หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

อองซาน ซูจี วีรสตรีเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า

อองซาน ซูจี วีรสตรีเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า

นามของ อองซาน ซูจี (aung san suji) ปรากฏในความรับรู้ของประชาคมโลกหลังเกิดเหตุการณ์ ๘-๘-๘๘ ในประเทศพม่า เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ. ๑๙๘๘) ที่นักศึกษาประชาชนพม่าหลายแสนคนลุกฮือขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตย จากรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครอง ประเทศพม่ามายาวนานถึง ๒๖ ปี
อุบัติการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่าครั้งนั้น ทำให้ นาง อองซาน ซูจี บุตรสาวของ นายพลอองซาน วีรบุรุษเพื่อเอกภาพ และเอกราช ของประเทศพม่า เลือกเดินซ้ำรอยบิดา บนถนนการเมือง เธอทิ้งอนาคตทางวิชาการ และ ครอบครัวอันอบอุ่นไว้เบื้องหลัง เพื่ออุทิศตนให้แก่การต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย และสันติภาพ ในแผ่นดินเกิด ยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจเผด็จการทหาร และข้อกังขานานาประการของสาธารณชน ต่อบทบาท และความรับผิดชอบของเธอในฐานะภรรยาและมารดา
อองซาน ซูจี กลับบ้านเกิด และร่วมต่อสู้เรียกร้องสันติภาพ และประชาธิปไตย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เธอไม่ได้ก้าวเท้าออกจากพม่าอีกเลยนับแต่นั้น เพราะตระหนักดีว่า หากเธอเดินทางออกไป เธอจะไม่มีวันได้ย่างเหยียบกลับสู่แผ่นดินเกิดอีกตราบที่กลุ่มเผด็จการ ทหารพม่ายังครองอำนาจปกครองแผ่นดินนี้อยู่ ซูจีเลือกที่จะสละอิสรภาพของตัวเอง เพื่อกู่ก้อง ให้ประชาคมโลกรู้ถึงความทุกข์ยาก และชะตากรรมของเพื่อน ร่วมชาติภายใต้การปกครอง ของระบอบเผด็จการทหารพม่า


อองซาน ซูจี อายุ ๒ ขวบ ตอนที่บิดา คือ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า” ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๑
เมื่อ นายพลอองซานถูกลอบสังหาร ดอว์ขิ่นจี ภรรยา ต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรชายหญิง ๓ คนโดยลำพัง ซูจีเป็นลูก คนเล็ก และเป็นบุตรสาวคนเดียวของครอบครัว ภายหลังบิดาเสียชีวิตไม่นาน พี่ชายคนรองของเธอประสบอุบัติเหตุ จมน้ำตายในบริเวณบ้านพัก ซูจีและพี่ชายคนโตคือ อองซาน อู เติบโตมากับการเลี้ยงดูของมารดา ที่เข้มแข็ง และความเอื้อเอ็นดูของกัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ของบิดา
พ.ศ. ๒๕๐๓ ดอว์ขิ่นจี ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่า ประจำประเทศอินเดีย ซูจีถูกส่ง เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยม และ Lady Shri Ram College ที่นิวเดลี จากนั้นไปเรียนต่อระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การเมือง และปรัชญา ที่ St.Hugh’ s College, Oxford University ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๐ ช่วงที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีได้พบรักกับ ไมเคิล อริส นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต
ปีเดียวกันกับที่ซูจีจบการศึกษา ดอว์ขิ่นจี หมดวาระในตำแหน่งทูตประจำประเทศอินเดีย และย้ายกลับไปพำนัก ที่ย่างกุ้ง ซูจี แยกจากมารดาเพื่อเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้ คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณ และการจัดการของสำนักงานเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ ขณะนั้น อูถั่น ซึ่งเป็นชาวพม่า ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของ องค์การสหประชาชาติ ระหว่าง ๓ ปีของการทำงานที่นี่ ซูจีใช้เวลาช่วงเย็น และวันหยุดสุดสัปดาห์เป็น อาสาสมัครให้โรงพยาบาล ในโครงการช่วยอ่านหนังสือ และดูแลปลอบใจผู้ป่วยยากจน


เดือนมกราคม ๒๕๑๕ ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล อริส และย้ายไปอยู่กับสามี ที่ราชอาณาจักรภูฐาน ซูจีได้งาน เป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฏาน ขณะที่ไมเคิลมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า กรมการแปล รวมทั้งมีหน้าที่ถวายการสอน แก่สมาชิกราชวงศ์แห่งภูฏาน
พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๒๐ ทั้งสองย้ายกลับมาที่กรุงลอนดอน ไมเคิลได้งานสอนวิชาหิมาลัย และทิเบตศึกษา ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ซูจีให้กำเนิดบุตรชายคนแรก อเล็กซานเดอร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และบุตรชายคนเล็ก คิม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ นอกจากใช้เวลากับการเลี้ยงดูบุตรชายทั้งสองแล้ว ซูจีเริ่มทำงานเขียน และงานวิจัยเกี่ยวกับชีวประวัติของบิดา และยังช่วยงานหิมาลัยศึกษาของ ไมเคิลด้วย
พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๒๙ ซูจี และไมเคิลตัดสินใจแยกจากกัน ระยะหนึ่ง เพื่อแสวงหาความก้าวหน้า ทางวิชาการ ซูจีได้รับทุนทำวิจัยจาก ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ในการทำวิจัย เกี่ยวกับบทบาทของนายพลอองซาน ขณะที่ไมเคิลได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies ที่ซิมลา (Simla) ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ซูจีพาคิม บุตรชายคนเล็ก ไปญี่ปุ่นด้วย ส่วนไมเคิลพา อเล็กซานเดอร์ บุตรชายคนโตไปอยู่ด้วยที่อินเดีย ปีต่อมาซูจีได้รับทุนจาก Indian Institute of Advanced Studies จึงพาคิมมาสมทบที่ซิมลา ช่วงนี้ซูจีต้องบินกลับไปลอนดอนเพื่อดูแล มารดาที่เดินทางมารับการผ่าตัดต้อกระจกตา
พ.ศ. ๒๕๓๐ ซูจีและไมเคิลย้ายครอบครัวกลับมาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ซูจีเข้าศึกษาต่อที่ London School of Oriental and African Studies ที่กรุงลอนดอน เธอกำลังทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกเกี่ยวกับวรรณคดีพม่า ก่อนที่โชคชะตาจะพลิกผันชีวิตไปสู่เส้นทางการเมือง จนกลายเป็นตำนานก้องโลก
กลับบ้านเกิดสานอุดมการณ์และความฝันของบิดา
ปลายเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ อองซาน ซูจี ในวัย ๔๓ ปี เดินทางกลับบ้านเกิดที่ย่างกุ้ง เพื่อมาพยาบาล ดอว์ขิ่นจี มารดาที่กำลังป่วยหนัก แม้เธอจะมี โครงการอยู่ในใจที่จะทำโครงการเครือข่าย ห้องสมุดอองซาน ในระหว่างที่อยู่พยาบาล แต่เนื่องจากขณะนั้นเป็นช่วงเดียวกับที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในพม่า กดดันให้ นายพล เนวิน ต้องลาออกจากตำแหน่งประธานพรรค โครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Programme Party-BSPP) ที่ยึดอำนาจการปกครองประเทศพม่ามานานถึง ๒๖ ปี ความพลิกผันทั้งโครงการและชีวิตของเธอจึงเริ่มขึ้น



ความไม่พอใจของประชาชนต่อระบอบเนวิน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ นั้นสะสมต่อเนื่อง และรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรมูลค่า ๒๕ จั๊ด ๓๕ จั๊ด และ ๗๕ จั๊ด โดยไม่ยอมให้ มีการแลกคืน ในเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งทำให้เงินร้อยละ ๗๕ หายไปจากตลาดเงิน นักศึกษามหาวิทยาลัย ย่างกุ้งประท้วงด้วยการ ทำลายร้านค้าหลายแห่ง
เหตุการณ์รุนแรงครั้งสำคัญปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ หลังเกิดเหตุทะเลาะ วิวาทระหว่างนักศึกษาในร้านน้ำชา และตำรวจจับกุมผู้ก่อเหตุ กลุ่มนักศึกษาได้รวมตัวกันประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ตำรวจกลับใช้ความรุนแรง ตอบโต้ด้วยการยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งยังจับกุม นักศึกษานับพันคนไปจากการชุมนุม การใช้ความรุนแรง ดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในหมู่นักศึกษาประชาชน และขยายไปทั่วประเทศ มีการประท้วงในพื้นที่ต่างๆ จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่กดดันให้นายพลเนวิน ต้องประกาศลาออก
การลาออกของนายพลเนวินใน วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ตามมาด้วยการชุมนุม เรียกร้องประชาธิปไตย ของนักศึกษา และประชาชนหลายแสนคนในเมืองหลวงย่างกุ้ง และแผ่ขยายไปทั่วประเทศ ในวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเหตุการณ์ ที่พลิกผันชีวิตของประชาชนพม่านับล้าน รวมทั้งเส้นทางชีวิตของนางอองซาน ซูจี บุตรสาวคนเดียวของนายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องให้เป็นวีรบุรุษของการต่อสู้เรียกร้อง อิสรภาพของประเทศพม่าระยะเวลาหลายสิบปีในการต่อสู้เรียกร้องสันติภาพและประชาธิปไตยให้แผ่นดินเกิดนั้น ซูจีแลกอิสรภาพของตนเองกับการเรียกร้องให้ประชาคมโลกสนใจต่อความทุกข์ยากของประชาชนพม่าภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร การต่อสู้แบบสันติวิธี ของเธอกลายเป็น หนามแหลมทิ่มแทงภาพลักษณ์ของระบอบ เผด็จการทหารพม่า รวมทั้งรัฐบาลในโลกเสรี ที่ให้ความสนับสนุนต่อรัฐบาลทหารพม่า



ซูจี เดินหน้าอย่างสงบเข้าหาปากกระบอกปืนที่ฝ่ายทหารขึ้นไกปืนเตรียมพร้อม เล็งมาที่เธอ เพื่อบังคับให้เธอ หยุดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งออง ซาน ซูจี ปฏิเสธที่จะเดินทาง ออกนอกประเทศ ตามข้อเสนอของรัฐบาลทหาร แต่เลือกที่จะอยู่เป็นกำลังใจ และเป็นสัญลักษณ์ที่ปลุกเร้าความกล้าหาญ ของประชาชนพม่าในการต่อสู้เรียกร้อง ประชาธิปไตยในประเทศ แม้ว่าจะต้องถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านพักของเธอเอง ท่ามกลางการกดดันทุกรูปแบบ ของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซูจี ยืนยันที่จะใช้สันติวิธีในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ให้ประชาชนชาวพม่า
เธอเรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลทหาร กับพรรคฝ่ายค้านของเธอ และผู้นำชนชาติกลุ่มน้อยต่าง ๆ เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของประเทศและประชาชน
บันทึกเรื่องราวของประชาชนพม่าที่มีชีวิตขมขื่น ทุกข์ยาก ภายใต้เงื้อมมือเผด็จการ ซูจีบอกเล่าสถานการณ์ ความเป็นไปในบ้านเกิดให้โลกรู้ผ่านตัวหนังสือ เรียกร้องต่อโลกภายนอก โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้ชิด อย่างประเทศไทย ให้เมตตาเอื้ออารีต่อชีวิตของพี่น้อง ร่วมชาติของเธอ ที่ข้ามพรมแดนหนีตายจาก อำนาจเผด็จการมาพึ่งพิงผืนดินไทย
วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ออง ซาน ซูจี เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก โดยส่ง จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง ทั่วไปวันที่ ๒๖ สิงหาคม
ซูจี ใน ฐานะธิดาของอดีตผู้นำเรียกร้อง เอกราชของประเทศพม่า ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรก ต่อหน้าฝูงชนประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน ที่มาชุมนุมกันที่ เจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง ซูจีเรียกร้องให้มี รัฐบาลประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารกลับจัดตั้ง สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (The State Law and Order Restoration Council : SLORC) ขึ้นแทน และปราบปรามสังหาร และจับกุมผู้ต่อต้านอีกหลายร้อยคน
วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ซูจี ร่วมจัดตั้ง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตยขึ้น (National League for Democracy: NLD) และได้รับเลือกให้ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ชีวิตทางการเมือง ของซูจี เริ่มต้นอย่างเป็นทางการนับแต่นั้นเป็นต้นมา



แม้รัฐบาลเผด็จการไม่กล้าใช้ความเหี้ยมโหดตอบโต้การดื้อแพ่งของซูจี แต่ได้ใช้อำนาจเผด็จการภายใต้กฎอัยการศึก สั่งกักบริเวณซูจีให้อยู่แต่ในบ้านพักเป็น ครั้งแรก เวลา ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งต่อมาขยายเป็น ๖ ปีโดยไม่มีข้อหา และได้จับกุม สมาชิกพรรคจำนวนมากไปคุมขังไว้ที่ คุกอินเส่ง ซึ่งรู้กันว่าเป็นสถานที่ที่ มีการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณ ต่อนักโทษ ซูจีอดอาหารเพื่อประท้วง และเรียกร้องให้นำเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆ เวลานั้นอเล็กซานเดอร์ และคิมอยู่กับมารดาด้วย ไมเคิลบินด่วนจากอังกฤษมาที่ย่างกุ้ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ภรรยา ซูจียุติการอดอาหารประท้วงเมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารให้สัญญาว่า จะปฏิบัติอย่างดีต่อ สมาชิกพรรคเอ็นแอลดี ที่ถูกคุมขังไว้ที่คุกอินเส่ง
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ แม้ว่าซูจียังคงถูกกักบริเวณอยู่ แต่พรรคเอ็นแอลดี ของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลเผด็จการทหารในนามของ “สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ” ปฏิเสธที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ผู้ชนะ แต่ยื่นข้อเสนอ ให้ซูจียุติบทบาททางการเมือง ด้วยการเดินทางออกนอกประเทศ ไปใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีและบุตร เมื่อซูจีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว รัฐบาลทหาร จึงมีคำสั่งยืดเวลาการกักบริเวณเธอจาก ๓ ปี เป็น ๕ ปี และเพิ่มอีก ๑ ปีในเวลาต่อมา

วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ คณะกรรมการโนเบลแห่งประเทศนอร์เวย์ ประกาศชื่อ นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซูจีไม่มีโอกาสเดินทาง ไปรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ด้วยตัวเอง เดือนธันวาคม อเล็กซานเดอร์ และคิมบินไปรับรางวัล แทนมารดาที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ สองพี่น้องเดิน ถือภาพถ่ายของมารดา ขึ้นเวทีท่าม กลางเสียงปรบมือต้อนรับอย่างกึกก้อง
อเล็กซานเดอร์กล่าว กับคณะกรรมการและผู้มาร่วมในพิธีว่า
“ผมรู้ว่า ถ้าแม่มีอิสรภาพและอยู่ที่นี่ในวันนี้ แม่จะขอบคุณพวกคุณพร้อมกับขอร้อง ให้พวกคุณร่วมกันสวดมนต์ ให้ทั้งผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่โยนอาวุธทิ้ง และหันมาร่วมกันสร้างชาติด้วยความเมตตากรุณาและจิตวิญญาณแห่งสันติ”
ซูจีประกาศใช้เงินรางวัลจำนวน ๑.๓ ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษา ของประชาชนพม่า ซูจีได้รับอิสรภาพ จากการถูกกักบริเวณครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
อองซาน ซูจี : หัวใจแกร่ง
กับชีวิตที่ปราศจากความกลัวแม้จะได้รับการปล่อยตัว แต่ซูจี ยังคงถูกติดตาม ความเคลื่อนไหว และไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้อย่างอิสระ เธอถูกห้าม ไม่ให้ปราศรัยต่อหน้าฝูงชน ที่มาชุมนุมอยู่หน้าบ้านของเธอเอง ครั้งใดที่เธอพยายามเดินทางออกจากบ้านพัก เพื่อไปพบปะฝูงชน เจ้าหน้าที่รัฐจะติดตามไปทุกแห่งหน พร้อมกับฝูงชนจัดตั้งจำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำร้ายเธอ และเพื่อนร่วมคณะ ครั้งหนึ่งฝูงชนเหล่านี้ได้ใช้ก้อนหิน และวัตถุอันตรายอื่นๆ กว้างปาเข้าใส่รถของเธอจนเสียหาย ทั้ง ๆ ที่อยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ซูจี ยังคงดำเนิน การต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธี โดยใช้วิธีเขียนจดหมาย เขียนหนังสือ บันทึกวีดีโอเทป เพื่อส่งผ่านข้อเรียกร้องของเธอ ต่อรัฐบาลทหารพม่า ออกมาสู่ประชาคมโลกอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่สามารถทำได้ เดือน กรกฎาคม ๒๕๔๑ ซูจี นั่งประท้วงอยู่ในรถยนต์ ของเธอเองเป็นเวลาห้าวัน หลังจากถูกตำรวจ สกัดไม่ให้รถยนต์ของเธอเดินทางออกจาก ย่างกุ้งเพื่อไปพบปะกับสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ ประชาธิปไตย เดือนสิงหาคม ๒๕๔๑ ซูจี ถูกสกัด ไม่ให้เดินทางไปพบปะ สมาชิกพรรคของเธออีกครั้งหนึ่ง ซูจี ใช้ความสงบ เผชิญหน้า กับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเวลาถึงหกวัน จนเสบียงอาหารที่เตรียมไปหมด เธอถูกบังคับพาตัวกลับ ที่พักหลังจากนั้น
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๓ ซูจี และสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ถูกตำรวจสกัดไม่ ให้เดินทางออกพ้นชานกรุงย่างกุ้ง เพื่อไปดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซูจี ยืนยันที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ โดยใช้วิธีเผชิญหน้าอย่างสงบกับตำรวจอยู่ ณ จุดที่ถูกสกัดเป็นเวลาถึง ๙ วัน
จนถึงวันที่ ๒ กันยายน ตำรวจ ปราบจลาจลเกือบ ๒๐๐ นาย พร้อมอาวุธครบมือ บังคับนำเธอกลับเข้าเมือง สองสัปดาห์ต่อมา ซูจี วางแผน ที่จะเดินทางออกจากเมืองร่างกุ้งอีกครั้งหนึ่ง เธอพร้อมคณะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้านเดินทางไป ที่สถานีรถไฟ เพื่อซื้อตั๋วโดยสาร แต่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ส่งหน่วย รักษาความปลอดภัยพิเศษ ไปควบคุมตัวเธอกลับบ้านพัก พร้อมทั้งวางกำลัง เจ้าหน้าที่ควบคุมจุดต่าง ๆ บนถนนหน้าบ้านพักของนางซูจี ไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าพบปะ เยี่ยมเยียนเธอ
ซูจี ถูกกักบริเวณโดยปราศจากข้อกล่าวหาและความผิดอีกเป็น ครั้งที่สอง เป็นเวลา ๑๘ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และได้รับอิสรภาพ จากการกักบริเวณครั้งนี้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ ขณะที่ผู้รักสันติภาพทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลองวาระครบรอบหนึ่งร้อยปี ของรางวัลโนเบลสาขา สันติภาพ พร้อมกับฉลองวาระครบสิบปีที่ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ยังคงถูกจำกัดอิสรภาพอยู่ในประเทศพม่า ไม่มีโอกาสเดินทางไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองรางวัลเกียรติยศแห่งชีวิตพร้อมกับผู้ได้รับรางวัลคนอื่น ๆ
ซูจีถูกสั่งกักบริเวณให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้านพักอีกเป็น ครั้งที่ ๓ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ภายหลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างมวลชนจัดตั้ง ของรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุน ซูจีเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ระหว่างที่นางซูจีเดินทางเพื่อพบปะกับประชาชน ในเมืองเดพายิน (Depayin) ทางตอนเหนือของพม่า
วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึงวาระครบรอบวันเกิด ๖๐ ปีของอองซาน ซูจี เธอยังคงถูกกัก บริเวณไว้ในบ้านพัก ริมทะเลสาบอินยา บนถนนมหาวิทยาลัย ที่พำนักที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวพม่า นับตั้งแต่การต่อสู้เพื่อเอกราชของนายพลอองซาน และการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ของเธอในวันนี้ ณ วันนี้ ไม่อาจมีผู้ใดทราบได้ว่าเธอใช้ชีวิตเช่นไรภายใต้อิสรภาพที่ถูกจำกัด แต่ระยะเวลา ๑๗ ปีที่ผ่านมา ที่ซูจีตัดสินใจแลกอิสรภาพกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสันติภาพของการอยู่ร่วมกันของผู้คน ในประเทศพม่านั้น ยืนยันถึงความเชื่อและถ้อยคำ ที่เธอเคยสื่อสารผ่านมาใน จดหมายจากพม่า ที่เธอเขียนว่า
“กำแพงคุกส่งผลสะเทือนต่อผู้ที่อยู่ภายนอกเช่นกัน” ซูจีเขียนไว้ในหนังสือ จดหมายจากพม่าว่า

“ดิฉันมิได้เป็นนักโทษการเมืองสตรีเพียงคนเดียวในประเทศพม่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังคงมีสตรี จำนวนมาก ที่ถูกจำขัง เนื่องจากความเชื่อทางการเมืองของพวกเธอ สตรีบางท่านมีลูกเล็ก ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ ผู้ซึ่งมัวแต่ห่วงกังวล กับภรรยาของตัวเอง และไม่คุ้นเคย กับการทำงานบ้านเอาเสียเลย เด็กส่วนมากยกเว้นผู้ที่ยังไม่โตพอจะรู้ความ มักจะเป็นทุกข์ กับความกดดันในระดับต่าง ๆ กัน”
หลายครั้งที่ถูกถามถึงความสัมพันธ์ของเธอและครอบครัว ซึ่งอยู่ห่างกันคนละซีกโลกนั้น ซูจีพูดถึงลูก ๆ ของเธอว่า
“แน่นอน ลูกของดิฉันต้องเผชิญชีวิตโดยไม่มีแม่อยู่เคียงข้าง แต่เพราะพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศ อังกฤษ ดิฉันจึงไม่ต้องกังวล”
(ซูจีให้สัมภาษณ์ Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire-Singapore Edition เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้นมา รัฐบาลเผด็จการทหารไม่อนุญาตให้สามี และบุตรชาย ทั้งสองของซูจีเข้าประเทศพม่า ช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ไมเคิลป่วยหนัก และรู้ตัวว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน เขายื่นขอวีซ่าเพื่อมาเยี่ยมภรรยาที่พม่าเป็นครั้งสุดท้าย แต่ถูกปฏิเสธ เพราะรัฐบาลเผด็จการทหาร ต้องการกดดันให้ซูจีออกนอกประเทศ ซูจีปฏิเสธข้อเสนอทุกอย่างของรัฐบาลเผด็จการที่พยายามโน้มน้าว ให้เธอเป็นฝ่ายเดินทาง ไปเยี่ยมสามีที่กรุงลอนดอน ท่ามกลางคำวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่าย ที่มีทัศนะ ด้านลบต่อบทบาทของเธอในฐานะแม่และเมีย ไมเคิลสิ้นใจในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พร้อมกับความทรงจำครั้งสุดท้ายที่เขาได้พบภรรยาเมื่อช่วงคริสต์มาสของปี พ.ศ. ๒๕๓๘
ไมเคิล บันทึกความทรงจำแห่งช่วงวันที่เปี่ยมสุขระหว่างเขาและภรรยาไว้ในคำนำหนังสือ อิสรภาพจากความกลัว (Freedom from Fear) ที่ซูจีเป็นผู้เขียนว่า
“วันเวลาที่เราได้อยู่ร่วมกันตามลำพังครั้งสุดท้าย ปลีกตัวจากโลกโดยสิ้นเชิงนั้น คือ ความทรงจำที่เป็นสุข ที่สุดของผม ในระหว่างหลายปีของชีวิตแต่งงานของเรา มันเป็นช่วงเวลาที่สงบอย่างน่าอัศจรรย์ ซูตั้งกฎเกณฑ์ ที่เข้มงวดสำหรับกิจกรรม การเรียน และเล่นเปียโนของเธอ ซึ่งผมมักจะขัดจังหวะเธออยู่เสมอ เธอกำลังศึกษาพุทธธรรมต่าง ๆ
ผมประดิษฐ์ของขวัญคริสต์มาสในแต่ละวันเพื่อนำมาแจกจ่าย เราใช้เวลาทั้งหมดในช่วงนี้ สนทนากันเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย ผมไม่ได้คาดคิดเลยว่านี่จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เราจะได้อยู่ร่วมกันสำหรับ อนาคตที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้า”
ไมเคิลบอกเพื่อนๆ ของเขาเสมอว่า ขณะที่การต่อสู้ของซูจีเป็นที่รับรู้และชื่นชมของคนทั่วโลก เขาคือคนที่รัก และเข้าใจเธอมากที่สุด เขาเขียนไว้ในคำนำหนังสือ อิสรภาพจากความกลัวว่า
“เมื่อไม่นานนี้ ผมกลับมาอ่านจดหมาย ๑๘๗ ฉบับที่เธอส่งจากนิวยอร์กมาถึงผมที่ภูฏานในช่วง ๘ เดือน ก่อน ที่เราจะแต่งงานกันที่ลอนดอนในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๑๕...
เธอเฝ้าเตือนผมว่า วันหนึ่งเธอจะต้องกลับไปพม่า ซึ่งเธอต้องการการสนับสนุนของผม ในเวลานั้น เธอไม่ได้ต่อรองแต่เป็นการขอร้อง...”
ขณะที่ซูจีพูดถึงความสัมพันธ์ของเธอกับสามีว่า
"เราไม่เคยก้าวล่วงความเชื่อและสิ่งที่เป็นความสำคัญของแต่ละฝ่าย ตัวอย่างเช่น สามีของดิฉัน เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตะวันออกและทิเบต ดิฉันไม่เคยพยายามหยุดยั้งเขาจากการทำในสิ่งที่เป็นความสนใจของเขา แม้ว่าบางครั้งดิฉันเหนื่อยล้าเหลือเกินกับการติดตามเขาไปรอบ ๆ หิมาลัย ดิฉันช่วยเขาทำในสิ่งที่สามารถทำได้ และดิฉันคิดว่าเขามีทัศนคติเช่นเดียวกับดิฉัน”
(ซูจีให้สัมภาษณ์ Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire-Singapore Edition เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
เมื่อถูกถามถึงทางเลือกของผู้หญิงระหว่างชีวิตที่อุทิศเพื่อสาธารณะ กับชีวิตส่วนตัวกับครอบครัว ซูจีตอบว่า
“ดิฉันคิดว่า ประเพณีมีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้เสมอสำหรับบทบาทของหญิงชาย ที่กำหนดให้ผู้ชายมีเสรีภาพมากกว่า ในการทำงานเพื่อสาธารณชน และผู้หญิงถูกคาดหวังให้ทำทั้งสองหน้าที่ ในกรณีของดิฉัน เนื่องเพราะว่าดิฉัน มีชีวิตอยู่ห่างไกลจากครอบครัว ดังนั้นดิฉันจึงไม่มีชีวิตส่วนตัว”




วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

มหาตมา คานธี นักสู้อหิงสา


มหาตมา คานธี นักสู้อหิงสา

มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi) เป็นผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มีชื่อเต็มว่า โมหันทาส กะรัมจันท คานธี (คุชราต: મોહનદાસ કરમચંદ ગાંધી; อังกฤษ: Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย มารดาของคานธี เป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี
ใน
ค.ศ. 1883 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปี ได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรบา ซึ่งอายุมากกว่าคานธีประมาณ 6 เดือน ซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถิ่นที่นิยมให้เด็กแต่งงานกันเร็วๆ คานธี มีความสุขกับชีวิตคู่มาก คานธีและกัสตูรบามีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึ่ง ได้เสียชีวิตลงตั้งแต่ยังเป็นทารกทำให้เหลือ 4 คน
ใน
ค.ศ. 1888 เป็นปีที่บุตรคนแรก (ไม่นับคนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นปีที่ทางครองครัว ได้ส่งคานธีไปศึกษาวิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทาง คานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่า จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์และสุรา และจะไม่ยุ่งเกี่ยวเกาะแกะกับสตรี เพื่อให้มารดาได้อุ่นใจ แล้วเดินทางไปอังกฤษ
เมื่อไปถึงอังกฤษ คานธีพบปัญหาใหญ่ในการดำเนินชีวิตในอังกฤษ นั่นคือ วัฒนธรรม มารยาท สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในอังกฤษนั้นไม่เหมือนอินเดีย คานธีต้องระวังตนในเรื่องมารยาทซึ่งจะมาทำตามคนอินเดียเหมือนเดิมไม่ได้ คานธีต้องปรับตัวบุคลิกต่างๆให้เข้ากับคนอังกฤษให้ได้ และนอกจากนี้ อาหารในอังกฤษที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์นั้นในสมัยนั้นรสชาติจะจืดมาก จะกินเนื้อสัตว์ก็ไม่ควรเพราะได้ให้สัญญากับมารดาไว้แล้ว
ปัญหาด้านอาหารนั้นทุเลาลงเมื่อคานธีได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ และได้ซื้อหนังสือคู่มือสำหรับนักมังสวิรัติเข้า คานธีจึงได้มีวิธีรับประทานมังสวิรัติอย่างเป็นสุขในอังกฤษ ส่วนมารยาทและวัฒนธรรมก็ต้องค่อยๆปรับตัวไป และในที่สุด คานธีก็สำเร็จการศึกษาและสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเมื่อได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว คานธีก็เดินทางกลับสู่อินเดียใน
ค.ศ. 1892 เพื่อประกอบอาชีพ
ในปีเดียวกันคานธีกลับมา ลูกคนที่สองของคานธีก็กำเนิดขึ้น แต่ในด้านอาชีพ แม้จะประสบความสำเร็จในการศึกษา แต่การประกอบอาชีพในช่วงแรกของคานธีนั้นประสบความยากลำบากตะกุกตะกัก แต่แล้ว ไม่นานต่อมา คานธีก็ได้งานชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้คานธี กลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา
งานนั้นคือ ให้ไปเป็นทนายว่าความให้ลูกความใน
ประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1893 คานธีได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้ โดยเมื่อเดินทางไปถึง คานธีได้ซื้อตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นที่หรูหราสะดวกสบายที่สุด ค่าตั๋วแพงที่สุด) ไปยังเมืองที่ลูกความต้องการ แต่ทว่า ผู้โดยสารชั้น First Class ที่ผิวขาว ไม่พอใจที่คนผิวคล้ำอย่างคานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขา จึงไปประท้วงบอกเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงเดินมาสั่งให้คานธีย้ายตู้โดยสารไปโดยสารตู้ของ Third Class (ชั้นไม่สะดวก ไม่หรูหรา แต่ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้งๆที่คานธีเสียเงินซื้อตั๋ว First Class มาอย่างถูกต้อง คานธีจึงปฏิเสธ ทำให้ความขัดแย้งในรถไฟชั้น First Class รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด คานธีก็ถูกเจ้าหน้าที่รุมทำร้าย และคานธีถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าที่ต่างอ้างว่า รถไฟชั้นหนึ่งนี้สร้างสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น
เหตุการณ์นี้ทำให้คานธีเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และยิ่งเศร้ามากยิ่งขึ้นเมื่อรู้ว่าชาวผิวคล้ำเกือบทุกคนถูกเหยียดหยามจากชนผิวขาวในแอฟริกาใต้ นับแต่นั้น คานธีก็ได้เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคล้ำในแอฟริกาใต้ และเมื่อคานธีรู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ไม่จบง่ายๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียใน
ค.ศ. 1896 เพื่อพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันที่แอฟริกาใต้ และกลับสู่อินเดียใน ต้นปี ค.ศ. 1897 และใช้ชีวิตครอบครัวต่อจนมีลูกกับภรรยาต่ออีก 2 คน
ใน
ค.ศ. 1901 คานธีเดินทางกลับอินเดียเพื่อกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจากชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ให้มาช่วยด้วย คานธีเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ต่อใน ค.ศ. 1902 แต่ว่า การต่อสู้ของคานธีเมื่อครั้งก่อนนั้นให้ผลไม่ดีเท่าไรนัก ดังนั้นในครั้งนี้ คานธีใช้วิธี "สัตยาเคราะห์" ซึ่งคือ การไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กำลัง ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมาก ทำให้คานธีรู้ว่าการประท้วงโดยไม่ใช้กำลังนั้นให้ผลดีกว่าที่คิด จึงพบวิธีที่แน่นอนและได้ผลดีในการเรียกร้องความยุติธรรม โดยคานธีได้อยู่เรียกร้องความยุติธรรมนี้จนถึง ค.ศ. 1914 ก็เดินทางออกจากแอฟริกาใต้
คายธีเดินทางกลับมาถึงอินเดียที่เมืองบอมเบย์ใน
ค.ศ. 1915 คานธีตัดสินใจละทิ้งการแต่งกายแบบตะวันตกดังที่เคย และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบดั้งเดิมของแคว้นคุชราต และเมื่อเดินทางกลับมาถึง ชาวอินเดียจำนวนมากไปชุมนุมต้อนรับคานธีกลับบ้านอย่างล้นหลาม ไม่กี่วันต่อมา คานธีเดินทางไปหา รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และรพิทรนาถนี้เอง ได้ขนานนามคานธีว่า "มหาตมา" อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่งให้แก่คานธี เป็นคนแรก และหลังจากนั้น คานธี ได้เดินทางไปทั่วประเทศอินเดีย เพื่อจะได้ไปรู้เห็นความเป็นจริงในอินเดียอย่างรู้จริงเป็นเวลารวม 1 ปี
ค.ศ. 1916 คานธีเริ่มก่อกลุ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และเรียกร้องโดยวิธีขอความร่วมมือผนึกกำลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังที่สั่นประเทศได้ ประกอบกับในช่วงนั้น อินเดียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดขี่ชาวอินเดีย ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt ซึ่งเป็นกฎหมายที่กดขี่ชาวอินเดีย คานธีจึงประกาศขอความร่วมมือว่าในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1919 ขอความร่วมมือให้คนอินเดียหยุดงาน แล้วประชาชนเป็นล้านๆ คนก็หยุดงานในวันนั้น สั่นคลอนอำนาจรัฐบาลอังกฤษอย่างชัดเจน คานธีรู้สึกอัศจรรย์ แต่ไม่นานก็พบข้อเสียของการใช้วิธีสัตยาเคราะห์ กับสังคมขนาดใหญ่ๆ อย่างอินเดีย
ข้อเสียนั้นคือ มีบางแห่งที่บานปลายเกิดการต่อสู้ใช้กำลัง รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมตัวคานธีไป แต่เมื่อคานธีถูกจับกุม เมืองต่างๆก็เกิดความเคียดแค้นและวุ่นวายจนเกือบกลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลังคานธีได้รับอิสระในวันที่
13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดบานปลายนี้ คานธีรู้สึกเสียใจมาก จึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วัน
แต่ในวันนั้นเอง เป็นวันนักขัตฤกษ์ของอินเดีย ประชาชนนับพันคนไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียันวาลา เมืองอมฤตสระ แต่ว่า ในวันนั้น นายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระ รู้สึกเคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษ จึงออกคำสั่งให้กองทัพรัวปืนใส่กลุ่มประชาชนในชัลลียันวาลา ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน เป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษเสื่อมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟื้นตัว
การต่อสู้เพื่อคนอินเดียดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ใน
ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กำลังต่อสู้กันอีกครั้ง คานธีถูกจับกุมอีกครั้งในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจำคุก 6 ปี แต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกำหนดเพราะเหตุผลทางสุขภาพใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธีก็หันไปแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภายในประเทศก่อน เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขปัญหาการถือชนชั้นวรรณะในอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูกับมุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี และปัญหาต่างๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการกดขี่จากต่างประเทศ
แต่ใน
ค.ศ. 1930 คานธีหวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอันเร่าร้อน เพราะต้องการประท้วงกฎหมายอังกฤษที่ห้ามคนอินเดียทำเกลือกินเอง เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันที่ 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตำบลฑัณฑี พร้อมกับประชาชนนับแสนคนที่เต็มใจไปกับคานธี คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตร ก็ไปถึงชายทะเล คานธีบอกประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทำเกลือกินเอง ดังนั้น ในวันนั้น คานธีและประชาชนนับแสนได้ทำเกลือจากทะเลกินเอง เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้
ทางการอังกฤษ ได้ดันทุรังจับกุมคานธีและประชาชนนับแสนคนในวันที่
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทำให้จำนวนแรงงานอาชีพในอินเดียหายไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจและระบบบริหารงานของรัฐบาลอังกฤษเกิดความปั่นป่วนอย่างใหญ่หลวง จนกระทั่งต้องปล่อยตัวประชาชนออกมาเรื่อยๆ และรัฐบาลอังกฤษได้ปล่อยตัวคานธีใน ค.ศ. 1931 และในปีนั้น คานธีถูกเชิญตัวไปร่วมประชุมหารือกับรัฐบาลอังกฤษ โดยมีนายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้นเป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ไม่ได้ผลอะไรมากนัก
เมื่อคานธีกลับอินเดีย ก็ถูกจับอีก และก็ถูกปล่อยตัวอีก และหลังถูกปล่อย ก็ใช้เวลาไปพัฒนาชนบทอีก จนเมื่อ
ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กลับเข้าสู่วงการเมืองอีก มีการเดินขบวนรณรงค์ แล้วก็ถูกจับใน ค.ศ. 1942 อีก แต่ครั้งนี้ ระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 แล้วสักพักก็ถูกปล่อยตัว
ใน
ค.ศ. 1945 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะให้อินเดียได้ปกครองตนเอง นับเป็นการที่อิสระของอินเดียอยู่แค่เอื้อมแล้ว แต่ว่า ก่อนจะให้อิสระอินเดีย อังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดีย ที่จะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรกๆของการมีอิสระครั้งของอินเดียในยุคแห่งเทคโนโลยี แต่ทว่า ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะมาปกครอง การให้อิสระอินเดียจึงต้องล่าช้าออกไป
แต่ใน
ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนองเลือดรุนแรงไปทั่วทุกหัวระแหง คานธีรู้สึกเสียใจมาก ที่อิสรภาพของอินเดียอยู่แค่เอื้อม แต่ยังไม่ทันได้อิสรภาพ ชาวอินเดียก็ทะเลาะกันเองเสียนี่ คานธีจึงได้หอบสังขารวัย 77 ปี ลงเดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆในอินเดีย เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน หยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียเห็นคานธีทำเช่นนี้ก็รู้สึกตัว เลิกทะเลาะกัน ทำให้เกิดความสงบสามัคคีในชนบทได้
เดือนพฤษภาคม
ค.ศ. 1947 ได้มีการเจรจาตกลงระหว่างพรรคคองเกรสกับสันนิบาตมุสลิม โดยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศเป็น 2 ส่วน โดยให้พื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดู เป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรส แล้วพื้นที่ที่คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิม ให้เป็นประเทศปากีสถาน ปกครองโดยสันนิบาตมุสลิม
ในที่สุด
15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษโดยสมบูรณ์ และในวันนั้น อินเดีย ก็แตกเป็น 2 ประเทศ คืออินเดียของชาวฮินดู กับปากีสถานของมุสลิม แต่ว่า ท้องที่ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่ง ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนอีกศาสนาหนึ่งอาศัยอยู่เลย ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศที่เป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาตรงข้าม ก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดีย ก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็นฮินดูในปากีสถาน ก็ต้องอพยพมาอินเดีย ในวันนั้น ทั้งสองประเทศ จัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่คานธีไม่เข้าร่วมพิธีฉลองอิสรภาพ แต่ได้เดินทางไปยังกัสกัตตา เพราะได้ข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังรบสู้กันอยู่ คานธีเดินทางไปถึงที่กัลกัตตา และขอร้อง แต่ไม่เป็นผล จึงประกาศอดอาหารอีก ครั้งนี้ได้ผล มุสลิมและฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที และให้สัญญาว่าจะไม่มีการรบแบบนี้เกิดอีก คานธีจึงเดินทางกลับเมืองหลวงนิวเดลฮี
ในวันที่
13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถาน เพื่อสมานฉันท์กับชาวมุสลิม ทั้งๆที่คานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้ง เพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดู
ในวันที่
18 มกราคม ค.ศ. 1948 องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คำมั่นว่า จะพิทักษ์รักษาชีวิต ทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลิมอย่างเต็มที่ คานธีจึงกลับมากินอาหารอีกครั้ง
และในวันที่
30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็น ขณะที่คานธีอยู่กลางสนามหญ้า กำลังสวดมนต์ไหว้พระตามกิจวัตร ขณะที่คานธีกำลังพูดว่า "เห ราม" แปลว่า "ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า" นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์กับมุสลิม ได้ยิงปืนใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลง และเมื่อแพทย์ได้มาพบคานธี ก็พบว่า คานธีได้สิ้นลมหายใจแล้วในวัย 78 ปี

บ็อบ มาเลย์ ราชาเร็กเก้



“บ็อบ มาร์เลย์” หรือชื่อจริงว่า "โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์" เป็นนักดนตรีเพื่อชีวิตเพื่อการต่อสู้ของประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของโลกเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเกิด ในชุมชนคนผิวดำ ในเมืองเชนต์เเอน ์ ของประเทศจาไมกา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ระหว่างหลักไมล์ที่แปดกับเก้าระหว่างทางมุ่งสู่อัลวาเรียกตามภาษาคนท้องถิ่นว่า หลักเก้า ณ ประเทศ จาไมก้าเป็นบุตรของ นางซีเดลล่า กับ ร้อยเอก นอร์วัล มาร์เลย์ เติบโตท่ามกลางชุมชนทาสเเละครอบครัวที่เเตกเเยกพ่อเป็นคนผิวขาวชาวอังกฤษที่ทำงานอยู่่กับราชนาวีอังกฤษ แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เป็นพ่อพ่อจึงเป็นเพียงแค่คนรู้จักที่มาเยี่ยมเยียนในบางโอกาสเท่านั้น เขาจึงเติบโตมากับแม่ ปี 1957 มารดาพาอพยบสู่เมืองหลวง คือกรุงคิงสตัน อาศัยอยู่ในสลัม "เทรนช์ทาวน์" ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนจน มีวิถีตามความเชื่อดั่งเดิมของคนดำ คือ เชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์ โซโลมอน เเละเป็นชนชาวยิวพลัดถิ่นรอวันกลับสู่เเผ่นดินของตน ถิ่นนี้เป็นเเหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและลัทธิ รัสตาฟาเรียนิสม์ ชีวิตวัยเด็กบ๊อบมีนิสัยเห็นเเก่ตัว เเต่ไม่มีนิสัยลักขโมยเเบบเด็กสลัมทั่วไปเขารักเพื่อนเเละทำเเทบทุกอย่างเพื่อเพื่อน อายุ 17 ปีก็เริ่มทุ่มเทให้กับการร้องเพลง เเละฝึกฝนอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการร้องในโรงภาพยนต์ เเละไช้เวลาหลังจากเลิกเรียนหัดร้องเพลงกับเพื่อนๆเเทนการทำการบ้าน จนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้านดนตรี จาก โจฮิกก์ส ศาสตราจารย์ข้างถนนที่มีความสามารถทางดนตรี อย่างเยี่ยมยอด เริ่มก่อตั้งวงดนตรีกับ บันนี เเละ ปีเตอร์ เเมคอินทอช เล่นเพลงป๊อปอเมริกาเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในระหว่างฝึกฝนด้านดนตรี เเละมีเเผ่นเสียงของตนเองออกจำหน่ายในปี 1962
ปี 1963 ก่อตั้งวง เดอะ เวลลิงรูดบอยส์ กับเพื่อน 6 คนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 เเต่งงานครั้งเเรกกับ ริต้า เเอนเดอร์สัน
ปี 1960 จังหวะเพลงสกาเริ่มช้าลงเปลี่ยนเป็น ร็อคสเตดีจนผสมผสานระหว่างอเมริกากับจาไมก้ากลายมาเป็น ดนตรีที่เรียกว่า"เร็กเก้"เเต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะกระเเสเพลงร็อคยังร้อนเเรงอยู่ เวลาผ่านไปบทเพลงเร็กเก้เริ่มเป็นที่นิยมเพลงเร็กเก้ เพลงเเรกที่บันทึกเสียงออกสู่ตลาดในปี 1968 เป็นผลงานของทูตส์ ฮิบเบิร์ต เเห่งวง เดอะ เมย์ตัลส์ จังหวะเร็กเก้เป็นจังหวะที่เน้นความสำคัญของกลองเเละเบส การให้จังหวะของกลองเเละเครื่องเป่า จังหวะการเคาะที่เเตกต่างจากจังหวะร็อคคืออยู่ที่จังหวะ 1-3 ไนขณะที่ร็อคอยู่ที่ 2-3 เนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงลัทธิรัสตาฟาเรียน เเละ วิพากษ์วิจารณ์สังคมตามมุมมองของชาว รัสตา
ปี 1966 ประเทศจาไมก้าตกอยู่ในภาวะร้อนระอุบทเพลงเนื้อหาเริ่มร้อนเเรงขึ้น อันเป็นผลมา จากการปราบจราจลระหว่างผิวในปี 1965 ติดตามด้วยกระเเสต่อต้านคนดำ เเละการไล่รื้อสลัมทำหมู่บ้านจัดสรร ในเดือนกรกฎาคม 1966 เเละการประทะของกลุมชนที่เข้าข้างฝ่ายรัฐบาลเเละฝ่ายค้า อันได้เเก่พรรค อนุรักษ์นิยมเเจเเอลพี เเละพรรค สังคมนิยมพีเอ็นพีฝ่ายค้าน วันที่ 17 เมษายน 1980 บ๊อบได้รับเชิญไห้ร่วมเล่นดนตรีในพิธีเฉลิมฉลองเอกราช ของประเทศ ซิมบับเว ที่เคยป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งเเต่ปี 1965 ซิมบับเว เป็นประเทศเอกราชลำดับที่ 50 ของทวีปอัฟริกา เป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวจาไมกาคนแรกที่ผลักดันเอาดนตรีพื้นเมืองจาไมกา หรือ “เร็กเก” ออกสู่ตลาดโลก และกลายเป็น “ราชาเพลงเร็กเก” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บันทึกเสียงครั้งแรกในเพลง Judge Not เมื่อเขาอายุ 16 ปี โด่งดังทั่วอังกฤษและสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1973 ในอัลบั้ม Catch a Fire ได้ออกโทรทัศน์ BBC
สิ่งพิเศษที่มีอยู่ในตัวเขาก็คือวิธีการประพันธ์เนื้อเพลงที่สะท้อนมุมมองทางการเมือ
ง ชีวิต และสังคมที่เฉียบแหลม คมคาย และหยั่งรากลึกสู่จิตวิญญาณ สถานการณ์พื้นฐานในทศวรรษที่ 1960-1970 นั้น ความขัดแย้งเรื่องสีผิวยังมีอยู่สูง คนผิวสีจึงเป็นเพียงพลเมืองชั้น 2
ท่ามกลางระบบความคิดแบบเหยียดผิวของพวกแองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon)นั้น เขาใช้ดนตรีเป็นสื่อในการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ผ่านกีตาร์ตัวหนึ่ง กับฮาโมนิการ์คู่ใจ ร้องเพลงเพื่อสะท้อนปัญหาอย่างทรงพลัง ดนตรีเร็กเก้ที่บ็อบนำมาขับกล่อมนั้น ถูกขบวนการคนผิวดำและต่อต้านลัทธิเหยียดผิวบางกลุ่มนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงประเด็นทางสังคม เช่น กลุ่มรัสตาฟารี (Rasta Farians) และต่อมาเร็กเก้ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนผิวขาวในตอนปลายทศวรรษ 1960
บ็อบ มาร์เลย์ทำให้ดนตรีเร็กเกเฟื่องฟูมากที่สุดในทศวรรษที่ 1970 เขาตั้งวงชื่อ "บ็อบ มาร์เลย์ แอนด์ เดอะ เวลเลอร์ส" (Bob Marley and the Wailers) ขึ้นในปี 1964 นับเป็นศิลปินเพลงเร็กเกคณะแรกที่โด่งดังไปทั่วโลก ในปี 1975 ได้ไปเปิดการแสดงที่ลอสแอนเจลิส ผู้คนคลั่งไคล้มาก เพลงฮิตเพลงแรกในอังกฤษคือ No Woman No Cry ในปี 1975 และ Jamming ในปี 1977 และ One Love ในปี 1984
บ็อบ มาเลย์แต่งงานกับริต้าในปี 1975 ประธานาธิบดีไมเคิล แมนเลย์แห่งจาไมกาสนับสนุนให้เขาจัดคอนเสิร์ตฟรี ในวันที่ 5 ธันวาคม 1975 นั้นเอง แต่ปรากฎว่าก่อนหน้า 2 วัน มีกลุ่มมือปืนมาดักยิงตัวเขา ริต้า และผู้จัดการวงดนตรี แต่โชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต เขายังคงเดินหน้าแสดงคอนเสิร์ตต่อไปทั้ง ๆ ที่ใช้ผ้าคล้องแขนกับคอเพราะบาดเจ็บ
ปี 1976 บ็อบ มาเลย์ต้องงดรายการคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วยุโรป เนื่องจากตรวจพบเป็นมะเร็งที่เท้าขวา อันเนื่องมาบาดแผลระหว่างการเล่นฟุตบอลในอดีตแล้วละเลยไม่รักษา
บ็อบ มาเลย์กลับมาแสดงคอนเสิร์ต One Love ที่จาไมก้าอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 1978 และได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการให้ประธานาธิบดี และผู้นำฝ่ายค้านขึ้นไปจับมือกันบนเวที และจับมือกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาได้รับรางวัล The United Nations' Peace Medal ในเดือนมิถุนายน 1978 นั่นเอง
ปี 1980 เป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์
เดือนกันยายน 1980 บ็อบ มาเลย์ล้มลงขณะที่กำลังจ้อกกิ้งใน Central Park สวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์คที่พำนักอยู่ ตรวจพบว่ามะเร็งลุกลามไปยังปอดและสมอง
บ็อบ มาเลย์ยังคงบินไปแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในชีวิตที่ Stanley Theatre นครพิตสเบิร์ก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1980 ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่นิวยอร์ค คณะแพทย์ก็ลงความเห็นว่าหมดหวัง บ็อบ มาเลย์อยากจะกลับจาไมก้าบ้านเกิด แต่ไปไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามี และจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1981 ด้วยวัยเพียง 36 ปีเท่านั้นศพถูกนำกลับมาฝังไว้ที่บ้านเกิดในจาไมก้า ศพของบ๊อบ มาร์เลย์ ถูกนำไปฝังบ้านเกิดที่หลักเก้า ศพนอนภายในโลงสีบรอนซ์สวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิลเปิดกางไว้ที่ บท psalm 23 ส่วนมือซ้าย วางทาบบนกีตาร์ กิ๊บสัน - เลสพอล สีเเดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา...อำลาเจ้านกสันติภาพ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จอมคนบงการโลก


อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จอมคนบงการโลก
เกิด 20 เม.ย. ปีค.ศ.1889 ที่เมืองเบราเนา ประเทศออสเตรีย ติดชายแดนเยอรมนี ทั้งพ่อ-อาลัวส์ และแม่คาร่า มาจากครอบครัวเกษตรกรที่ยากจน แต่พ่อเป็นคนฉลาดและทะเยอทะยาน จึงก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าหน้าที่ภาษี ช่วงที่มาแต่งงานกับแม่ อายุห่างกันถึง 23 ปี และมีลูกติดมา 2 คน ทำให้ฮิตเลอร์มีพี่น้องถึง 5 คน แต่โตขึ้นมาเหลือรอดอยู่ 2 คน คือฮิตเลอร์และน้องสาวพ่อฮิตเลอร์เป็นคนที่เข้มงวดมาก และนิยมใช้ความรุนแรงลงโทษหากลูกไม่เชื่อฟัง ฮิตเลอร์จึงเป็นเด็กเรียนดีในตอนต้น เพื่อนๆ ยกย่องให้เป็นผู้นำ ทั้งยังเคร่งศาสนา จนใครๆ คิดว่าโตขึ้นมาจะเป็นนักบวชแต่พอขึ้นเรียนชั้นสูงขึ้น วิชาต่างๆ ก็เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสอบไม่ได้ที่ 1 พ่อเริ่มเกรี้ยวกราด เพราะกลัวลูกจะเข้ารับราชการไม่ได้ ส่วนเพื่อนๆ ก็เริ่มไม่ปลื้มให้เป็นหัวหน้า ความกดดันต่างๆ ทำให้ฮิตเลอร์เบี่ยงไปสนใจการต่อสู้ครูชั้นมัธยมฯ คนเดียวที่ฮิตเลอร์ชื่นชอบ คือลีโอโพลด์ พอตช์ ซึ่งเป็นคนนิยมความสำเร็จของเยอรมนี จึงมักเล่าถึงชัยชนะต่างๆ ของเยอรมันเหนือฝรั่งเศส ในศึกปีค.ศ.1870-1871 และต่อว่าออสเตรียว่าไม่ยอมเข้าร่วมกับเยอรมนี ฮิตเลอร์พานชอบเยอรมันไปด้วย โดยมีออตโต วอน บิสมาร์ก นายกรัฐมนตรีของอาณาจักรเยอรมนี เป็นฮีโร่ในดวงใจสำหรับวิชาที่ฮิตเลอร์สนใจมากอีกวิชาคือศิลปะ ซึ่งทำให้ทะเลาะรุนแรงกับพ่อ เพราะไม่เห็นด้วยเลยที่จะให้ลูกเป็นศิลปิน ศึกพ่อลูกสิ้นสุดลงในปีค.ศ.1903 เมื่อพ่อฮิตเลอร์เสียชีวิต ตอนนั้นครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากทางการเงิน แต่ฮิตเลอร์ยังคงไม่รักเรียนเช่นเดิม จนแม่ยอมให้ออกจากโรงเรียนต่อมาในช่วงอายุ 18 ปี ฮิตเลอร์ได้รับมรดกของพ่อ และใช้เงินเดินทางไปกรุงเวียนนา หวังว่าจะไปเรียนวิชาศิลปะที่นั่น ฮิตเลอร์คิดว่าตนเองมีความสามารถทางศิลปะที่เหนือชั้น แต่พอไปถึงจริงกลับถูกสถาบันวิชาการศิลปะเวียนนาปฏิเสธใบสมัคร จากนั้นจึงย้ายไปสมัครที่โรงเรียนสถาปัตยกรรม แต่ไม่ได้อีก เพราะไม่มีใบรับรองจากโรงเรียนเก่าฮิตเลอร์อับอายมากที่ล้มเหลวเช่นนี้ จนไม่กล้าบอกความจริงกับแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นอยู่ในเวียนนาต่อไปว่าตนเองเป็นนักเรียนศิลปะหลังจากฮิตเลอร์ย้ายจากเมืองเบราเนาไปกรุงเวียนนา และเข้าเรียนศิลปะอย่างที่ใจหวังไม่ได้ ก็ไม่กล้าบอกแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นว่าเป็นนักเรียนศิลปะอยู่ที่กรุงเวียนนาอย่างนั้น โดยใช้เงินบำนาญมรดกของพ่อดำรงชีวิตในเมืองหลวงอย่างสบาย วันๆ ก็นอนเล่นอ่านหนังสือ ตกบ่ายไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะ จนกระทั่งปีค.ศ.1907 แม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งการเสียชีวิตของแม่ทำให้ฮิตเลอร์เสียใจสุดซึ้ง เพราะรักแม่มากและมากกว่าพ่อ ตามประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ถือรูปแม่ไปทุกที่แม้กระทั่งวาระสุดท้ายรูปก็ยังอยู่ในมือในปีค.ศ.1909 ซึ่งเป็นปีที่ควรเกณฑ์ทหาร ฮิตเลอร์กลับไม่ยอมรับใช้กองทัพออสเตรียของตัวเอง เพราะแค้นอยู่ลึกๆ ที่สถาบันการศึกษาออสเตรียไม่เปิดโอกาสให้เรียน นอกจากนี้ยังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนีที่เหนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก จึงไปเป็นอาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี ขึ้นชื่อว่าเป็นทหารกล้าตาย สู้เลือดเดือดช่วงเวลานี้ชีวิตของฮิตเลอร์มีทั้งขึ้นและลง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฮิตเลอร์ ย้ายไปอยู่มิวนิกและเริ่มชีวิตทางการเมือง ซึ่งล้มลุกคลุกคลานอยู่นาน จนกระทั่งปีค.ศ.1921 ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคนาซี มีนโยบายต่อต้านชาวยิวและผู้นิยมลัทธิสังคมนิยมในปี 1933 ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและหนึ่งปีถัดจากนั้นตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ สร้างกองทัพยึดคืนแคว้นไรน์ และในปี 1936 ร่วมมือกับเผด็จการมุสโสลินีของอิตาลีบุกยึดออสเตรีย ชาติเกิดของตนเอง ตามด้วยเชโกสโลวะเกียสำหรับเชโกฯ นั้นบุกยากกว่าออสเตรีย เพราะมีฝรั่งเศสเป็นพันธมิตร ทางด้านอังกฤษจึงเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยแบ่งพื้นที่บางส่วนของเชโกฯ ให้เยอรมัน แต่ภายหลังถูกฮิตเลอร์หักหลังเข้ายึดทั้งประเทศ ทำให้อังกฤษอับอายมากด้วยความที่ได้คืบจะเอาศอก ฮิตเลอร์ลุยต่อไปที่โปแลนด์ คราวนี้อังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ยอมอีกแล้ว วันที่ 3 ก.ย.1939 จึงประกาศสงครามโลกครั้งที่ 2 กับเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรและอักษะสู้รบกันอยู่นานถึงปี 1945 ฝ่ายอักษะพ่ายแพ้ ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตายพร้อมหญิงคนรัก อีวา วันที่ 30 เม.ย. ปีค.ศ.1945

เปิดตำนาน เช เกวารา : นักรบอุดมคติ


: Che Guevara (1928-1967)เช เกวารา นักรบในอุดมคติ
เออร์เนสโต เช เกวารา บุรุษหน้าตาคมคาย ตามประสาลูกครึ่งไอริช - สเปน คิ้วเข้ม หนวดเคราดกหนา ผมยาว ใส่หมวกแบเร่ต์ติดดาว ผู้ทำให้คำว่า "การปฏิวัติ" ในหัวใจคนหนุ่มสาวเป็นรูปร่างชัดเจน ที่สำคัญเรื่องราวของเช ก็ราวกับนิยายสะเทือนใจ
เช เกวารา หรือ เอร์เนสโต ราฟาเอล เกวารา เด ลา เซร์นา (Ernesto Rafael Guevara de la Serna) เกิดที่ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อปี 1928 ในครอบครัวคนชั้นกลาง หลังจากจบการศึกษาด้านการแพทย์ ด้วยวิญญาณของนักต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เขาเดินทางไปท่องทวีปอเมริกาใต้ และเข้าร่วมกับองค์กรประชาชนประเทศต่างๆ ต่อสู้กับรัฐบาลที่ปกครองประเทศอย่างกดขี่ข่มเหงประชาชน ชีวิตในช่วงแสวงหานี้ ทำให้เขามีโอกาสรู้จักกับ ฟิเดล คาสโตร นักปฏิวัติหนุ่มชาวคิวบา และเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครที่มี คาสโตร เป็นผู้นำ
เช ได้พบกับ คาสโตร เมื่อปี 1955 เมื่อคาสโตรถูกเนรเทศจากคิวบา โทษฐานก่อรัฐประหารหมายโค่นเผด็จการบาติสต้า รวมสมัครสมัครพรรคพวกได้ 82 คน ลงเรือจากเม็กซิโกในคืนเดือนมืด แรมทะเลเจ็ดคืนจึงขึ้นฝั่งที่คิวบา เพราะโดนคลื่นลมพัดพาไปผิดเป้าหมาย ทำให้ถูกโจมตีจนเหลือกำลังพลเพียง 12 คน - ปี 1959 ฟิเดล คาสโตร ก็ยึดคิวบาได้ เชได้รับการยกย่องจากคาสโตรให้เป็นนักทฤษฎีคนสำคัญ
"นักรบกองโจร คือชนิดของคนที่เสมือนผู้นำทาง เขาจะต้องช่วยคนจนเสมอ เขาจะต้องมีความรู้พิเศษทางเทคนิค มีวัฒนธรรมและศีลธรรมสูง มีความอดทนยิ่งต่อความทุกร์ทรมาน และความยากลำบาก มีความสำนึกทางการเมืองสูง" เช เกวารา นักทฤษฎีและนักปฏิวัติฝ่ายซ้าย ผู้เชื่อมั่นการต่อสู้ด้วยสงครามกองโจร กล่าว
หลังจากประสพผลสำเร็จในสงครามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลบาติสต้าแล้ว ฟิเดล คาสโตร ขึ้นเป็นประธานาธิบดี เช เกวารา เหมือนเป็นหมายเลขสองของประเทศรองจากคาสโตร เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และดูแลการเงิน การคลังของประเทศในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารชาติ ของคิวบา แต่ด้วยวิญญาณแห่งการปฏิวัติไม่เคยมอดไหม้ไปกับยศฐาบรรดาศักดิ์ เขาลาจากคิวบาและคาสโตร พร้อมเพื่อนๆ เพื่อไปร่วมสงครามปฏิวัติที่ คองโก ในทวีปแอฟริกา แต่ล้มเหลว จากนั้นจึงเดินทางเข้าไปยังประเทศโบลิเวีย เพื่อร่วมกับกบฏโบลิเวียทำสงครามปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการโบลิเวียในสมัยนั้น

เชได้ทำตามหลักการที่เขาวางไว้ โดยเมื่อเขาลาออกจากตำแหน่งการเมืองในรัฐบาลคาสโตร เพื่อออกไปเป็นนักรบกองโจรในโบลิเวียนั้น "ผมไม่ได้ทิ้งสมบัติอะไรไว้ให้ภรรยาและลูกๆ ของผม แต่ผมก็ไม่เสียใจ กลับรู้สึกมีความสุขที่มันเป็นไปอย่างนี้" (จดหมายลาถึงคาสโตร) จากผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติ ไปเดินป่าอีกครั้ง ระหว่างร่วมรัฐบาลก็ไม่มีสมบัติอะไร - การกระทำของเขาใกล้ศาสดาเข้าไปทุกที
สังคมนิยมของเช มีความหมายมากกว่าการพัฒนาทางวัตถุ หรือมุ่งเน้นแต่เรื่องยกระดับการครองชีพ "คุณภาพชีวิตจะต้องดีขึ้นด้วย ความหมายของการครองชีวิตต้องจัดควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัตถุ... ผู้ใช้แรงงานจะรู้สึกว่าการทำงานเป็นความภาคภูมิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์"
และ "ลัทธิทุนนิยมได้ติดสินบนความภาคภูมิใจของคนงาน และเปลี่ยนเขาไปสู่ความละโมบเพื่อตัวเอง ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันผิดๆ คือเขาทำงานเพื่อเงิน ไม่ใช่ทำงานเพื่องานของสังคม
การพัฒนาความสำนึกก็หมายความว่า ปลุกเร้าให้กรรมกรทำงานด้วยความเต็มใจและยินดี ไม่ใช่เพื่อความทะเยอทะยาน ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เพื่อบรรลุอุดมการณ์ของพวกเขา เพื่อความเชื่อในตัวผู้นำของเขา และเพื่อความปรารถนาอนาคตที่ดีกว่าสำหรับสังคมทั้งมวล อันจะย้อนเข้ามาสู่ตัวพวกเขาเอง โดยมีรัฐเป็นผู้ดูแลสนองสิ่งที่เขาต้องการทุกอย่าง ด้วยวิธีนี้จะทำให้คนงานสามารถใช้แรงงานเพื่อสิ่งที่ดีงามโดยสิ้นเชิง จนกระทั่งเงินตรากลายเป็นสิ่งล้าสมัย เหมือนกับการค้าทาสที่ต้องสิ้นสุดลง"
นี่คือสังคมในอุดมคติของเช เป็นฝันไกลที่มนุษย์ยังไปไม่ถึง แม้แต่ประเทศที่ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม? หรือคอมมิวนิสต์?? แต่ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่าความฝันเช่นนี้หมดความหมายลงโดยสิ้นเชิง เพราะครั้งหนึ่งก็เคยกระตุ้นคนหนุ่มสาวให้ร่วมฝัน ร่วมสู้ ร่วมสร้าง จะสำเร็จหรือล้มเหลวจิตใจเช่นนั้น การกระทำตรงนั้นก็ดีงาม ซากความฝันอาจยังมีพลังจางๆ แอบแฝงอยู่ในสังคมปัจจุบันที่มุ่งลิ่วไปในทิศทางทุนนิยม เป็นพลังจางที่ทำให้เหลือส่วนเสี้ยวริ้วรอยของความฝันเก่าๆ อยู่บ้าง
ไม่เฉพาะเรื่องสังคม-เศรษฐกิจ ในเรื่องศิลปะ เชก็ฝันไว้ว่า
"ในสังคมทุนนิยมและในสังคมระบอบสังคมนิยม ศิลปะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในสังคมทุนนิยม ศิลปะที่แพร่หลายเป็นเพียงเครื่องหย่อนใจที่ไร้สาระ เป็นทางระบายความไม่สบายใจของมนุษย์ให้เกิดความส่วนตัวชั่วครู่ชั่วยาม..."

หนึ่งในหลายเหตุผลที่เชต้องกลับเข้าป่าอีกครั้ง ทั้งที่อายุย่างเข้าวัยกลางคน และมีโรคหืดหอบประจำตัวมาตั้งแต่เด็ก ก็คือ ความไม่สมหวังในการสร้างคิวบา เขาชิงชังการเห็นแก่ตัวและการช่วยเหลืออย่างเสียไม่ได้ที่โซเวียต และประเทศยุโรปตะวันออกในยุคครุสชอพให้แก่ประเทศด้อยพัฒนา เชจึงลอกคราบการเป็นนักบริหารและนักการฑูตของคิวบาซึ่งตัวเขาเป็นมาหลายปี ออกไปสู่ป่าเพื่อทำการปฏิวัติโดยไม่ได้หยุดหย่อนเหมือนเมื่อวัยหนุ่ม ๆ อีกครั้ง เตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิต และความรู้สึกเยี่ยงมนุษย์ที่ยากจนที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

เชพร้อมด้วยสมัครพรรคพวกมิตรร่วมรบเก่า ๆ รวม 17 คน เช้าป่าโบลิเวีย เขาประกาศทำศึกกับมหาอำนาจ ไม่ว่าจะอยู่ในที่ประชุมสหประชาชาติ หรืออยู่ในป่าโบลิเวีย และนี่อาจเป็นสาเหตุแห่งความตายของเขา เขาปลุกเร้าแนวทางให้ประเทศโลกที่สามเอเชีย-อาฟริการ่วมใจกันต่อต้านจักวรรดินิยมทั้งสองค่าย
อวสานของ เช กูวาร่า มาถึง เมื่อกองโจรโบลิเวียของเขาโด่งดังขึ้นทุกทีจนอาร์เจนติน่า -เปรู ต้องสั่งปิดพรมแดนสกัดการแพร่ลามของการปฏิวัติจากโบลิเวีย มีคนเข้าร่วมกองกำลังกองโจรมาขึ้น ทหารรัฐบาลโบลิเวียปรับยุทธศาสตร์รับมือกองโจร
แล้ววาระสุดท้ายของเขาก็มาถึงที่ ยูโร ราไวน์ เชได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบและถูกทหารรัฐบาลจับได้ กลุ่มของเขาแตกกระจัดกระจายไม่ต่างกับความหายนะที่ แอลิเกรีย เดอ ปิโอ ในคิวบาระยะต้นการปฏิวัติ มีคนสิบคนเท่านั้นที่รอดชีวิตจากการพ่ายแพ้ครั้งนี้ เขาและเพื่อนๆ ถูกจับได้
เชในฐานะเชลยศึกผู้ได้รับบาดเจ็บถูกสั่งฆ่า ด้วยการยิงเป้าจนร่างพรุน แล้วประชุมเพลิง เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 1967 เถ้าถ่านกระดูกถูกนำไปทิ้งกระจัดกระจายด้วยความหวาดกลัว จบชีวิตของชายวัย 39 ปี ผู้อัดแน่นพลังความคิดฝัน
วันที่ 13 กรกฎาคม 1997 ณ กรุงซานตาครูซ ประเทศโบลิเวีย รัฐบาลของโบลิเวีย ได้ทำพิธีส่งกล่องบรรจุกระดูกของ เช เกวารา วีรบุรุษของชาวคิวบา และนักปฏิวัติเชื้อชาติอาร์เจนตินา กลับคืนสู่ประเทศคิวบา ท่ามกลางความอาลัยของชาวโบลิเวีย

อัฐิของ เช เกวารา ถูกนำขึ้นเครื่องบินจากซานตาครูซ ถึงฮาวาน่า ประเทศคิวบา นายฟิเดล คาสโตร ประธานาธิบดี เพื่อนรักของ เช และเคยร่วมรบ ได้จัดงานต้อนรับอัฐิของ เช อย่างสมเกียรติ ในฐานะวีรบุรุษของชาติ
เพราะ เช เกวารา ไม่ยึดติดกับตำแหน่งใหญ่โตในคิวบา เขาจึงกลายเป็นตำนาน ในจิตใจคนหนุ่มสาวทั่วโลก แม้เวลาจะผ่านมานานถึง 30 กว่าปีแล้ว
โลกเปลี่ยนแปลงเขา จนเขาพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงโลก! สำหรับคำว่า “เช” นั้น เป็นคำที่ชาวอเมริกาใต้อื่นๆ มักใช้เรียกชาวอาร์เจนตินา เนื่องจากคนที่นั่นชอบใช้คำว่า “เช” ซึ่งมีความหมายตั้งแต่เป็นคำทักทายทั่วไปจนถึงใช้เรียกเพื่อนฝูง