรัฐโดมินิกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ค.ศ.1948 ฟิเดล คาสโตร สมรสกับมีร์ต้า ดิแอซ-บาลาร์ต เมื่อ 12 ตุลาคม และมีบุตรชาย 1 คนในปี 1949 ชื่อ ฟิเดลิโต้ ต่อมาหย่าร้างในปี 1955 จากนั้นฟิเดล คาสโตร มีบุตร-ธิดา อีก 7 คนจากผู้หญิง 3 คน ประกอบด้วย คุณนายดาเลีย โซโต เดล แวลลี่ ซึ่งเธอให้กำเนิดบุตรชายล้วน คือ แอนโตนีโอ, อเลจันโดร, แองเกล, อเล็กซิส, อเล็กซ์ ส่วนจอร์จ แองเกล คาสโตร เกิดในปี 1950 โดยไม่รู้ว่าใครเป็นมารดา และมีบุตรสาว 1 คน คือ อลิน่า เฟอร์นานเดซ เรวูเอลต้า เกิดในช่วงปี 1950 จากมารดานาตาเลีย เรวูเอลต้า ค.ศ.1950 ฟิเดล คาสโตร จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฏหมายจากมหาวิทยาลัยฮาวาน่า และจัดตั้งสำนักงานฝึกหัดกฏหมายของตัวเอง โดยให้คำปรึกษาด้านกฏหมายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่คนจน ค.ศ.1952 ฟิเดล คาสโตร ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร แต่พล.อ.ฟุลเจนซิโอ บาติสต้า ก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลลงเสียก่อน เมื่อ 10 มีนาคม ทำให้การเลือกตั้งถูกระงับไป ขณะนี้ยังไม่มีใครทราบว่าอาการป่วยของเขารุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตมากน้อยแค่ใหนหรือไม่ แต่ข่าวที่ปรากฏได้รับความสนใจและเป็นที่จับตาของทั่วโลก รวมถึงคิดกันต่อไปว่าคิวบาหลังยุคฟิเดล คาสโตร จะเป็นอย่างไร เมื่อเช้าตามเวลาในไทย เลขานุการส่วนตัวของประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร ปรากฏตัวผ่านทางโทรทัศน์และอ่านจดหมายแถลงการณ์การสละอำนาจผู้นำคิวบาเป็นการชั่วคราวให้แก่นายราอูล คาสโตร (Raul Castro) น้องชายของประธานาธิบดีคาสโตร วัย 75 ปี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกลาโหม ในจดหมายของประธานาธิบดีคาสโตร ซึ่งกำลังจะอายุครบ 80 ปีในวันที่ 13 เดือนสิงหาคมนี้ ระบุสาเหตุของการสละอำนาจชั่วคราวในครั้งนี้ว่าเพราะเขาต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง เนื่องจากความเครียดในช่วงที่เดินทางร่วมประชุมและปรากฏตัวในอาร์เจนติน่าและคิวบาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และหลังผ่าตัดเขาจำเป็นต้องพักฟื้นหลายสัปดาห์ นายราอูล คาสโตร ไม่ได้ปรากฏตัวในการแถลงครั้งนี้ด้วย ฟิเดล คาสโตร เป็น “หัวหน้ารัฐบาล” ยาวนานที่สุดในโลกนับตั้งแต่ได้รับชัยชนะจากการโค่นล้มรัฐบาลฝ่ายขวาภายใต้การนำของนายฟุลเจนซิโอ บาติสต้า ที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐฯ ด้วยกำลังอาวุธ เมื่อ 1 มกราคม 1959 มีเพียงพระราชินีอลิซซาเบธของอังกฤษเท่านั้นที่เป็น “ประมุขรัฐ” ยาวนานกว่าเท่านั้น สหรัฐฯ เป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองรัฐบาลคิวบาภายใต้การนำของนายฟิเดล คาสโตร แต่ต่อมาคาสโตรปฏิรูปเศรษฐกิจมาเป็นแบบสังคมนิยมและทำการไต่สวนผู้สนับสนุนนายบาติสต้าอย่างรวดเร็ว สร้างความไม่พอใจให้กับผู้นำสหรัฐฯ จนออกมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าและตัดสัมพันธ์ทางการทูต ทำให้คาสโตรโต้ตอบด้วยการยึดทรัพย์สินและธุรกิจของชาวอเมริกันในคิวบาทั้งหมด และหันไปพึ่งความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียตแทน วันที่ 16 เมษายน 1961 คาสโตรประกาศว่าการปฏิวัติของเขาเป็นสังคมนิยม วันรุ่งขึ้นทำการหยามหน้าสหรัฐฯ ด้วยการจับกุมตัวทหารคิวบาพลัดถิ่นภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐฯ กว่า 1,100 นาย ที่พยายามบุกข้ามน้ำมาโค่นล้มคาสโตร ที่อ่าวเบย์ ออฟ พิก ขณะที่กองกำลังปฏิวัติคิวบาเปิดโรงเรียนใหม่ กว่า 10,000 แห่ง ขจัดการไม่รู้หนังสือ สร้างระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า คาสโตรสนับสนุนขบวนการปฏิวัติในอเมริกาใต้และแอฟริกา คิวบาเป็น 1 ใน 5 ประเทศคอมมิวนิสต์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในโลก โดยอีก 4 ประเทศล้วนอยู่ในทวีปเอเชีย ประกอบด้วย จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อับราฮัม ลินคอล์น

อับราฮัม ลินคอล์น

อับราฮัม ลิงคอล์น (อังกฤษ: Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 จนกระทั่งถูกยิงเสียชีวิต ลินคอร์น ประกาศว่าเขาต่อต้านระบบทาสในสหรัฐอเมริกา[1][2] ลินคอร์นชนะตัวแทนจากพรรครีพับลิกันในปี ค.ศ. 1860 และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปีถัดมา ระหว่างการดำรงตำแหน่ง ลินคอร์นได้ช่วยรักษาประเทศ โดยการเป็นผู้นำในการถอนตัวออกจากผู้สบคบร่วมคิดในสงครามประชาชนอเมริกัน ของรัฐบาลกลางสหรัฐในสงครามอเมริกัน เขายังได้แนะนำมาตรการในการเลิกทาส ซึงนโยบายอันนี้ได้ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1863 และได้รับการผลักดันให้บรรจุเข้าไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 ในปี ค.ศ. 1865

อับราฮัม ลิงคอล์น ได้ติดตามในความพยายามในการทำสงครามเพื่อชัยชนะอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกนายพลระดับสูง รวมไปถึง ยูลิสซิส เอส. แกรนท์ นักประวัติศาสตร์สรุปเอาไว้ว่า ลิงเคิล์นได้เข้าไปช่วยเหลือแต่ละกลุ่มในพรรครีพับลิกันเป็นอย่างดี การนำมาของผู้นำแต่ละกลุ่มเข้ามาร่วมในคณะรัฐมนตรีของเขา และบังคับให้พวกเขาเหล่านั้นร่วมมือกัน ลิงเคิล์นประสบความสำเร็จ ในการลดความรุนแรงของสงครามที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว (Trent Affair) กับสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1864

ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับสงคราม (Copperheads) ได้วิจารณ์ลิงเคิล์นเกี่ยวกับการปฏิเสธการทำข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายการเลิกทาส ความขัดแย้งโดยเฉพาะพวกรีพับลิกันที่เป็นพวกหัวรุนแรง หัวหน้ากลุ่มที่มีความคิดในการเลิกทาสในพรรครีพับลิกัน ได้วิจารณ์ว่าลิงเคิล์นออกมาเคลื่อนไหวช้าเกินไป การเอาสิ่งกีดขวางมากั้นถนนไว้ ลิงเคิล์นประสบความสำเร็จ ในการปลุกระดมมวลชนโดยการพูดโน้มน้าวใจประชาชนในที่สาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น Gettysburg Address แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ลิงเคิล์นมองหาจังหวะในการเร่งให้มีการจัดการชุมนุมอีกครั้ง

อับราฮัม ลินคอร์นถูกยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1865 เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกลอบสังหารในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา และทำให้เขากลายเป็นผู้เสียสละเพื่อความสามัคคีของคนในชาติในความคิดของประชาชนคนรุ่นหลัง

อับราฮัม ลิงคอล์น เป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา 1 เซนต์ ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ และเรือบรรทุกเครื่องบิน

สกอร์เปี้ยนส์ ''แมงป่องผยองเดช''



ถ้านึกถึงวงดนตรีจากเยอรมันที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก รายแรกที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นลำดับต้นๆ คือ สกอร์เปี้ยนส์ และเมืองไทยก็รู้จักพวกเขากันอย่างดี เพราะเคยมาแสดงในเมืองไทยหลายรอบแล้ว

สกอร์เปี้ยนส์ เป็นวงดนตรีแนวเฮฟวี่ เมทัล และฮาร์ดร็อก มาจากเมืองฮันโนเวอร์ โด่งดังสุดในยุคทศวรรษที่ 80 มีพลงดังอย่าง ''Rock You Like a Hurricane'', ''No One Like You'' และ ''Still Loving You'' พวกเขาขายได้ทั่วโลกมากกว่า 75 ล้านอัลบั้ม ตั้งวงกันตั้งแต่ปี 1965 โดยแกนหลักคือ รูดอล์ฟ เชงเกอร์ มือกีตาร์ ซึ่งชวน โวล์ฟกัง ซิโอนี่ มือกลอง มาเล่นดนตรีกันในย่านเมืองฮันโนเวอร์ ปี 1967 ใช้ ฮาราลด์ โกรสคอปฟ์ ตีกลองแทนซิโอนี่อยู่พักหนึ่ง และปี 1968 ก็ได้ โลธาร์ ไฮม์แบร์ก เล่นเบส จนกระทั่งปีต่อมารูดอล์ฟชวน มิคาเอล เชงเกอร์ น้องชาย เสริมทัพในตำแหน่งกีตาร์ และ เคล้าส์ ไมเน่ เข้ามาเป็นนักร้อง สกอร์เปี้ยนส์จึงเริ่มเป็นวงอาชีพเต็มตัว โดยออกอัลบั้มแรกปี 1972 ชื่อ ''Lonesome Crow'' ออกทัวร์ทั่วเยอรมันร่วมกับ ยูไรห์ ฮีพ, ยูเอฟโอ และ โรรี่ กัลลาเกอร์ ในที่สุดมิคาเอลก็ย้ายไปอยู่วงยูเอฟโอช่วงปี 1973 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเชงเกอร์ไปรวมกับวง ดอว์น โร้ด ของ อูลี่ จอน โร้ธ หรือ อูลริช โร้ธ ซึ่งเป็นมือกีตาร์ ส่วน อาคิม เคียร์ชนิงก์ เล่นคีย์บอร์ด ฮันส์-เจอร์เก้น โรเซนธาล ตีกลอง และ ฟรานซิส บุ๊คโฮลซ์ สวมตำแหน่งเบส ก่อนให้ไมเน่มาเป็นนักร้อง และเปลี่ยนชื่อจากวง ดอว์น โร้ด เป็น สกอร์เปี้ยนส์ เพราะชื่อหลังติดตลาดไปแล้ว

ปี 1974 เคียร์ชนิงก์ออกไปหลังทำอัลบั้ม ''Fly to the Rainbow'' ปีต่อมา รูดี้ เลนเนอร์ส ชาวเบลเยียม มาตีกลองแทนโรเซนธาล ซึ่งต้องไปเป็นทหาร และการออกอัลบั้ม ''In Trance'' ในปีนั้น ทำให้ได้ร่วมงานกับ ดีเตอร์ ดีร์คส์ โปรดิวเซอร์คู่บารมี ถึงปี 1976 สกอร์เปี้ยนส์ออกงาน ''Virgin Killer'' แต่ปี 1977 แฮร์มันน์ ราเรเบลล์ หรือ แฮร์มันน์ แอร์เบลล์ ก็มาแทนเลนเนอร์สที่ออกไปเพราะปัญหาสุขภาพ หลังออกอัลบั้ม ''Taken by Force'' ในปีนั้น โร้ธ มือกีตาร์แนวคลาสสิก และมีส่วนผสมของ จิมมี่ เฮนดริกซ์ อยู่ด้วย ก็รู้สึกไปกันไม่ได้กับแนวทางของเชงเกอร์ ซึ่งเล่นฮาร์ดร็อก และเน้นการตลาดมากขึ้น ปี 1978 สกอร์เปี้ยนส์ออกอัลบั้ม ''Tokyo Tapes'' ซึ่งเป็นบันทึกการแสดงสดที่ญี่ปุ่น แต่โร้ธก็ออกไปตั้งวง อีเล็กทริก ซัน โดย มัทธีอัส ยาบส์ เข้ามาแทน หลังจากมีผู้มาคัดเลือก 140 คน

ปี 1979 มิคาเอลกลับมาร่วมงานกับสกอร์เปี้ยนส์ หลังโดนยูเเอฟโอไล่ออกเพราะติดสุรา และมีอัลบั้ม ''Lovedrive'' ซึ่งประสบความสำเร็จมากจากเพลง ''Loving You Sunday Morning'', ''Always Somewhere'', ''Holiday'' และ ''Coast to Coast'' ช่วงนี้ยาบส์ถูกบีบให้ออกเพื่อหลีกทางให้มิคาเอล แต่ฝ่ายหลังดันไม่เลิกนิสัยเดิม คือติดสุราจนเสียงาน สุดท้ายยาบส์ก็กลับมาเสียบแทนมิคาเอล ถึงปี 1980 สกอร์เปี้ยนส์ออกอัลบั้ม ''Animal Magnetism'' หลังจากนั้นไมเน่ต้องผ่าเส้นเสียงที่ลำคอ โดยมี ดอน ด็อคเค่น มาเป็นคนช่วยร้องแบ็กอัพ แต่หายกลับมาร่วมออกงาน ''Blackout'' ในปี 1982 ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ขายดีสุดของวงจนถึงทุกวันนี้ มีเพลงดังอย่าง ''Dynamite,'' ''Blackout'' และ ''No One Like You''

ปี 1984 สกอร์เปี้ยนส์ออกอัลบั้ม ''Love at First Sting'' ซึ่งมีเพลงดังคือ ''Rock You Like a Hurricane'', ''Bad Boys Running Wild'' และ ''Still Loving You'' ก่อนออกงาน ''World Wide Live'' ซึ่งเป็นการบันทึกแสดงสดทั่วโลกในช่วง 1 ปี ตามมาในปี 1985 ส่วน ''Savage Amusement'' ออกในปี 1988 และปี 1990 สกอร์เปี้ยนส์มีผลงานคือ ''Crazy World'' ที่เปลี่ยนโปรดิวเซอร์มาเป็น คีธ โอลเซ่น มีเพลงดังคือ ''Wind of Change'' ต่อมาบุ๊คโฮลซ์ออกไป ราล์ฟ รีคเกอร์มันน์ เข้ามาแทนในอัลบั้ม ''Face the Heat'' ที่วางจำหน่ายช่วงปี 1993 โดย บรูซ แฟร์แบร์น มาเป็นโปรดิวเซอร์ ตามด้วยบันทึกการแสดงสด ''Live Bites'' ในปี 1995 หลังเปลี่ยนมือกลองจากราเรเบลล์เป็น เคิร์ต เครสส์ ก็มีอัลบั้ม ''Pure Instinct'' ในปี 1996 ก่อน เจมส์ ค็อตทัค จะมาเสียบแทนเครสส์ ถึงปี 1999 สกอร์เปี้ยนส์ออกงาน ''Eye II Eye''

งานช่วงนี้เริ่มโดนด่ามากขึ้น แม้แต่ ''Moment of Glory'' ในปี 2000 ซึ่งทำร่วมกับวงดนตรีคลาสสิก เบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิค ก็ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ ''S&M'' ของ เมทัลลิก้า ที่ทำร่วมกับ ซานฟรานซิสโก ซิมโฟนี่ ส่วนอัลบั้มอะคูสติกชื่อ ''Acoustica'' ในปี 2001 ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น พาเวล มาซิโวด้า เข้ามาเล่นเบสช่วงปี 2003 และออกอัลบั้ม ''Unbreakable'' ในปี 2004 สกอร์เปี้ยนส์จึงกลับมาได้คำชมจากนักวิจารณ์อีกครั้ง ล่าสุดพวกเขาออกคอนเซปต์อัลบั้ม ''Humanity-Hour I'' ในปี 2007 โดยมี เดสมอนด์ ไชลด์ กับ เจมส์ ไมเคิ่ล เป็นโปรดิวเซอร์

วันนี้พวกเขาแก่ขึ้น อายุเฉียด 60 เกือบหมดแล้ว สกอร์เปี้ยนส์ เปรยว่าไม่อยากทำเพลงแบบหนุ่มจีบสาว หรือฉันหลงรักเธอ อีกต่อไปแล้ว เพราะไม่เข้ากับวัย แต่ไม่ว่าวันคืนเปลี่ยนไปแค่ไหน คนก็คงไม่ลืม ''แมงป่องผยองเดช'' วงนี้อย่างแน่นอน
ข้อมูลพิเศษ

นอกจากจะเป็นชื่อวงร็อกจากเยอรมันแล้ว สกอร์เปี้ยนส์ ยังเป็นชื่อวงดนตรีอังกฤษอีก 2 วง หนึ่งนั้นมาจากแมนเชสเตอร์ช่วงยุคทศวรรษที่ 60 อีกหนึ่งมาจากลอนดอน เป็นวงดนตรีบรรเลง 3 ชิ้น ออกอัลบั้มในปี 1961 สำหรับ อีฟ ศิลปินแร็พ ก็เคยออกอัลบั้มชื่อ ''Scorpion'' และ เมกาเดธ เคยมีเพลง ''The Scorpion'' ในอัลบั้ม ''The System Has Failed''




วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จอห์น เลนนอน

จอห์น เลนนอน

จอห์น วินสตัน โอโนะ เลนนอน (อังกฤษ: John Winston Ono Lennon) (9 ตุลาคม พ.ศ. 2483-8 ธันวาคม พ.ศ. 2523) เป็นทั้งนักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวอังกฤษ รู้จักกันดีในนามจอห์น เลนนอน แห่งวงเดอะบีทเทิลส์ โดยตั้งวงกับ พอล แม็คคาร์ตนีย์ จอร์จ แฮร์ริสัน และ ริงโก สตารร์ เนื้อเพลงของเลนนอนจะมีลักษณะที่เต็มไปด้วยความหวัง สันติภาพ และความเจ็บปวด ซึ่งแสดงถึงลักษณะสังคมในช่วงนั้น และในช่วงหนึ่งเลนนอนได้ถูกจัดเข้ากับกลุ่มนักปฏิวัติเพื่อความสงบสุข

เลนอนเกิดที่เมืองลิเวอร์พูล ในปี พ.ศ. 2483 ได้แต่งงานครั้งแรกกับ ซินเทีย โพวเวลล์ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยมีบุตรชายคนแรกชื่อ จอห์น ชาร์ลส จูเลียน เลนนอน (John Charles Julian Lennon) และแต่งงานครั้งที่สองกับนักร้องชาวญี่ปุ่น โยโกะ โอโน่(Yoko Ono) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2512 โดยมีลูกชายชื่อ ฌอน เลนนอนหรือ ฌอน ทาโร โอโน่ เลนนอน (Sean Taro Ono Lennon)

เลนนอนถูกฆาตรกรรมในนครนิวยอร์ก, ดาโกต้า, สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2523

ประวัติ
สมัยเด็กๆ จอห์นชอบวาดภาพผู้ที่พิการทุพพลภาพ และครูคิดว่าเขาน่าจะสอบเข้าไปเรียนในวิทยาลัยศิลปะได้ และเขาก็สอบได้ และที่วิทยาลัยแห่งนี้เองที่เขาได้พบกับซินเธีย โพเวลล์ ผู้หญิงซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาคนแรกของจอห์น

เมื่อตอนที่จอห์นอายุ 16 ปี ได้ตั้งวงดนตรีชื่อควอร์รี่ แมน (Quarry Man) และเปิดการแสดงกันในโรงเรียน จนกระทั่งวันหนึ่งเขาก็ได้รู้จักกับ พอล แมกคาร์ตนีย์ ณ จุดนี้เอง จอห์นและพอลก็ได้มาร่วมงานกัน พร้อมกับจอร์จ แฮริสัน เป็นที่มาของวงดนตรี “เดอะ บีทเทิลส์” หรือ 4 เต่าทอง

การแสดงของวงเข้าตา ไบรอัน เอพสเตน ซึ่งต่อมาเป็นผู้จัดการวง ซิงเกิ้ลแรกของพวกเขาชื่อว่า Love me Do ซึ่งได้ จอร์จ มาร์ติน เป็นโปรดิวเซอร์ เพียงแค่วันที่สองของการออกซิงเกิ้ลนี้มันก็สามารถขึ้นชาร์ทที่อันดับ 17

จอห์นแต่งงานกับซินเธีย โพเวลล์ ในปี 1962 มีลูกชายด้วยกัน 1 คน คือจูเลียน แต่ที่สุดก็หย่าขาดจากกัน เมื่อจอห์นพบรักใหม่กับ โยโกะ โอโนะ ที่เดอะ อินดิก้า แกลเลอรี่ ปี 1966 จากนั้นในปี 1970 สี่เต่าทองก็วงแตก

จอห์นยังคงทำงานดนตรีด้วยการออกผลงานเดี่ยว อัลบั้ม Imagine ตามด้วย Mind Games, Rock and Roll และ Walls and Bridge แต่ชีวิตส่วนตัวย่ำแย่ จอห์น และ โยโกะ แยกทางกันเป็นเวลา 14 เดือน เพราะการกดดันของสาธารณชน แต่หลังจากนั้นทั้งสองก็กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง

ในปี 1975 โยโกะก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่เขาอีกคนชื่อ “ฌอน” จอห์นทิ้งอาชีพนักดนตรีไป 5 ปี เพื่อทำตัวเป็นพ่อบ้านที่ดี คอยเลี้ยงดูลูกชายคนนี้ หลังจาก 5 ปีผ่านไปเขาก็หวนนึกถึงอาชีพนักดนตรีและเขาแต่งเพลงอีกครั้ง เขาเขียนงานเพลง Double Fantasy และบันทึกในปีเดียวกันคือปี 1980

แต่โชคร้ายก็มาเยือนในวันที่ 8 ธันวาคม 1980 ช่วงบ่ายขณะที่จอห์น เลนนอน อยู่ในสตูดิโอเพื่อกำลังเตรียมตัวอัดเพลงใหม่ ก็มีชายคนนึ่งชื่อว่าmark chapman (มาร์ค แชปแมน)ถือกระดาษกับปากกายืนให้จอห์น เลนนอน แล้วพูดว่า"ฉันจะมีลายเซ็นของคุณเป็นที่ระลึกได้ไหม?"จอห์นจึงเซ็นลายเซ็นของเขาให้แล้วก็ไป ทำงานต่อ

บ่ายวันนั้นจอห์นกับโยโกะก็มาอยู่ที่หน้าอพาร์ตเมนต์ของเขา เขาก็พบmark chapmanคนที่มาขอลายเซ็นเขานั้นเองแต่คราวนี้ในมือเขาไม่ใช่ปากกากับกระดาษแต่เป็นปืน

มาร์คพูดว่า "คุณเลนนอน!!" แล้วเขาก็ยิงจอห์นไปห้านัด จอห์นเสียชีวิตทันทีด้วยวัย 40 ปี 3 นาทีต่อมา ตำรวจมาถึงอพาร์ตเมนต์ มาร์คยังอยู่ตรงนั้นเขาพูดกับตำรวจว่า"ฉันนี้แหละที่ยิงจอห์น เลนนอน"

จางเว็บไซต์ johnlennon.com